Monsanto ต้องมีความรับผิดชอบในการแก้ไขผลเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมในเวียดนาม

Thu Hoa/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – หลังจากสืบสวนเป็นเวลา 6 เดือนและไต่สวนคดีเป็นเวลา 2 วัน เมื่อวันที่ 18 เมษายน ศาลระหว่างประเทศที่พิจารณาคดีร้องเรียนกลุ่มบริษัทMonsanto ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ออกคำวินิจฉัยว่า กลุ่มบริษัท Monsanto ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายในระยะยาวให้แก่ระบบนิเวศและชีวิตของประชาชนในหลายประเทศ รวมทั้งเวียดนาม คำวินิจฉัยของศาลฯจะเป็นพื้นฐานเพื่อกดดันให้กลุ่มบริษัท Monsanto ปฏิบัติตามกฎหมาย มีความรับผิดชอบในการแก้ไขผลร้ายจากการสนองสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินให้กองทัพสหรัฐใช้ในสงครามในเวียดนาม
(VOVworld) – หลังจากสืบสวนเป็นเวลา 6 เดือนและไต่สวนคดีเป็นเวลา 2 วัน เมื่อวันที่ 18 เมษายน ศาลระหว่างประเทศที่พิจารณาคดีร้องเรียนกลุ่มบริษัทMonsanto ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ออกคำวินิจฉัยว่า กลุ่มบริษัท Monsanto ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายในระยะยาวให้แก่ระบบนิเวศและชีวิตของประชาชนในหลายประเทศ รวมทั้งเวียดนาม คำวินิจฉัยของศาลฯจะเป็นพื้นฐานเพื่อกดดันให้กลุ่มบริษัท Monsanto ปฏิบัติตามกฎหมาย มีความรับผิดชอบในการแก้ไขผลร้ายจากการสนองสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินให้กองทัพสหรัฐใช้ในสงครามในเวียดนาม

Monsanto ต้องมีความรับผิดชอบในการแก้ไขผลเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมในเวียดนาม - ảnh 1
(photo: AP)

