ความก้าวหน้าในกระบวนการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในเวียดนามเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธ

Anh Huyen- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -เวียดนามจะยื่นเสนอรายงานแห่งชาติตามกลไกการตรวจสอบเป็นประจำหรือ UPR รอบที่ 4 ต่อที่ประชุมสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติที่คาดว่า จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นฟอรั่มเพื่อให้เวียดนามยืนยันนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายเกี่ยวกับการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนของเวียดนาม ปฏิเสธความคิดเห็นที่ไม่ปรารถนาดีเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนาม

ความก้าวหน้าในกระบวนการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในเวียดนามเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธ - ảnh 1การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับรายงานแห่งชาติตามกลไกการตรวจสอบเป็นประจำหรือ UPR รอบที่ 4

กลไก UPR เป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญที่สุดของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  โดยมีหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในทุกประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ประเทศต่างๆปฏิบัติภาระหน้าที่และคำมั่นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของหลักการแห่งการสนทนา ความร่วมมือ ความเสมอภาค มีภาวะวิสัยและโปร่งใส ดังนั้น เวียดนามจึงเข้าร่วมกลไก UPR อย่างจริงจังในตลอด 18 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่กลไก UPR ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2006 และปฏิบัติข้อเสนอต่างๆที่เวียดนามยอมรับได้

UPR กลไกที่สำคัญต่อเวียดนาม

จากการที่มีนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายเกี่ยวกับการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เวียดนามให้ความสำคัญต่อกลไก UPR  และจัดทำรายงานแห่งชาติและปฏิบัติข้อเสนอต่างๆที่เวียดนามยอมรับในรอบต่างๆอย่างจริงจัง  นาย โด๋หุ่งเวียด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ย้ำว่า   

“ จนถึงเดือนมกราคมปี 2024 ในจำนวนข้อเสนอ 241 ข้อที่เวียดนามยอมรับในรอบที่ 3 เวียดนามได้ปฏิบัติข้อเสนอ 209 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 86.7  นับตั้งแต่ปี 2019 มาจนถึงเดือนพฤศจิกายนปี 2023 เวียดนามได้พยายามสร้างสรรค์นิติรัฐสังคมนิยม โดยอนุมัติกฎหมาย 44 ฉบับ ซึ่งในนั้นมีกฎหมายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องถึงสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง เวียดนามได้ทำการตรวจสอบเพื่อแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายบางฉบับให้สอดคล้องกับคำมั่นระหว่างประเทศ เวียดนามได้ทำการตรวจสอบและเข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติข้อกำหนดต่างๆอย่างจริงจัง จนถึงขณะนี้ เวียดนามได้เข้าร่วมความตกลงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 7 ฉบับในจำนวนทั้งหมด 9 ฉบับ อนุสัญญาระหว่างประเทศ 25 ฉบับเกี่ยวกับสิทธิแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ”

เวียดนามได้ร่วมมือกับทุกประเทศ ชี้ชัดถึงข้อเสนอของประเทศต่างๆ เสนอบนเจตนารมณ์แห่งการสร้างสรรค์ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ทำการตรวจสอบกลไก UPR รอบที่ 3 เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2019 แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การปะทะ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เวียดนามได้พยายามส่งเสริมการได้รับสิทธิเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลเรือนและการเมืองตามมาตรฐานสากล

รายงาน UPR ของเวียดนามได้รับการปฏิบัติอย่างเปิดเผยและโปร่งใส

นับตั้งแต่ปี 2019 อัตราจีดีพีต่อหัวประชากรของเวียดนามได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 อัตราครอบครัวที่ยากจน ลดลงร้อยละ 1.5 ต่อปี เครือข่ายการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันได้รับการปฏิบัติในทั่วประเทศผสานกับระบบสาธารณสุขในท้องถิ่น อัตราผู้ที่ใช้บัตรประกันสุขภาพได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ  81.7 เมื่อปี 2016 ขึ้นเป็นร้อยละ 92 ในปี 2022     คนพิการที่มีฐานะยากจนร้อยละ 85 ได้รับความช่วยเหลือดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพ ภายหลัง 26 ปีที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต จนถึงเดือนกันยายนปี 2023 เวียดนามมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 78 ล้านคน อยู่อันดับที่ 13 ของโลกในด้านจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ในการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม

รายงานแห่งชาติเกี่ยวกับกลไก UPR รอบที่ 4 ได้รับการจัดทำอย่างเปิดเผยและโปร่งใส ยืนยันผลงานที่ได้บรรลุ กำหนดความได้เปรียบและอุปสรรค กำหนดแนวทางที่ได้รับความสนใจและความต้องการร่วมมือของเวียดนามในเวลาที่จะถึง เช่น ผลักดันการระดมแหล่งพลังต่างๆให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ ผลักดันความพยายามในการปรับปรุงระเบียบราชการ ปฏิบัติยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขยายระบบสวัสดิการสังคม ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างตัวเมืองกับเขตชนบทและเขตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ยกระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน  นาย โด๋หุ่งเวียด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามยืนยันว่า 

กระบวนการจัดทำรายงานแห่งชาติเกี่ยวกับกลไก UPR ของเวียดนามได้รับการปฏิบัติอย่างเปิดเผย โปร่งใส โดยมีการเข้าร่วมของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง สำนักงานรัฐบาล สำนักงาน องค์การสังคม ประชาชนและหุ้นส่วนระหว่างประเทศ  กระทรวงและหน่วยงานต่างๆได้จัดการสัมมนา 6 นัดและการทาบทามความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเนื้อหาของรายงาน ในการสัมมนาต่างๆ มีผู้แทนขององค์การต่างๆประมาณ 30 -40 คน ตัวแทนของสถานทูต องค์การระหว่างประเทศ องค์การภาคเอกชนของต่างประเทศในเวียดนามได้มีส่วนร่วมต่อเนื้อหาของรายงานนี้ นอกจากนี้ พวกเรายังได้รับความคิดเห็นขององค์การและบุคคลผ่านอีเมล์ วิจัยและรวบรวมความคิดเห็นขององค์การและบุคคลต่างๆ”

UPR และการจัดทำรายงานแห่งชาติและการปฏิบัติข้อเสนอ UPR เป็นภาระหน้าที่ของทุกประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ  จากการจัดทำรายงานประจวบกับโอกาสที่เวียดนามเข้าร่วมและดำรงตำแหน่งสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ    เวียดนามแสดงถึงการเป็นตัวอย่างและความรับผิดชอบของประเทศสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนในภารกิจการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในโลก.

Komentar