ศิลปินยอดเยี่ยม แทงมาย รองหัวหน้าคณะกรรมจัดรายการพบปะสังสรรค์ “ผู้ที่รักศิลปะการแสดงแจ่วทั่วประเทศปี2022” |
รายการพบปะสังสรรค์ “ผู้ที่รักศิลปะการแสดงแจ่วทั่วประเทศครั้งที่ 7 ปี 2022” ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 8 -10 กรกฎาคม ณ หอวัฒนธรรมเวียดนาม-ญี่ปุ่นในเมืองฮาลอง จังหวัดกว๋างนิง โดยมีผู้มาชมเต็มหอวัฒนธรรม ศิลปินมืออาชีพและศิลปินสมัครเล่นประมาณ 500 คนจาก 23 จังหวัดและนครได้มาแสดงเพลงพื้นเมืองแจ่วที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นละครแจ่วโบราณและบทละครเกี่ยวกับชีวิตสมัยใหม่ ศิลปินยอดเยี่ยม แทงมาย รองหัวหน้าคณะกรรมจัดรายการพบปะสังสรรค์ “ผู้ที่รักศิลปะการแสดงแจ่วทั่วประเทศปี2022”ได้เผยว่า
“ในรายการพบปะสังสรรค์ “ผู้ที่รักศิลปะการแสดงแจ่วทั่วประเทศครั้งนี้ มีศิลปินสมัครเล่นเข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งพวกเขามีความทุ่มเทให้กับการร้องเพลงทำนองแจ่ว โดยเฉพาะบางคนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและร้องเพลงทำนองแจ่วได้อย่างไพเราะ ซึ่งพวกเรามีความประสงค์ที่จะอนุรักษ์การร้องเพลงทำนองแจ่วเพื่อไม่ให้ถูกหลงลืม”
สิ่งที่สร้างความประทับใจกว่าก็คือ ความรักศิลปะการแสดงแจ่วของศิลปินสมัครเล่น ซึ่งมีทั้งเกษตรกร เจ้าหน้าที่พนักงาน เจ้าของสถานประกอบการและนักเรียน นาง ฝามถิห่งเวิน ได้เดินทางคนเดียวจากนครดานัง ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดกว๋างนิงประมาณเกือบ 900 กิโลเมตรเพื่อเข้าร่วมรายการพบปะสังสรรค์นี้ ซึ่งเธอรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้พบปะกับศิลปินแจ่วที่เธอชอบ
“ศิลปะการแสดงแจ่วไม่ได้ถูกเผยแพร่ที่นครดานัง มีผู้ที่รักศิลปะการแสดงแจ่วบางคนจากภาคเหนือได้จัดตั้งกลุ่มศิลปินร้องเพลงทำนองแจ่วและดิฉันก็เป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ นอกจากการเข้าร่วมรายการพบปะสังสรรค์ผู้ที่รักศิลปะการแสดงแจ่วทั่วประเทศแล้ว ดิฉันได้เข้าร่วมการพบปะสังสรรค์ระหว่างสโมสรต่างๆในภาคเหนือ ดิฉันชอบมาก เมื่อมีความทุ่มเทกับการร้องเพลงทำนองแจ่วแล้ว ดิฉันก็พยายามร้องเพลงทำนองแจ่วให้ไพเราะ”
นาง เกิ๋มต๊าม หัวหน้าสโมสรแจ่วลองเบียน กรุงฮานอย สามีและหลานๆ |
หลานสองคนของนาง เกิ๋มต๊าม หัวหน้าสโมสรแจ่วลองเบียน กรุงฮานอยคือเด็กชายนามแอง อายุ 12 ขวบและแทงจุ๊ก อายุ 10 ขวบได้แสดงบทละครแจ่ว “เทศกาลไหว้พระจันทร์คิดถึงลุงโฮ” เด็กหญิงแทงจุ๊กได้เผยว่า
“ทุกวัน หนูมาให้กำลังใจคุณย่าและฝึกร้องเพลงทำนองแจ่วเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หนูรู้สึกดีใจมากที่ได้รับคำชมเชยจากทุกคน หนูมีความประสงค์ที่จะแนะนำการร้องเพลงแจ่วให้แก่ทุกๆคน”
ส่วนคุณ เหงวียนเตี๊ยนอุ๊ด ผู้ชมคนหนึ่งจากเมืองดงเจี่ยวรู้สึกพอใจเมื่อได้ชมบทละครแจ่วที่ตนชอบ เขาบอกว่า
“ผมชอบศิลปะการแสดงแจ่วมาก ผมคิดว่า ถ้าหากในแต่ละปี แต่ละจังหวัดและตำบลจัดการแข่งขันการร้องเพลงทำนองแจ่วและการร้องเพลงพื้นเมืองเวียดนาม เราก็จะสามารถอนุรักษ์การร้องเพลงทำนองแจ่วได้ ต้องมีการปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียบตั้งแต่ตำบล อำเภอ จังหวัดมาจนถึงส่วนกลาง”
ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ศิลปะการแสดงแจ่วได้กลายเป็นอาหารทางใจและเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของเวียดนาม หน่วยงานวัฒนธรรมเวียดนามได้ตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปลายปี 2024 จะเสร็จสิ้นการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นเสนอให้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก้พิจารณาระบุศิลปะการแสดงเพลงพื้นเมืองแจ่วในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเข้าในรายชื่อมรดกวัฒนธรรมนามธรรม.