ภาพพื้นเมืองกิมหว่าง

Theo Lan Anh-VOV5 -
Chia sẻ

(VOVworld)-ภาพพื้นเมืองกิมหว่างเป็นหนึ่งในศิลปะพื้นเมืองที่พัฒนารุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่18-19ของหมู่บ้านกิมหว่าง อ.หว่ายดึ๊ก จ.ห่าเตยในอดีต โดยหัวข้อของภาพเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างเช่นภาพบรรยากาศวันตรุษเต๊ต การเซ่นไหว้เทพแห่งเตา การทำนาหรือวัวควายกำลังกินหญ้า เป็นต้นซึ่งสามารถเข้าถึงผู้ชมได้อย่างลึกซึ้ง


(VOVworld)-ภาพพื้นเมืองกิมหว่างเป็นหนึ่งในศิลปะพื้นเมืองที่พัฒนารุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่18-19ของหมู่บ้านกิมหว่าง อ.หว่ายดึ๊ก จ.ห่าเตยในอดีต โดยหัวข้อของภาพเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างเช่นภาพบรรยากาศวันตรุษเต๊ต การเซ่นไหว้เทพแห่งเตา การทำนาหรือวัวควายกำลังกินหญ้า เป็นต้นซึ่งสามารถเข้าถึงผู้ชมได้อย่างลึกซึ้ง
ภาพพื้นเมืองกิมหว่าง - ảnh 1

          นอกจากภาพพื้นเมืองดงโห่ของบั๊กนิงห์ หรือภาพพื้นเมืองห่างจ๊งของฮานอยแล้ว ภาพพื้นเมืองกิมหว่างก็เป็นอีกหนึ่งศิลปะที่โดดเด่นของชุมชนเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในอดีต ในสมัยก่อนภาพพื้นเมืองกิมหว่างยังเรียกว่าภาพแดงเพราะถูกพิมพ์บนกระดาษสีแดง ซึ่งแตกต่างกับภาพพื้นเมืองอื่นๆที่พิมพ์บนกระดาษสาสีขาวอมเหลืองอ่อน นอกจากนั้นสีหลักของภาพก็จะเป็นรอยสีดำที่จากแม่พิมพ์ไม้ ส่วนสีสันอื่นๆจะถูกเติมแต่งหลังจากพิมพ์กรอบภาพเสร็จ นายเลบิ๊ก หนึ่งในผู้ชื่นชอบศิลปะพื้นเมืองเผยว่า เพราะหลงไหลกับความงามของศิลปะพื้นเมืองเขาจึงใช้เวลาศึกษาค้นคว้าและประทับใจภาพพื้นเมืองกิมหว่างเป็นพิเศษ“จากชื่อเรียกภาพกิมหว่างหรือภาพแดงก็ได้สะท้อนให้เห็นจุดเด่นของมันแล้ว ซึ่งผมชอบภาพเกี่ยวกับสัตว์มากที่สุดเช่นภาพฝูงไก่หรือสุกรที่ปรากฎบนกระดาษสีแดงด้วยลวดลายที่คุ้นเคยกับชาวเวียดนาม จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นภาพที่สวยงามตามธรรมชาติ”

ภาพพื้นเมืองกิมหว่าง - ảnh 2

เมื่อก่อนนี้ เพื่อที่จะได้ภาพพื้นแดงที่มีสีสันสดใสสวยงาม ผู้ทำภาพกิมหว่างมักจะใช้ไม้ขนุน ไม้จันท์เพื่อแกะเป็นแม่พิมพ์ไม้ ส่วนกระดาษก็ซื้อจากถนนห่างหม๊าในย่านโบราณฮานอย ชาวบ้านกิมหว่างได้เริ่มทำภาพหลังช่วงเก็บเกี่ยวเดือน10เมื่ออากาศเริ่มเย็นนิดๆ ขั้นตอนการทำก็คล้ายๆกับการทำภาพพื้นเมืองดงโห่ตรงที่ต้องใช้แม่พิมพ์ไม้ทาน้ำให้เปียกแล้วพิมพ์บนกระดาษให้ได้กรอบลายภาพต่างๆที่ต้องการแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นก็นำมาเติมสีสันให้แก่ภาพต่างๆเพื่อให้ดูมีชีวิตชีวาโดดเด่นมากขึ้น โดยพู่กันที่ใช้ทาสีต้องทำจากฟางข้าวเหนียวเพื่อให้ไม่นุ่มเกินไป นางเหงวียนถิทูหว่า นักสะสมภาพพื้นเมืองเผยว่า “ภาพพื้นเมืองกิมหว่างมีต้นกำเนิดจากหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งชาญเมืองและเพื่อตอบสนองความต้องการของชนชั้นแรงงานทั่วไปดังนั้นสีสันและลวดลายของภาพก็จะเป็นไปตามความนิยมที่เรียบง่ายคุ้นเคยกับชีวิตประจำวัน อย่างเช่นเมื่อถึงตรุษเต๊ตชาวบ้านมักจะซื้อคำกลอนคู่หรือภาพสีแดงมาประดับบ้านเพื่อหวังจากนำโชคลาภมาในปีใหม่ สีที่ใช้ในภาพกิมหว่างก็ได้จากวัตถุธรรมชาติดังนั้นเมื่อใช้ไปนานๆสีของภาพจะใสขึ้น
ภาพพื้นเมืองกิมหว่าง - ảnh 3
(photo 1-2-3: dulich24.com.vn)

จุดเด่นที่สร้างความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์บนภาพพิมพ์ไม้กิมหว่างคือบนภาพทุกภาพยังมีบทกลอนที่เขียนเป็นภาษาฮั่นนมบนมุมซ้าย ซึ่งทั้งภาพและกลอนได้เข้ากันอย่างลงตัวทั้งด้านรูปภาพและความหมายและนี่ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นฝีมือและความรู้ด้านภาษาฮั่นนมในระดับหนึ่งของบรรดาช่างศิลป์หมู่บ้านกิมหว่าง

จนถึงปัจจุบันจากแนวโน้มการพัฒนาที่ทันสมัย จำนวนครอบครัวของหมู่บ้านกิมหว่างที่ยังคงรักษาแผ่นพิมพ์ไม้โบราณนั้นมีน้อยมากซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะเมื่อครั้งที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ปี1915ทำให้ทำนบแตก น้ำหลากได้พัดสิ่งของต่างๆของชาวบ้านหายไปหมด หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาสงครามและความอดอยากยากจนจึงไม่มีใครสนใจอาชีพทำภาพต่อไป ดังนั้นเรื่องการฟื้นฟูอาชีพพื้นเมืองที่มีค่านี้ของหมู่บ้านกิมหว่างก็เป็นความปรารถนาของทั้งชาวบ้านและผู้ที่ชื่นชมศิลปะพื้นเมืองที่เคยพัฒนารุ่งเรืองและเป็นอาหารทางใจที่ไม่อาจขาดได้ในวันงานสำคัญของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในอดีต.

Komentar