เผยแพร่การฟ้อน “แซ่ว” ที่โรงเรียนต่างๆในจังหวัดเซินลา

Vũ Lợi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การฟ้อนแซ่วคือกิจกรรมวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าไทในเวียดนาม โดยได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกและเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการจัดการประกวดความรู้เกี่ยวกับการฟ้อนแซ่วในกรอบกิจกรรม “กลับมาเยือนแหล่งมรดก” ของโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจูวันอานสังกัดมหาวิทยาลัยเตยบั๊กในเมืองเซินลา จังหวัดเซินลา

 

เผยแพร่การฟ้อน “แซ่ว” ที่โรงเรียนต่างๆในจังหวัดเซินลา - ảnh 1การฟ้อนแซ่วของนักเรียนโรงเรียนจูวันอาน
ที่บริเวณโรงเรียนจูวันอานสังกัดมหาวิทยาลัยเตยบั๊กในเมืองเซินลา จังหวัดเซินลา นักเรียนทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตรพิเศษท่ามกลางเสียงเพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนแซ่ว ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่นักเรียนจากโรงเรียนจูวันอานได้สัมผัสกับบรรยากาศวัฒนธรรมของชนเผ่าไทผ่านการเรียนรู้ความโดดเด่นของการฟ้อนแซ่วโบราณและเพลงบรรเลงประกอบการฟ้อน 6 เพลงของชนเผ่าไทในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ คุณ เหงวียนหงอกบ๋าวอาน นักเรียนชั้น ม.2 ได้เผยว่า

หนูรู้สึกยินดีมากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้เพื่อเรียนรู้ศิลปะการฟ้อนแซ่วของชนเผ่าไทและ เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนาม”

ที่เวทีที่มีแคนจำลอง บรรดานักเรียนได้แบ่งเป็นทีมต่างๆ ที่สวมใส่ชุดแต่งกายและผ้าเปียวของชนเผ่าไทและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น การแนะนำทีม การนำเสนอและแสดงการฟ้อนแซ่ว  รวมถึงเพลงบรรเลงประกอบการฟ้อน 6 เพลง เช่น เพลงยกผ้าเชิญเหล้า เพลงแบ่งสี่และเพลงยืนจับมือเป็นวงกลมและตบมือ เป็นต้น คุณ หล่อดึ๊กแอง นักเรียนชั้นม.6 และคุณห่าถวี่วี นักเรียนชั้น ม.2ได้เผยว่า

ผมรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก จากการเป็นชนเผ่าไท ผมอยากเรียนรู้และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไท รวมถึงเพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนแซ่ว 6 เพลง พยายามอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมพื้นเมืองให้แก่คนรุ่นหลัง”

“หนูรู้สึกยินดีมากที่ได้เข้าร่วมและเรียนรู้เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่า หนูอยากประชาสัมพันธ์และร่วมกับเพื่อนๆอนุรักษ์พัฒนาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในเวียดนาม”

เผยแพร่การฟ้อน “แซ่ว” ที่โรงเรียนต่างๆในจังหวัดเซินลา - ảnh 2การแสดงการฟ้อนแซ่วที่บริเวณโรงเรียนจูวันอานสังกัดมหาวิทยาลัยเตยบั๊กในเมืองเซินลา

ส่วนคุณครู เหงวียนแองด่าน ซึ่งเป็นครูสอนดนตรีและผู้กำกับกิจกรรมได้เผยว่า กิจกรรมวัฒนธรรม “กลับมาเยือนแหล่งมรดก” มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์วัฒนธรรม ยกระดับความรู้และความรับผิดชอบของนักศึกษาในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมการฟ้อนแซ่ว

ต่อจากกิจกรรมวัฒนธรรมของชนเผ่าไท เรามีแผนจัดกิจกรรมวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งในหัวข้อ “แว่วเสียงแคน”และมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ”       

ทั้งนี้ การเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นเมืองผ่านกิจกรรมนอกหลักสูตรทำให้กิจกรรมของโรงเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งช่วยประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมพื้นเมืองอย่างกว้างขวางมากขึ้น.

Komentar