เอกลักษณ์ของภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่ง

Lan Anh/VOV5
Chia sẻ

(VOVworld)-สำหรับศิลปะการทำภาพพื้นเมืองในเขตภาคเหนือของเวียดนามนั้น กรุงฮานอยขึ้นชื่อด้วยภาพพิมพ์ไม้พื้นเมืองห่างจ๊ง เขตกิงบั๊กขึ้นชื่อด้วยภาพพื้นเมืองดงโห่ ส่วนในเขตภาคกลาง ชาวกรุงเก่าเว้มีความค้นเคยกับภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่ง ซึ่งเป็นภาพที่ใช้สำหรับงานบูชา


(VOVworld)-สำหรับศิลปะการทำภาพพื้นเมืองในเขตภาคเหนือของเวียดนามนั้น กรุงฮานอยขึ้นชื่อด้วยภาพพิมพ์ไม้พื้นเมืองห่างจ๊ง เขตกิงบั๊กขึ้นชื่อด้วยภาพพื้นเมืองดงโห่ ส่วนในเขตภาคกลาง ชาวกรุงเก่าเว้มีความค้นเคยกับภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่ง ซึ่งเป็นภาพที่ใช้สำหรับงานบูชา

เอกลักษณ์ของภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่ง - ảnh 1
ภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่งได้สะท้อนความเลื่อมใสพื้นบ้านเพื่อการบูชา
(Photo internet)


หมู่บ้านสิ่งหรือที่มีอีกชื่อเรียกว่าหมู่บ้านหลายเอินในต.ฟู้เหมิว อ.ฟู้วาง ห่างจากเมืองเว้ประมาณ9กิโลเมตรเป็นหนึ่งในหมู่บ้านทำภาพพื้นเมืองอันเก่าแก่ของเว้ ซึ่งเอกลักษณ์ของภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่งที่แตกต่างกับภาพพื้นเมืองอื่นๆเช่นภาพดงโห่หรือภาพห่างจ๊งที่สะท้อนหัวข้ออันหลากหลายในชีวิตประจำวันคือได้สะท้อนความเลื่อมใสพื้นบ้านเพื่อการบูชา นายเหงวียนวันเตียน ชาวกรุงเก่าเว้เผยว่า“ภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่งเป็นภาพที่ใช้สำหรับการเซ่นไหว้บูชาเป็นหลัก ซึ่งชาวบ้านมักจะซื้อไปแขวนในที่สูงในบ้านเพื่อให้จิตใจสงบสบาย”

สำหรับหัวข้อของภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่งนั้นเน้นใน3ประเภทหลักคือ ภาพบุคคล ภาพสิ่งของและภาพสัตว์ โดยภาพบุคคลส่วนใหญ่เป็นภาพเกี่ยวกับเทพที่ดูแลส่วนต่างๆของชีวิตที่คอยปกป้องคุ้มครองคนในบ้าน  ซึ่งมักจะแขวนไว้ตั้งแต่ต้นปีพอถึงปลายปีก็จะเผาภาพนั้นส่วนภาพประเภทอื่นๆมักจะเผาพร้อมกระดาษเงินกระดาษทองหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมต่างๆ สำหรับภาพเกี่ยวกับสิ่งของมักจะเป็นเสื้อผ้าและอุปกรณ์ ภาพเกี่ยวกับสัตว์จะเป็นภาพวาด12นักษัตรที่เป็นสัญลักษณ์ปีเกิดของเจ้าของบ้าน นอกจากนั้นก็มีภาพวาดสัตว์เลี้ยงต่างๆเพื่อแขวนไว้ในเล้าสัตว์เพื่อขอให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรงโตเร็วไม่เจ็บป่วย ภาพที่วาดเกี่ยวกับสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อย่างเสือหรือช้างใช้แขวนตามวิหารศาลเจ้าเพื่อขอพรไม่ให้ชาวบ้านประสบภัยร้ายจากสัตว์ป่า

เอกลักษณ์ของภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่ง - ảnh 2
แผ่นพิมพ์ไม้ที่ใช้พิมพ์ภาพ(Photo internet)

ในด้านเทคนิกการวาดภาพและวัตถุที่ใช้นั้นก็คล้ายๆกับภาพพิมพ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นอื่นๆอย่างดงโห่หรือห่างจ๊ง โดยเริ่มด้วยการแกะสลักแผ่นพิมพ์ไม้ การพิมพ์ภาพบนกระดาษสาและการเติมสีให้ภาพดูสดใสสวยงาม  ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็ประกอบด้วยวัตถุการทำที่หลากหลายรูปแบบ เช่นสีภาพใช้วัตถุธรรมชาติผ่านขั้นตอนการผสมและกลั่นกรองเพื่อให้ได้สีที่ทนทานใช้นานไม่ตก  ส่วนการพิมพ์ภาพก็ใช้แผ่นพิมพ์ไม้ลายดำแล้วค่อยๆเติมแต่งสีสันรายละเอียดของภาพจึงทำให้การใช้สีนั้นต้องผสมมากกว่าภาพประเภทอื่นๆ ช่างศิลป์เหงวียนหิวเฟือกเผยว่า“ในขั้นตอนการพิมพ์ภาพนั้น ที่ยากที่สุดคือการผสมสีจากวัตถุธรรมชาติ ซึ่งสีหลักบนภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่งนั้นมี5สี ซึ่งต้องวาดทีละสีแล้วรอให้แห้งถึงจะวาดสีต่อไปได้ นอกจากนั้นการพิมพ์ภาพบนกระดาษอย่างไรให้คมชัด ซึ่งรวมแล้วต้องผ่าน7ขั้นตอนถึงจะเสร็จภาพหนึ่งภาพ”

สำหรับพู่กันที่ใช้นั้นก็ทำจากรากต้นสับปะรดในท้องถิ่น ซึ่งต้องนำไปตากแห้งแล้วปลอกเปลือกออกให้เหลือแต่ส่วนในที่พอดีกับความต้องการ ทั้งนี้แม้ปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาพพิมพ์สมัยใหม่ที่สวยงามกว่าแต่ในชีวิตจิตใจของชาวเว้ ภาพพื้นเมืองหมู่บ้านสิ่งยังคงมีบทบาทสำคัญที่ไม่อาจขาดได้.

Komentar