สงครามเคมีที่สหรัฐเป็นผู้ก่อขึ้นในเวียดนามคือสงครามเคมีที่มีขอบเขตใหญ่ที่สุด ยาวนานที่สุดและสร้างความเสียหายที่รุนแรงที่สุดต่อคนและสิ่งแวดล้อมในเวียดนาม โดยตั้งแต่ปี 1961-1971 กองทัพสหรัฐได้โปรยสารเคมีเกือบ 80 ล้านลิตรลงในภาคใต้เวียดนาม ซึ่งร้อยละ 61 คือสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน จนทำให้ชาวเวียดนาม 4.8 ล้านคนถูกสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน ผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินเกือบ 3 ล้านคน ทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินนับแสนคนและชาวเวียดนามนับหมื่นคนไม่สามารถมีบุตรได้ การแก้ไขผลร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในเวียดนามต้องปฏิบัติหลายเรื่อง เช่นการประเมิน การอัพเดทสถานการณ์การปนเปื้อนสารไดอ๊อกซินและการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อชะล้างสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน การจำกัดจำนวนผู้ที่ถูกสารพิษรายใหม่และส่งผลกระทบต่อคนรุ่นต่อไป ซึ่งเวียดนามต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากและต้องพึ่งพาการช่วยเหลือของประชาคมโลก
ประชาชนเวียดนามพยายามต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม
ภายหลังกว่า 4 ทศวรรษนับตั้งแต่สงครามยุติลง ประชาชนเวียดนามยังคงเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมกันต่อสู้กับองค์กรและชาวอเมริกันที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียกร้องให้แก้ไขผลเสียหายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินที่เวียดนามกำลังต้องเผชิญ โดยเมื่อวันที่ 30 มกราคมปี 2004 ผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินของเวียดนามได้ยื่นเอกสารต่อศาลในเขต Brooklin นครนิวยอร์คเพื่อฟ้องร้องบริษัทผลิตสารเคมีของสหรัฐ 37 แห่ง รวมทั้งกลุ่มบริษัท Monsanto เนื่องจากได้ผลิตและสนองสารพิษให้แก่กองทัพสหรัฐเพื่อใช้ในสงครามเวียดนาม แต่คำวินิจฉัยที่ไร้เหตุผลและไม่มีความยุติธรรมของศาลต่างๆในสหรัฐที่ปฏิเสธการร้องเรียนได้สร้างกระแสคัดค้านสหรัฐในหลายประเทศ แม้กระทั่งในสหรัฐเอง โดยในระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคมปี 2009 ศาลมโนธรรมประชาชนระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสได้ออกคำวินิจฉัย โดยยืนยันว่า รัฐบาลสหรัฐเป็นผู้ใช้สารพิษสีส้มไดอ๊อกซินเอง ซึ่งผลร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินต่อสิ่งแวดล้อมเวียดนามถือเป็น “การทำลายสิ่งแวดล้อม” บริษัทผลิตสารเคมีต่างๆของสหรัฐมีส่วนร่วมรู้เห็นต่อปฏิบัติการของรัฐบาลสหรัฐ ศาลเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐและบริษัทจัดสรรสารเคมีต้องชดเชยให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินและครอบครัวของพวกเขา ต้องมีความรับผิดชอบชะล้างสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในสิ่งแวดล้อมในพื้นดินและแหล่งน้ำในเวียดนาม
ถึงแม้การร้องเรียนต่างๆของผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินเวียดนามยังไม่สามารถบรรลุผลงานตามความคาดหวัง แต่ในเบื้องต้นก็ได้ส่งผลในทางบวกต่อท่าทีและปฏิบัติการของหน่วยงานนิติบัญญัติและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2006 เวียดนามและสหรัฐได้ออกแถลงการณ์ร่วมโดยยืนยันว่า “ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ใกล้คลังเก็บสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินเมื่อก่อน ซึ่งจะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ” หลังจากนั้น กองทุน Ford และกองทุน Bill& Melinda Gates ของสหรัฐได้สนับสนุนเงินให้แก่โครงการต่างๆ เช่นจัดตั้งโครงการป้องกันการแพร่กระจายของสารพิษชั่วคราวในสนามบินดานัง ก่อสร้างห้องปฏิบัติการไดอ๊อกซิน วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับชะล้างสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในสนามบินดานัง ประเมินสถานการณ์ปนเปื้อนสารพิษและเสนอมาตรการแก้ปัญหาการปนเปื้อนสารพิษตั้งแต่ปี 2010- 2012 เป็นต้น ส่วนเมื่อปี 2007และ2009 รัฐสภาสหรัฐได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยเมื่อปี 2010 ได้อนุมัติ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อแก้ไขผลร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในเวียดนาม เมื่อปี 2011 รัฐบาลสหรัฐได้นับสนุนเงิน 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อชะล้างสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในสนามบินดานัง แต่ส่วนร่วมนี้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับความเสียหายใหญ่หลวงที่สหรัฐได้ก่อไว้กับประชาชนเวียดนาม
สำหรับผลกระทบอย่างหนักจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเวียดนาม เมื่อเร็วๆนี้ รองนายกรัฐมนตรี หวูดึ๊กดาม ได้ยืนยันว่า “ความพยายามของทุกคนทั้งกำลังใจ สติปัญญา หรือการสนับสนุนเงินแม้เพียงเล็กน้อยของชาวอเมริกันเพื่อมีส่วนร่วมต่อโครงการชะล้างสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในสนามบินดานังหรือเงินช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินเพื่อซื้อยาและเสื้อผ้าล้วนแต่มีค่าทั้งสิ้น” ดังนั้น เวียดนามชื่นชมการที่ศาลระหว่างประเทศที่พิจารณาคดี Monsanto ได้มีคำวินิจฉัยว่า Monsanto ทำลายสิ่งแวดล้อมเวียดนาม และเสนอให้ Monsanto ต้องให้ความเคารพคำแนะนำของศาลฯในการมีปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อแก้ไขผลร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินต่อสิ่งแวดล้อมเวียดนาม
ถึงแม้รัฐสภา รัฐบาลและประชาชนสหรัฐได้มีก้าวเดินที่เข้มแข็งในการช่วยเหลือแก้ไขผลร้ายจากสงครามในเวียดนาม รวมทั้งผลกระทบจากสารพิษสีส้มไดออกซินในเวียดนาม แต่บริษัทต่างๆของสหรัฐเช่น Monsanto ที่เคยจัดสรรสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินให้กองทัพสหรัฐใช้ในสงครามเวียดนามก็ต้องมีความรับผิดชอบให้การช่วยเหลือแก้ไขผลร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในเวียดนามด้วยเช่นกัน.


Komentar