( VOVworld )- เมื่อเร็วๆนี้ จีนได้มีก้าวเดินต่างๆเพื่อปฏิบัติตามแผนที่เส้นประที่จีนเขียนเองในทะเลตะวันออก โดยอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองน่านน้ำทะเลตะวันออกเกือบทั้งหมดรวมทั้งหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลีของเวียดนามโดยไม่มีข้อมูลทางนิตินัยใดๆรองรับ ซึ่งการกระทำดังกล่าวของจีนทำให้เวียดนาม ประเทศอาเซียนที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลและประชาคมระหว่างประเทศที่รักสันติภาพและความยุติธรรมต้องออกมาแสดงความคิดเห็น
|
แผนที่เส้นประที่จีนเขียนเองในทะเลตะวันออก( อินเตอร์เน็ต )
|
วันที่ ๒๘ ตุลาคมที่ผ่านมา กลุ่มนักวิชาการของจีนและไต้หวันสังกัดจีนได้ร่วมกันจัดการสัมมนาศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเส้นประที่ครอบคลุมพื้นที่ทะเลตะวันออกเกือบทั้งหมด ซึ่งรวมถึงหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรสลีและหว่างซาหรือพาราเซลของเวียดนาม โดยกลุ่มนักวิชาการดังกล่าวได้เสนอให้ทางการจีนหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อเป็นพื้นฐานพร้อมทั้งเรียกร้องให้บริษัทปีโตรเลียมของจีนและไต้หวันสังกัดจีนขยายความร่วมมือเพื่อทำการสำรวจแหล่งทรัพยากรในบริเวณรอบหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรสลีของเวียดนาม ซึ่งเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและไม่สนใจต่อกฎหมายสากลกับแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีที่จีนได้ลงนาม การกระทำดังกล่าวของจีนแสดงให้เห็นชัดว่า หากมีข้อมูลหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมายพวกเขาไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม ส่วนในโอกาสให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของจีน นาย อู๋ สื้อสวนหัวหน้าสถานบันวิจัยหนานไข ของจีนก็ต้องยอมรับว่า แถลงการณ์เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือทะเลตะวันออกที่ทางการปักกิ่งถือว่ามีเหตุมีผลนั้นเป็นการอาศัยกฎหมายของจีนเท่านั้น หากไม่ได้ระบุในมาตราใดๆของกฎหมายสากล ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การสัมมนาดังกล่าวกำลังบิดเบือนความจริงของประวัติศาสตร์และกฎหมายสากลว่า หมู่เกาะสองแห่งคือหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลีอยู่ในอธิปไตยของเวียดนามอย่างแน่นอน
|
นาย อู๋ สื้อสวนหัวหน้าสถานบันวิจัยหนานไข( อินเตอร์เน็ต )
|
สำหรับปัญหาดังกล่าว กระแสประชามติระหว่างประเทศได้เห็นด้วยกับทัศนะของเวียดนามและประเทศอาเซียนที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลว่า การแก้ไขการพิพาทต่างๆต้องยึดกฎหมายสากลเป็นหลัก ดังนั้น ข้อเสนอดังกล่าวของนักวิชาการจีนและไต้หวันสังกัดจีนจึงเป็นการขัดกับทัศนะของนักวิจัยระหว่างประเทศและกระแสประชามติ ซึ่งที่ประชุมสัมมนานานาชาติในช่วงที่ผ่านมาได้คัดค้านและติติงว่า เส้นประของจีนนั้นไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางนิตินัยและสถานการณ์ที่เป็นจริง โดยศาสตราจารย์อีริค ฟร้อง แห่งมหาวิทยาลัยวรีจี ประเทศเบลเยียมได้ย้ำว่า แผนที่เส้นประนั้นไม่อาจนำมาอ้างเป็นหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอธิปไตยของจีนในทะเลตะวันออกได้ โดยให้เหตุผลว่า องค์การอุทกศาสตร์โลกซึ่งเป็นองค์การชำนัญของสหประชาชาติไม่พบลัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์และอุทกศาสตร์ใดๆบนแผนที่เส้นประของจีนซึ่งมีความคลุมเคลือ ไม่มีหลักฐานทางเทคนิคและไม่มีพื้นฐานทางนิตินัย ส่วนศาสตราจารย์ฝ่ายกฎหมายเดวิด