ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ใหม่สร้างภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลก (Reuters) |
1. โควิด-19 ยังคงระบาดอย่างซับซ้อน
ปี 2021 เป็นปีที่ 2 ที่โควิด-19ยังคงระบาดอย่างรุนแรงทั่วโลก และสร้างความสูญเสียที่หนักหน่วงมากมายเนื่องจากการปรากฎของไวรัส SARS-CoV-2 ที่กลายพันธุ์ เช่น Delta และโอไมครอน จนถึงปลายเดือนธันวาคมปี 2021ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 280 ล้านรายและมีผู้เสียชีวิตเกือบ 5.5 ล้านราย แต่ด้วยการผลิตวัคซีนหลายตัว ทำให้หลายประเทศเริ่มปรับตัวได้อย่างปลอดภัยและคล่องตัวเพื่อควบคุมโรคระบาด เปิดประเทศอีกครั้งและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม แต่อย่างไรก็ตาม การปรากฎของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์หลายตัวอย่างต่อเนื่องได้สร้างความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการต่อสู้กับการโรคระบาด
2. เศรษฐกิจโลกในปี 2021 มีสัญญาณฟื้นตัว
ในปี 2021 การเติบโตของเศรษฐกิจโลกถูกคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5-6 ซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่น่ายินดีเมื่อเทียบกับการติดลบร้อยละ 4.4 ของปี 2020 การฉีดวัคซีนในวงกว้างอย่างรวดเร็วและการปฏิบัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้งบประมาณมหาศาล โดยเฉพาะจากประเทศ“หัวเรือเศรษฐกิจ” อย่าง สหรัฐ ยุโรปและจีนยังคงเป็นพลังขับเคลื่อนหลักให้แก่กระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความเสียหายประมาณ 3 ล้าน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐบวกกับการปัญหาการตกงานกว่าสิบล้านตำแหน่งและห่วงโซ่อุปทานของเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงันได้ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2022 ยังคงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอย่างมาก
197 ประเทศได้อนุมัติ "ข้อตกลงด้านสภาพอากาศในกลาสโกว์" ณ การประชุม COP26 (Reuters) |
3.ความหวังใหม่ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระดับโลกจากการประชุม COP26
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 197 ประเทศที่เข้าร่วมกรอบอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อนุมัติ "สนธิสัญญาสภาพภูมิอากาศกลาสโกว์" ในการประชุม 100 ประเทศทั่วโลกได้ให้คำมั่นว่า จะยุติการตัดไม้ทำลายป่า ลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงร้อยละ 30 ภายในปี 2030 โดยเฉพาะ สหรัฐและจีนซึ่งเป็น 2 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกได้ออกแถลงการณ์ร่วม โดยมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันในการจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผลการประชุม COP26 ได้สร้างความหวังที่ยิ่งใหญ่ให้แก่โลกเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ.
สถานการณ์ความวุ่นวายในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถานเมื่อกองทัพสหรัฐถอนตัวออกจากประเทศนี้และกลุ่มตาลิบันเข้าสู่เมืองหลวง (Getty Images) |
4. สหรัฐถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานภายหลังร่วมในสงครามที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 20 ปี ส่วนกลุ่มตาลิบันกลับมากุมอำนาจ
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมปี 2021 ทหารสหรัฐนายสุดท้ายได้เดินทางออกจากอัฟกานิสถาน อันเป็นการยุติสงครามที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ภายหลัง 20 ปี ทหารอเมริกันและทหารพันธมิตรจำนวน 3,500 นาย รวมถึงประชาชนผู้บริสุทธิ์หลายหมื่นคนได้เสียชีวิตในอัฟกานิสถานซึ่งได้กลายเป็นความหวาดกลัวครั้งใหญ่ที่ครอบงำสหรัฐ นอกจากนั้น การกลับมาปกครองประเทศอัพกานิสถานของกลุ่มตาลิบันเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมหลังจากยึดคืนพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศ ได้ทำให้อนาคตของอัฟกานิสถานอยู่บนความไม่แน่นอนและความน่ากังวล โดยเฉพาะการขยายตัวของลัทธิการก่อการร้าย ความขัดแย้งและความรุนแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเอเชียใต้และโลก
5. สหรัฐ - จีนยังคงแข่งขันกันอย่างดุเดือด
นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 46 เมื่อวันที่ 20 มกราคมปี 2021 นาย โจ ไบเดน ได้พยายามสร้างพันธมิตรใหม่เพื่อรับมือจีน เนื่องจากการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์สหรัฐ-จีนได้กลายเป็นการเผชิญหน้าในทุกด้านและรุนแรงมากขึ้น โดยสหรัฐต้องการให้จีนประนีประนอมต่อปัญหาไทเป-จีน ทะเลตะวันออก ทะเลหัวตุ้ง ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายจีนไม่ยอมประนีประนอมแต่กลับเพิ่มความแข็งแกร่งภายในเพื่อแข่งขันในการที่จะกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสหรัฐและจีนยังคงส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะทำการเจรจาและไม่ปล่อยให้ความตึงเครียดและการเผชิญหน้าอยู่เหนือการควบคุม
AUKUS สะท้อนถึงความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดแปซิฟิก (Reuters) |
6. การก่อตั้งพันธมิตร AUKUS ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่างลึกซึ้ง
ข้อตกลงความมั่นคงไตรภาคีระหว่างสหรัฐ อังกฤษและออสเตรเลียหรือ AUKUS ที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 15 กันยายนปี 2021 ได้สร้างก้าวเดินใหม่ของสหรัฐในยุทธศาสตร์มุ่งสู่มหาสมุทรอินเดีย – แปซิฟิก อีกทั้งสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมดุลด้านอำนาจทางยุทธศาสตร์ของภูมิภาค กลไกของ AUKUS ช่วยกระชับความสัมพันธ์ไตรภาคีระหว่างสหรัฐ อังกฤษและออสเตรเลีย แต่เพิ่มความระแวงสงสัยและความตึงเครียดให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน ตลอดจนสร้างความแตกแยกระหว่างสหรัฐกับพันธมิตรยุโรป ซึ่งการที่สหภาพยุโรปและสหรัฐประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก บวกกับการก่อตั้งพันธมิตร AUKUS ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงแนวโน้มการระดมกองกำลังและความสำคัญทางภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคนี้.
