การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจโลก (thoibaotaichinhvietnam.vn) |
1/การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ทำให้เกิดวิกฤตในทุกด้านที่ไม่เคยมีมาก่อนและส่งผลกระทบในเชิงลึกต่อโลก
ธนาคารโลก หรือ WB ได้พยากรณ์ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้จีดีพีโลกลดลงร้อยละ 3-6 สร้างความเสียหายอย่างน้อย 5ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งทำให้เกิดวิกฤตในทุกด้านและสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงลึกต่อชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ การเมือง การทูต วัฒนธรรม กีฬา การเดินทางและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยกิจกรรมที่สำคัญๆ เช่น การประชุมผู้นำจี20 การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติและการประชุมผู้นำอาเซียนต้องจัดขึ้นผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ส่วนการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2020 ถูกเลื่อนออกไป แต่การที่ประเทศต่างๆเร่งทำการวิจัยและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้สร้างความหวังว่า จะสามารถขจัดการแพร่ระบาดได้ภายในปี2021.
ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันกับนายโจไบเดน ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต (thethaovanhoa.vn) |
2/ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2020 - การแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันกับนายโจไบเดน ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2020ได้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของสหรัฐ โดยความแตกต่างในนโยบายบริหารประเทศและการต่างประเทศระหว่าง 2 ผู้สมัครตัวเต็งคือประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกันกับนาย โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต จะไม่เพียงแต่ส่งผลต่อประเทศสหรัฐเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบต่อโลกอีกด้วย
นี่คือการเลือกตั้งที่มีประชาชนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุดและแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกในสังคมและเวทีการเมืองสหรัฐ โดยถึงแม้นาย โจ ไบเดนได้คะแนนโหวตจากคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมด 306 เสียง ซึ่งสูงกว่าคะแนนโหวตขั้นต่ำที่ 270 เสียงทำให้คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แต่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ก็ได้กล่าวหาว่ามีการโกงเลือกตั้ง ซึ่งการสร้างความสามัคคีในประเทศ การฟื้นฟูความสัมพันธ์กับพันธมิตรและการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือความท้าทายที่สำคัญสำหรับทางการของนาย โจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ.
ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนได้บานปลายจนกลายเป็นความขัดแย้งในทุกด้าน (Nikkei Asian Review) |
3/ การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับสหรัฐยังคงตึงเครียดมากขึ้น
ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนได้บานปลายจนกลายเป็นความขัดแย้งในทุกด้าน เช่น ต้นตอและมาตรการขจัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความตึงเครียดด้านเทคโนโลยีและการทูตหลังจากทั้ง 2 ฝ่ายได้สั่งปิดสถานกงสุลของอีกฝ่ายโดยกล่าวหาว่า เป็นสายลับ โดยรัฐบาลสหรัฐได้สั่งห้ามใช้แอปพลิเคชัน “ติ๊กต็อก” และ “วีแชท” ในสหรัฐ อีกทั้งประกาศมาตรการคว่ำบาตรต่อสถานประกอบการใหญ่ๆของจีน
การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐกับจีนได้บานปลายจนกลายเป็นการแข่งขันในทุกด้าน ไม่ว่าจะในด้านกลาโหม การเมือง ความมั่นคง การทูตและอุดมการณ์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างลึกในทั่วโลกและอาจยืดเยื้อต่อไป
การลงนามข้อตกลง RCEP ได้สร้างนิมิตหมายของเวียดนามในฐานะเป็นประธานอาเซียน |
4/ การลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านระดับภูมิภาคหรือ RCEPช่วยจัดตั้งเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
พิธีลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านระดับภูมิภาคหรือ RCEP คือกิจกรรมทางประวัติศาสตร์ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่สนทนาได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้สร้างพื้นฐานให้แก่ระยะความร่วมมือใหม่ในทุกด้านอย่างยาวนาน สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาและเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศที่เข้าร่วม
การลงนามข้อตกลง RCEP ได้สร้างนิมิตหมายของเวียดนามในฐานะเป็นประธานอาเซียน ข้อตกลง RCEP มี 15 ประเทศสมาชิกที่มีประชากร 2.2 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30ของโลก และจีดีพี 2 หมื่น 6 พัน 2 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 30 ของโลก ซึ่งทำให้ RCEP กลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากมีผลบังคับใช้ ข้อตกลงนี้จะช่วยยกเลิกภาษีนำเข้าร้อยละ 90 ระหว่างประเทศสมาชิกภายในเวลา 20ปีและจัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับการค้าอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนสินค้าและลิขสิทธิ์ทางปัญญา
ทหารอาร์เมเนีย (Reuters) |
5/ การปะทะในเขตนากอร์โน-คาราบัคและ เขต Kavkaz ใต้บานปลายจนกลายเป็นการปะทะที่รุนแรงระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานในปี 2020
นี่คือการปะทะครั้งรุนแรงที่สุดระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานนับตั้งแต่ปี 1994 โดยการปะทะในระหว่างวันที่ 27 กันยายนถึงวันที่ 10 พฤศจิกายนปี 2020 ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 5 พันคน ส่วนรัสเซียได้เข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยและได้มีการลงนามข้อตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีความเสี่ยงที่การปะทะอาจปะทุขึ้นอีกครั้งเนื่องจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ
ขบวนรถของกองทัพอินเดียในเขตททางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง Srinagar เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนปี 2020 (AP) |
6/ การเผชิญหน้าในเขตชายแดนระหว่างจีนกับอินเดีย
ความตึงเครียดระหว่างอินเดียกับจีนได้บานปลายจนเกิดการปะทะครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50ปีที่หุบเขากาลวาน ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศเลวร้ายลง ถึงแม้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน อินเดียและจีนได้เห็นพ้องที่จะทำข้อตกลงถอนทหารออกจากเขตที่เกิดการปะทะเพื่อคลี่คลายความตึงเครียดและการเผชิญหน้าในตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีในหลายด้านในระยะยาว.