สก็อตต์ของอังกฤษมีความคิดเห็นว่า เมื่อยื่นแผนที่เส้นประต่อสหประชาชาติ จีนอยากได้รับการรับรองให้น่านน้ำทะเลที่จีนอ้างเป็นของตนนั้นชอบด้วยกฎหมายแต่กลับปฏิเสธยื่นหลักฐานทางเทคนิค ปฏิเสธการเคารพอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับทะเลปี ๑๙๘๒และนำปัญหาการพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านขึ้นศาลระหว่างประเทศ ส่วนศาสตราจารย์ฝ่ายกฎหมายโมนิก เชมิลิเออร์ เจนโดร ของมหวิทยาลัยปารีส ดีเดรอต ประเทศฝรั่งเศสได้อธิบายว่า จีนไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆของแผนที่เส้นประดังนั้น ทางการจีนไม่อยากนำปัญหานี้ขึ้นศาลระหว่างประเทศ ในกรณีเรียกร้องอธิปไตยเกี่ยวกับดินแดนที่ได้ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศที่เรียกร้องต้องอาศัยกฎหมายและประเพณี แต่จีนมีเพียงหลักฐานอ้างเกี่ยวกับหมู่เกาะต่างๆในทะเลตะวันออกตั้งแต่ปี ๑๙๓๐ เท่านั้น ส่วนสำหรับเวียดนาม ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ กษัตริย์อานนามองค์แล้วองค์เล่าได้จัดทำบันทึกเกี่ยวกับผืนดินในหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี ซึ่งจากหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เอกสารข้อมูลต่างๆของเวียดนามเป็นหลักฐานที่มีลักษณะทางกฎหมายและมีมาก่อนจีน อีกด้านหนึ่ง ตามหลักการเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ครอบครองและมีการปกครองอย่างแท้จริงและสันติที่โลกได้ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้มีอธิปไตยในนามรัฐต่อหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลีผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์โดยไม่ถูกการคัดค้านจากประเทศใดประเทศหนึ่งแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้อาจจะยืนยันได้ว่าเวียดนามมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าวไม่ว่าจะทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การถือกรรมสิทธิ์ครอบครองอย่างต่อเนื่องและสันติตามหลักการทางนิตินัยสากล ส่วนศาสตราจารย์กิสซอร์ มาห์บูบานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยหลีกวนยูของสิงคโปร์ได้แสดงความวิตกว่า ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับเส้นประของจีนอาจทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับอาเซียนที่จีนได้สร้างขึ้นมา ๒๐ ปี และการที่จีนได้ยื่นเอกสารเกี่ยวกับแผนที่เส้นประต่อสหประชาชาติเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาดเพราะอาจจะประสบอุปสรรคในการอธิบายเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของตนตามกฎหมายสากล
|
เกาะเจื่องซาเลิ้นในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรสลีของเวียดนาม( อินเตอร์เน็ต ) |
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การเรียกร้องอธิปไตยที่ขาดพื้นฐานทางนิตินัย หลักฐานทางประวัติศาสตร์และในทางเป็นจริง รวมทั้งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากลจะไม่สามารถโน้มน้าวกระแสประชามติได้ ซึ่งความประสงค์เกี่ยวกับบรรยากาศที่สันติในทะเลตะวันออกไม่เพียงแต่เป็นของเวียดนามเท่านั้น หากยังเป็นของทุกประเทศในภูมิภาคและประเทศอื่นๆที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน กระแสประชามติระหว่างประเทศเห็นว่า การเรียกร้องอธิปไตยและปกป้องผลประโยชน์ของตนในทะเลตะวันออกโดยยัดเยียดแต่เพียงฝ่ายเดียวดังเช่นนักวิชาการจีนและไต้หวันสังกัดจีนกำลังกระทำอยู่จะเป็นไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน ./.