นาง แมร์เคิล ขึ้นอำนาจมาเป็นเวลา 16 ปีแล้ว ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำของเยอรมนีเท่านั้น หากยังรวมถึงสหภาพยุโรปด้วย (Reuters) |
7. นาง แมร์เคิล ลงจากตำแหน่งผู้นำเยอรมนี – ช่องโหว่และความคาดหวังเกี่ยวกับอนาคตของเยอรมนีและยุโรป
นาง อังเกลา แมร์เคิล ได้สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนีหลังจากที่นาย Olaf Schozl เข้าพิธีสานบานตนรับตำแหน่งนี้ต่อสภาล่างเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ในตลอด 16 ปีที่นางแมร์เคิลดำรงตำแหน่งนี้เธอได้นำพาเยอรมนีและสหภาพยุโรปหรืออียูฟันฝ่าวิกฤตสำคัญๆ เช่น วิกฤตการเงินปี 2008 วิกฤตการลี้ภัยปี 2015 วิกฤตหนี้สาธารณะปี 2010 และกระบวนการ Brexit ซึ่งทำให้เยอรมนีกลายเป็น "หัวเรือของยุโรป" อย่างแท้จริง และช่วยผลักดันกระบวนการ "ควบรวม" ยุโรปเร็วขึ้น ดังนั้น การลงจากตำแหน่งของนาง แมร์เคิล ได้สร้างความกังวลเกี่ยวกับความต่อเนื่องในเยอรมนีและสหภาพยุโรป แต่ในทางกลับกันก็จุดประกายความหวังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ในเวลาที่จะถึง
การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ซับซ้อนเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มความไม่มั่นคงทางการเมืองและสังคมในหลายประเทศ (Reuters) |
8 . ความผันผวนทางการเมืองในเมียนมาร์ ซูดานและกินี
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปี 2021 พันธมิตรแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของรัฐบาลพลเรือนของเมียนมาร์ได้ถูกยึดอำนาจโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร ส่วนที่แอฟริกา ซูดานได้ตกเข้าสู่วิกฤตการเมืองหลังจากกองทัพทำการโค่นล้มรัฐบาลและประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมในขณะที่ประเทศมาลีและประเทศกินีก็เกิดการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ความผันผวนทางการเมืองที่ซับซ้อนนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและสังคมในหลายประเทศ.
9. ความสัมพันธ์รัสเซีย - ตะวันตกใกล้ถึงจุดแตกหัก
ปี 2021 ความสัมพันธ์รัสเซีย - ยูเครนเริ่มมีความตึงเครียดหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายและสหรัฐได้ทำการเสริมกำลังทหารในพื้นที่ชายแดน ซึ่งเหตุผลมาจากปัญหาต่างๆในทะเลบอลติกไปจนถึงทะเลดำและวิกฤตการอพยพที่ชายแดนโปแลนด์-เบลารุส ความเสี่ยงของความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับรัสเซียกำลังอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่สงครามเย็น เมื่อวันที่ 17ธันวาคม รัสเซียได้ประกาศร่างสนธิสัญญา 8 ข้อกับตะวันตกเพื่อลดความตึงเครียดในยุโรปและคลี่คลายวิกฤตยูเครน ซึ่งถ้าหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใหม่โดยเร็ว ความสัมพันธ์รัสเซีย-ตะวันตกอาจถึงจุดแตกหัก.
ในอนาคต มนุษย์จะบินสู่อวกาศได้ง่ายขึ้น (Reuters) |
10. การท่องเที่ยวอวกาศเชิงพานิชย์ครั้งแรก เปิดยุคใหม่แห่งการเดินทางในอวกาศ
เมื่อค่ำวันที่ 15 กันยายนตามเวลาสหรัฐ บริษัทเทคโนโลยี SpaceX ได้ประสบความสำเร็จในการปล่อยยานอวกาศพร้อมผู้โดยสารรายแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศ นี่เป็นเหตุการณ์ที่สร้างนิมิตหมายแห่งก้าวกระโดดที่ทะเยอทะยานที่สุดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศของโลก นอกจาก SpaceX แล้ว บริษัทที่บุกเบิกการท่องเที่ยวอวกาศชั้นนำของโลก เช่น Virgin Galactic และ Blue Origin ก็กำลังทำการทดลองพาผู้โดยสารท่องเที่ยวในอวกาศเช่นกัน.