( VOVworld )-จากช่องเขามะฝุกรถยนต์วิ่งตามทางหลวงหมายเลข ๓ ประมาณ ๑๐ กม.ก็จะมองเห็นบ้านไม้ยกพื้นของชนเผ่าหนุ่งอยู่กระจัดกระจายท่ามกลางหมอก เมื่อมาถึงปากทางเข้าหมู่บ้านเราได้ยินเสียงตีเหล็กอันเป็นสัญสัญญาณบอกให้เรารู้ว่านี่คือหมู่บ้านตีเหล็กที่เป็นภูมิปัญญาของเผ่าหนุ่ง
|
ตีเหล็กแปรรูปเป็นมีด |
ตำบลฟุกแซน จังหวัดกาวบั่งเขตเขาตอนบนของประเทศมีหมู่บ้าน ๑๐ แห่งแต่มีถึง ๖ แห่งประกอบอาชีพตีเหล็ก ซึ่งผลิตภัณฑ์จากชฝีมือของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ทำการเกษตร มีด กรรไก ขวาน เคียว เครื่องมือทำการผลิตของฟุกแซนได้รับความนิยมไม่เพียงแต่ภายในตำบลเท่านั้น หากในเขตปริมณฑลอีกด้วย ชาวตำบลฟุกแซนประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังว่างเว้นจากการทำนาก็จะตีเหล็กแปรรูปเป็นมีด เคียวเป็นต้น แต่เนื่องจากประชากรของหมู่บ้านนับวันเพิ่มจำนวนมากขึ้นและที่ดินทำนานับวันน้อยลงดังนั้นเตาไฟตีเหล็กมีไฟทุกวัน โดยเฉพาะในฤดูทำไร่ทำนา ผลิตภัณฑ์จากการตีเหล็กขายไม่ทันทำ นายนงลิวเลวี้ยน ที่ประกอบอาชีพตีเหล็กหมู่แทงมิงห์เผยว่า “ ฤดูนี้ลูกค้าภายในพื้นที่และจากต่างจังหวัดมาสั่งซื้อมากมาย โดยสั่งซื้อมีดสวยและทนทานชนิดต่างๆ หากลูกค้าไม่มีเวลามารับสินค้า เราจะส่งทางรถเมล์ให้ถึงบ้าน ”
นายเลวี้ยนรู้สึกภาคภูมิใจที่ที่นี่สามารถตีเหล็กแปรรูปเป็นมีดคม สวย ทนทานใช้ได้นาน ถึงแม้ผลิตภัณฑ์ที่ฟุกแซนยังไม่มีรูปแบบที่หลากหลายแต่เครื่องมือที่ทำการผลิตเกษตรได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยพ่อค้าจากจังหวัดต่างๆมาที่นี่สั่งซื้อเป็นจำนวนมาก นายหวูดิ่งจิ๊ง จากจังหวัดบั๊กก่านเผยว่า “ ผมมาซื้อที่นี่หลายครั้งแล้ว สินค้าสวยและคุณภาพดีจึงขายดี ผมซื้อสินค้าของที่นี่ตั้งแต่ปี ๒๐๐๙ โดยซื้อมีด ค้อน เคียวและเครื่องมือทำการเกษตรแล้วนำไปขายยังจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากชาวนา ผมประกอบอาชีพหล่อทองแดง อะลูมีเนี่ยมและเหล็ก สินค้าของหมู่บ้านฟุกแซนคุณภาพดีมีชื่อเสียง ”
|
ชาวบ้านสืบสานอาชีพตีเหล็กจากบรรพบุรุษ |
นายนงวันเต่อ ผู้ประกอบอาชีพตีเหล็กอีกคนเผยว่า กรรมวิธีการตีเหล็กของชนเผ่าหนุ่งแตกต่างกับชนชาติกิงซึ่งเป็นชนชาติส่วนใหญ่และอยู่ในพื้นที่ราบของประเทศ โดยชนชาติกิงทำมีดเริ่มต้นที่ส่วนด้าม ส่วนชนเผ่าหนุ่งเน้นทำใบมีดก่อน พอได้มีดที่คมและสวยตามความต้องการก็จะถึงขั้นตอนการทำในส่วนด้าม อาชีพตีเหล็กของชนเผ่าหนุ่งต้องการคนมีร่างกายแข็งแรงและรักอาชีพนี้เป็นชีวิตจิตใจ รู้จักใช้สัมผัสรวมทั้งอารมณ์ความรู้สึก ผลิตภัณฑ์ต้องทนทาน สวยและคมนาน นายเต่อเผยว่า “ อาชีพตีเหล็กได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษสั่งสอนสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน หากคนไม่ประกอบอาชีพนี้จะไม่สามารถเข้าใจคุณลักษณะของมีด ผมประกอบอาชีพนี้นานจึงสามารถแยกแยะได้คุณลักษณะของเหล็ก หากนำเหล็กไปแช่น้ำจะได้สีรุ้งถือว่าเป็นเหล็กคุณภาพดี และลับมีดก็ง่ายและคมนาน ”
|
หมู่บ้านตึเหล็กชนเผ่าหนุ่งที่กาวบั่ง |
วิธีการตีเหล็กเป็นมีดหรือเคียวด้วยมือของชนเผ่าหนุ่งต้องผ่านหลายขั้นตอนที่ซับซ้อนแต่หลักๆคือ เริ่มแรกเลือกเหล็กแหนบรถยนต์ที่ได้ใช้แล้ว จากนั้นก็นำเหล็กแหนบรถยนต์มาตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ นำไปเผาไฟที่ความร้อนสูงจนเหล็กแดงแล้วนำไปแช่น้ำ แล้วก็จะใช้ค้อนตีให้ได้รูปลักษณ์ตามที่ต้องการ ชนเผ่าหนุ่งถือว่า น้ำแช่เหล็กแดงนี้นเป็นส่วนสำคัญมากในการผลิตมีด โดยมีส่วนประกอบได้แก่ เถ้าถ่านไม้สักแช่น้ำปูนแล้วทิ้งไว้คืนหนึ่งให้ตกตะกอน เช้าวันต่อมาจะสกัดเอาน้ำส่วนใสเพื่อเป็นน้ำแช่ อาชีพตีเหล็กของชาวหมู่บ้านฟุกแซนต้องการฝีมือ ความประณีต ละเอียดอ่อนย่างมากดังนั้นผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นมีด เคียว กรรไก จอบและขวานขายดีไม่ทันผลิต
|
อาชีพตีเหล็กภูมิปัญญาของชนเผ่าหนุ่ง |
ปัจจุบัน มีดและค้อนของหมู่บ้านฟุกแซนได้รับความสนใจประชาสัมพันธ์ไม่เพียงแต่ไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงภายในจังหวัดเท่านั้น หากยังท้องถิ่นอื่นๆอีกด้วย นายลองเจี๊ยน ที่ประกอบอาชีพตีเหล็กเผยว่า “ มีบางคนของหมู่บ้านทำการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ต่างๆ ผมเป็นตัวแทนของชาวบ้านไปยังหลายพื้นที่ภายในจังหวัดเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นงานที่จำเป็นทำให้สินค้าของหมู่บ้านได้รู้จักมากขึ้น ทั้งนี้ได้ทำให้ลูกค้ามาที่นี่อุตหนุนมากมาย” นายเจี๊ยนเล่าด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจว่า สมัยก่อนโน้น หมู่บ้านฟุกแซนทำ กระบอกปืนใหญ่โบราณและปืนโบราณชนิดอื่นๆ กาลเวลาผ่านไป ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามชีวิตสมัยใหม่ แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง ๒ อย่างคือ คุณภาพสินค้าและความภาคภูมิใจของชาวบ้านต่ออาชีพที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ./.