ขยายความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
|
(VOVworld) – ในระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน ท่านเหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีได้นำคณะผู้แทนเวียดนามไปยังประเทศพม่าเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำว่าด้วยความร่วมมือกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามครั้งที่ 7 หรือ CLMV และการประชุมผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา – แม่โขงครั้งที่ 6 ในการประชุมเหล่านี้ เวียดนามได้ยืนยันถึงความตั้งใจผลักดันและขยายความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุน ความเชื่อมโยงในภูมิภาค พัฒนาแหล่งบุคลากรและปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆในภูมิภาค
ในจำนวน 10 ประเทศสมาชิกของอาเซียน จีดีพีของ 6 ประเทศสมาชิกเก่า ซึ่งประกอบด้วย อินโดนีเซีย บรูไน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์มีระดับการพัฒนาสูงกว่า 4 ประเทศสมาชิกใหม่ คือกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม นอกจากนี้ ขอบเขตตลาดและโครงสร้างเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอาเซียนก็มีความแตกต่างกันกัน ดังนั้นช่องว่างการพัฒนระหว่างประเทศสมาชิกจึงเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาของอาเซียนในอนาคต โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่อาเซียนต้องเสร็จสิ้นเป้าหมายการสร้างสรรค์ประชาคมในปลายปีนี้ ดังนั้นกลไกความร่วมมือกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามจึงเป็นความพยายามหนึ่งเพื่อการผสมผสานเข้ากับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน
กลไกความร่วมมือกำลังพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุมผู้นำว่าด้วยความร่วมมือกัมพูชา – ลาว – พม่าและเวียดนามครั้งแรกได้จัดขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาวเมื่อปลายปี 2004 ต่อจากนั้นได้จัดขึ้นที่มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชาและลาวตามลำดับ ส่วนการประชุมครั้งที่ 7 นี้ได้จัดขึ้นที่ประเทศพม่า ซึ่งสิ่งที่โดดเด่นจากการประชุมเหล่านี้คือคำมั่นที่เข้มแข็งด้านการเมืองของบรรดาประเทศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือในการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่ง การเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม พลังงานและการฝึกอบรมแหล่งบุคลากร
การปฏิบัติโครงการกว่า 200 โครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง พื้นฐานการผสมผสานเข้ากับเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคมและการพัฒนาแหล่งบุคลากรในกลุ่ม 4 ประเทศ เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชาได้ประสบผลสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจน ปรับปรุงบรรยากาศและผลักดันการท่องเที่ยวภายในกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีการผสมผสานอย่างกว้างลึกมากขึ้น บรรดาประเทศเหล่านี้ควรใช้ศักยาภาพแห่งความร่วมมือภายในกลุ่มอย่างเต็มที่ ดังนั้น การจัดการประชุม CLMV ครั้งที่ 7 นี้ก็เพื่อสรุปสถานการณ์การปฏิบัติโครงการและหารือถึงความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่างๆ รวมไปถึงแนวทางผลักดันความร่วมมือในกรอบ CLMV การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสให้ผู้นำ 4 ประเทศตัดสินใจปัญหาใหญ่ๆและอนุมัติแนวทางความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน คมนาคม การเกษตร อุตสาหกรรม พลังงาน การท่องเที่ยวและการพัฒนาแหล่งบุคลากรผ่านโครงการร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในแต่ละด้าน รวมทั้งส่งเสริมและดึงดูดแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนา
การประชุม CLMV ครั้งที่ 6 (Photo baomoi.com) |
|
เวียดนามผลักดันความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างกระตือรือร้น
ในเวลาที่ผ่านมา เวียดนามเป็นฝ่ายรุกและเข้าร่วมกิจกรรมความร่วมมือของกลไกดังกล่าวอย่างกระตือรือร้น มีบทบาทหลักในการร่างโครงการปฏิบัติประจำปีของความร่วมมือ CLMV เสนอข้อคิดริเริ่มต่างๆเพื่อยกระดับประสิทธิภาพความร่วมมือ โดยเฉพาะในวาระปี 2013-2014 เวียดนามได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มปฏิบัติงานด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ในการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวอาเซียน
ในการประชุมครั้งนี้ ท่านเหงียนเติ๊นหยุงและผู้นำประเทศอื่นๆจะสรุปผลการปฏิบัติกลไกความร่วมมือลุ่มน้ำโขง 10 กลไกที่เชื่อมโยงกับกระบวนการความร่วมมือทวิภาคีของทุกประเทศและผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประเมินกลไกความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีเพื่อผลักดันให้กลไกความร่วมมือนี้มีความเชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่ประเทศพม่า ท่านเหงียนเติ๊นหยุงจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา - แม่โขง ซึ่งคือกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจของ 5 ประเทศ ที่ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทยและเวียดนามเพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความร่วมมือทวิภาคีเพื่อใช้ประโยชน์และพัฒนาจุดแข็งเมื่อเทียบกับภูมิภาคและประเทศสมาชิกอื่นๆ พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดช่องว่างการพัฒนา นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงและผู้นำประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและไทยจะสรุปผลการปฏิบัติโครงการปฏิบัติ ACMECS ระยะปี 2013-2015 ในด้าน อุตสาหกรรมกับพลังงาน การท่องเที่ยว การค้ากับการลงทุน การเกษตร การพัฒนาแหล่งบุคลากร การเชื่อมโยงด้านการคมนาคม สาธารณสุข สวัสดิการสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือ ACMECS กับกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2015และปฏิบัติแผนการทั่วไปเกี่ยวกับความเชื่อมโยงอาเซียน บนพื้นฐานดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงและผู้นำประเทศต่างๆจะอนุมัติแนวทาง เป้าหมายและโครงการที่จะได้รับสิทธิพิเศษในการผลักดันความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคและหุ้นส่วนพัฒนา โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่ประชาคมอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งในปลายปีนี้
ในการเข้าร่วมการประชุมครั้งต่างๆดังกล่าว เวียดนามไม่เพียงแต่ยืนยันถึงความตั้งใจในการปฏิบัติกลไกความร่วมมือที่สำคัญดังกล่าวเท่านั้นหากยังผลักดันความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน ความเชื่อมโยงในภูมิภาค การปกป้องแหล่งน้ำ การพัฒนาแหล่งบุคลากรระหว่างประเทศสมาชิก มีส่วนร่วมยกระดับบทบาทและสถานะของเวียดนาม ปฏิบัติบทบาทแนะแนวให้แก่ความร่วมมือในอนุภาคลุ่มน้ำโขง เสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับบรรดาประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะกับประเทศพม่าให้พัฒนายิ่งขึ้น./.