ภาพพิธีลงนามข้อตกลงสันติภาพ Abraham เมื่อวันที่ 15 กันยายนปี 2020 (Reuters) |
7/อิสราเอลและบางประเทศในตะวันออกกลางลงนามข้อตกลงสันติภาพครั้งประวัติศาสตร์
ในปี 2020 สถานการณ์ในตะวันออกกลางได้มีสัญญาณที่น่ายินดี โดยอิสราเอลและบางประเทศในภูมิภาค เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนได้ลงนามข้อตกลงสันติภาพครั้งประวัติศาสตร์หลังการเผชิญหน้าในหลายปีที่ผ่านมา ข้อตกลงเหล่านี้ได้สร้างนิมิตหมายของความพยายามเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยของสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาวการณ์ที่ความขัดแย้งทางการเมือง ภูมิศาสตร์และศาสนาในภูมิภาคยังคงมีอยู่ ทุกฝ่ายก็ยังคงแสวงหามาตรการเพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่ยืดเยื้อในหลายสิบปีในตะวันออกกลางต่อไป
ประชาชนอิหร่านเข้าร่วมพิธีศพของนายพลคาเซ็ม ซูลีมานี (Reuters) |
8/ เหตุลอบสังหารต่างๆทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิหร่านตึงเครียดมากขึ้น
เมื่อวันที่ 3 มกราคม นายพลคาเซ็ม ซูลีมานี (Qasem Soleimani) ผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านได้เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศของสหรัฐในกรุงแบกแดด ประเทศอิรักเพื่อตอบโต้การโจมตีใส่สถานทูตสหรัฐ ณ กรุงแบกแดด ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวบวกกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านในเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้สถานการณ์บานปลายจนเกือบเกิดการปะทะ
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน การที่อิหร่านได้ประกาศถอนตัวจากแผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือ JCPOA ที่ลงนามกับกลุ่มพี5+1 ถือเป็นการโต้ตอบสหรัฐและประเทศตะวันตกและการที่นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชั้นนำของอิหร่าน มอห์เซน ฟาครีซาเดห์ (Mohsen Fakhrizadeh) ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน อิสราเอลและสหรัฐเลวร้ายมากขึ้น.
ภาพในห้องประชุมระหว่างอียูกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 กันยายนปี 2019 ณ ประเทศเบลเยียม (Reuters) |
9/ การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ อียูกับข้อตกลงด้านการค้าหลังกระบวนการ Brexit
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม อียูและอังกฤษได้บรรลุข้อตกลงด้านการค้าที่ค้ำประกันผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย โดยภายหลังเข้าเป็นสมาชิกของอียูมาเป็นเวลา 47 ปี อังกฤษได้ถอนตัวออกจากอียูอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 มกราคมปี 2020 และในกระบวนการเปลี่ยนผ่านในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การเจรจาเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทวิภาคีในอนาคตได้ประสบอุปสรรคมากมายจนต้องขยายเวลาการเจรจา ซึ่งข้อตกลงด้านการค้าคือผลงานที่สำคัญเพราะช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่ายหลีกเลี่ยงความเสียหายต่างๆ.
ประมวลภาพเกี่ยวกับเหตุระเบิดที่ท่าเรือในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน |
10/ เหตุระเบิดในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ได้เกิดเหตุระเบิดที่ท่าเรือในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คนและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกว่า 7 พันคน โดยจุดที่เกิดระเบิดเป็นโกดังที่เก็บแอมโมเนียมไนเตรตมากถึง 2,750 ตัน มานานถึง 6 ปีโดยไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ ความรุนแรงของระเบิดเทียบเท่ากับเหตุแผ่นดินไหวขนาด 3.3 ริกเตอร์ ทำให้เมืองเบรุตได้รับความเสียหายอย่างหนัก ส่วนมูลค่าความเสียหายมากถึง 1 หมื่นถึง 1 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลเลบานอนได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 2 สัปดาห์และได้เกิดการชุมนุมประท้วงรัฐบาลในทั่วประเทศเลบานอน ซึ่งทำให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี Hassan Diab ต้องลาออกจากตำแหน่ง.