( VOVworld )-การเจรจาว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านระหว่างอิหร่านกับกลุ่ม พี๕ บวก ๑ ซึ่งประกอบด้วย ๕ ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกับเยอรมนี จะมีขึ้น ณ ประเทศคาซักสถานในวันที่ ๒๖ เดือนนี้ อย่งไรก็ดี ก่อนการเจรจาหนึ่งสัปดาห์ ทั้งสองฝ่ายได้มีการประกาศต่างๆที่แสดงให้เห็นว่า การเจรจาครั้งที่จะถึงนี้ยากที่จะมีความคืบหน้า
อิหร่านได้มีการประกาศเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ผ่านทางองค์การสื่อสารมวลชนหลายต่อหลายครั้งที่สะท้อนทัศนะคติที่แข็งกร้าวของตน โดยผู้นำทางจิตรวิญญาณ อยาโตลเลาะห์ โคเมไน ได้กล่าวทางโทรทัศน์โดยปฏิเสธการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ประเภทต่างๆของอิหร่าน แต่ก็ยืนยันว่า ไม่มีอิทธิพลใดๆสามารถขัดขวางการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ นายโคเมไนยังชี้ให้เห็นชัดว่า จุดยืนของอิหร่านต่ออาวุธที่มีอนุภาพการทำลายล้างสูงดังกล่าวจะไม่ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของสหรัฐและประเทศตะวันตก หากยึดถือตามคุณธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาเป็นหลักเพื่อที่จะสรุปได้ว่า อาวุธนิวเคลียร์เป็นโทษกรรมต่อมนุษยชาติ ในขณะเดียวกัน นายอะเลดดิน โบรูเจร์ดี ประธานคณะกรรมการนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงแห่งชาติของอิหร่านได้ยืนยันว่า เตหะรานจะไม่มีวันปิดโรงงานเพิ่มความเข้มข้นยูเรเนี่ยมฟอร์โดว์ คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่องค์การสื่อสารมวลชนของฝ่ายตะวันตกได้เสนอข่าวว่า ในการเจรจา ณ กรุงอาลมาตี ประเทศคาซักสถานในเร็วๆนี้ กลุ่มพี ๕ บวก ๑ จะเสนอให้ยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรต่อการซื้อขายทองคำและโลหะที่หายากของอิหร่านเพื่อแลกกับการปิดโรงงานผลิตนิวเคลียร์ฟอร์โดว์ และยังไม่มองเห็นแสงริบหรี่ปลายทางในการเจรจาครั้งที่จะถึงนี้เพราะ เมื่อวันที่ ๑๘ ที่ผ่านมา นายรามิน เมอร์มานพาราสต์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่านได้ยืนยันอีกครั้งว่า การเจรจาระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี๕บวก ๑ จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อกลุ่มนี้รับรองสิทธิในการผลิตนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลสำเร็จของการเจรจา
ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ IAEA
ส่วนกลุ่มพี ๕ บวก ๑ นั้น ยังคงข้อเรียกร้องของตนคือ เตหะรานต้องเพิ่มความเข้มข้นยูเรเนี่ยมให้อยู่ที่ระดับร้อยละ ๒๐ เท่านั้น ซึ่งใกล้กับระดับการผลิตหัวรบนิวเคลียร์ อีกทั้งอยากให้อิหร่านย้ายคลังยูเรเนี่ยมที่ได้เพิ่มความเข้มข้นแล้วร้อยละ ๒๐ ออกนอกประเทศ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศอิสลามนี้ปิดโรงงานเพิ่มความเข้มข้นนิวเคลียร์ร้อยละ ๒๐ ฟอร์โดว์ หากอิหร่านปฏิบัติตามคำเรียกร้องดังกล่าว กลุ่มพี ๕ บวก ๑ จะยอมหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะลดมาตรการค่ำบาตรหน่วยงานปิโตรเลี่ยมและการทำธุรกรรมการเงินของอิหร่าน ซึ่งคำสั่งค่ำบาตรของฝ่ายตะวันตกและสหรัฐอเมริกาได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอิหร่านลำบากมากขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้วรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านลดลง ๔ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาลดลงเหลือ ๒ ล้าน ๖ แสน ๕ หมื่นบาเรลต่อวันเมื่อเทียบกับ ๓ ล้าน ๗ แสนบาเรลต่อวันเมื่อปลายปี ๒๐๑๑ ส่วนมาตรการจำกัดสิทธิของอิหร่านในการทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารนานาชาติก็ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อเงินเรียล ของประเทศนี้ โดยค่าเงินเรียลอ่อนตัวลงร้อยละ ๔๕ เมื่อเทียบกับปี ๒๐๑๒
การเจรจาระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี๕บวก ๑ เคยเข้าสู่ทางตันมาหลายครั้ง โดยเมื่อปี ๒๐๑๒ ทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันถึง ๓ ครั้งและการเจรจาครั้งล่าสุด ณ รัสเซียเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๐๑๒ ได้ตกอยู่ในความชงักงัน ซึ่งสาเหตุก็เพราะว่า ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมประณีประนอมกันในปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ความหวาดระแวงของฝ่ายตะวันตกอยู่ตรงที่ อิหร่านสามารถเพิ่มความเข้มข้นของยูเรเนี่ยมให้ถึงร้อยละ ๒๐ ได้ ซึ่งสามารถใช้เพื่อเป้าหมายสันติหรือผลิตระเบิดนิวเคลียร์ก็ได้ ปัจจุบัน ฝ่ายตะวันตกยังมีความสงสัยว่า อิหร่านแอบพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินโดยใช้โครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพเป็นโล่บังหน้า แต่เตหะรานได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวและยืนยันว่า การเพิ่มความเข้มข้นของยูเรเนี่ยมก็เพื่อใช้ป้อนให้แก่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โครงการวิทยาศาสตร์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นสิทธิของทุกประเทศในโลก
จนถึงขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีข้อเสนอใหม่ๆนอกเหนือจากที่ได้มีในการเจรจาเมื่อเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๒ ที่ผ่านมา ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อิหร่านและกลุ่มพี ๕ บวก ๑ ยากที่จะกระเถิบเข้าใกล้กันในการเจรจาที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ และทั้งสองฝ่ายจะพลาดโอกาสร่วมมือกันเพื่อสร้างสันติภาพอีกครั้ง ./.