เกษตรกรบั๊กก่านแก้ปัญหาความยากจนจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืช

Thu Hằng-Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVworld) – ในหลายปีที่ผ่านมา จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืช เกษตรกรจังหวัดบั๊กก่านได้พยายามแก้ปัญหาความยากจนและมีเกษตรกรบางรายสามารถ ได้ฟันฝ่าความยากจนและประสบความสำเร็จในการสร้างฐานะโดยจังหวัดบั๊กก่านได้ เน้นพัฒนาและขยายพื้นที่ปลูกส้มเช้งและส้มเขียวหวานซึ่งเป็นไม้ผลเฉพาะของท้องถิ่น ส้มเช้งและส้มเขียวหวานของจังหวัดบั๊กก่านมีลูกใหญ่ รสชาติหวานฉ่ำและเปลือกบางจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ
(VOVworld) – ในหลายปีที่ผ่านมา จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืช เกษตรกรจังหวัดบั๊กก่านได้พยายามแก้ปัญหาความยากจนและมีเกษตรกรบางรายสามารถได้ฟันฝ่าความยากจนและประสบความสำเร็จในการสร้างฐานะโดยจังหวัดบั๊กก่านได้เน้นพัฒนาและขยายพื้นที่ปลูกส้มเช้งและส้มเขียวหวานซึ่งเป็นไม้ผลเฉพาะของท้องถิ่น ส้มเช้งและส้มเขียวหวานของจังหวัดบั๊กก่านมีลูกใหญ่ รสชาติหวานฉ่ำและเปลือกบางจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ
 เกษตรกรบั๊กก่านแก้ปัญหาความยากจนจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืช - ảnh 1
ส้มเช้งและส้มเขียวหวานของจังหวัดบั๊กก่านมีลูกใหญ่ รสชาติหวานฉ่ำและเปลือกบางจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ

ปัจจุบัน จังหวัดบั๊กก่านมีพื้นที่ปลูกส้มเช้งและส้มเขียวหวานกว่าา 1500 เฮกต้าร์โดยหลักๆมี 3 แห่งคืออำเภอแบกทง เจ่อด่นและบาเบ๋ ในช่วงปลายปีเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวส้มทั้ง 2 ชนิด  อำเภอแบกโทงอยู่ห่างจากตัวเมืองบั๊กก่านกว่า 10 กิโลเมตร เป็นท้องถิ่นที่มีพื้นที่ปลูกส้มเช้งและส้มเขียวหวานมากที่สุด ในช่วงนี้ พ่อค้าคนกลางจะมาที่นี่เพื่อซื้อส้มซึ่งบรรยากาศการซื้อขายเป็นไปอย่างคึกคักตลอดสองข้างทาง นอกจากนั้น ชาวบั๊กก่านยังนำส้มเช้งและส้มเขียวหวานไปขายตามตลาดต่างๆของจังหวัด ตั้งแต่เช้าถึงบ่าย ตามตรอกซอกซอยต่างๆจะเห็นชาวบ้านนำส้มไปขายพร้อมใบหน้าที่ปลื้มปิติยินดีเพราะการเก็บผลผลิตในปีนี้ได้ผลดี นาย มาวันเกือง ในหมู่บ้าน หน่าทอย ตำบล กวางถ่วน อำเภอ แบกทงได้เผยว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวส้มเขียวหวาน ชาวบ้านรู้สึกมีความปลื้มปิติยินดีและมีความภาคภูมิใจมากเพราะบ้านเกิดมีไม้ผลที่ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในหมู่บ้านบรรลุกว่า 20 ล้านด่งต่อปี นอกจากทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์แล้ว การปลูกส้มเช้งและส้มเขียวหวานก็ช่วยทำให้ชีวิตของชาวบ้านดีขึ้น”
ตำบลกวางถ่วน อำเภอแบกทงมีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานกว่า 400 เฮกต้าร์ คิดเป็นกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานของทั้งจังหวัด นาย กาวซวนหลาง นายกสมาคมเกษตรกรตำบล กวางถ่วนได้เผยว่า ปีนี้ ปริมาณผลผลิตส้มเขียวหวานของตำบลกวางถ่วนบรรลุประมาณ 3 พันตัน รวมมูลค่า 3 หมื่น 2 พันล้านด่ง ชาวบ้านที่นี่ตระหนักได้ว่า ส้มเช้งและส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลหลักในการผลิตเกษตรของท้องถิ่น ดังนั้นหลายครอบครัวจึงเน้นดูแลไม้ผลนี้เป็นพิเศษเพื่อเพิ่มผลผลิต ค้ำประกันคุณภาพและชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์ นาย กาวซวนหลางได้เผยว่าปีนี้เป็นปีที่ครอบครัวต่างๆในตำบลกวางถ่วนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากเกี่ยวกับแนวคิดการผลิตเกษตรโดยเน้นถึงการสร้างสรรค์และขยายรูปแบบการปลูกส้มเช้งและส้มเขียวหวานที่มีคุณภาพสูงหลายๆครอบครัวยืนยันว่า ส้มเขียวหวานคือไม้ผลที่ช่วยแก้ปัญหาความยากจน จนถึงปัจจุบัน ครอบครัวร้อยละ 95 ต่างมีสวนไม้ผลโดยเฉลี่ยเครอบครัวจะปลูกส้มเขียวหวานประมาณ 1.2 เฮกต้าร์ มีครอบครัวที่สร้างรายได้จากการปลูกไม้ผลนี้ตั้งแต่ 500-600 ล้านด่งต่อปี รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรบรรลุ 21 ล้านด่งซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเที่ยบกับปีที่แล้ว”
ในหลายปีที่ผ่านมา การปลูกส้มเขียวหวานได้ช่วยให้เกษตรกรจังหวัดบั๊กก่านแก้ปัญหาความยากจนและมีบางครอบครัวที่ได้หลุดพ้นจากความยากจน นาย ดั่งวันเซิน รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดบั๊กก่านได้เผยว่า สำหรับการพัฒนาการเกษตรและป่าไม้ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืช จังหวัดได้ตระหนักว่า ส้มเช้งและส้มเขียวหวานคือไม้ผลนำหน้า โดยเฉพาะในการแก้ปัญหาความยากจน ดังนั้น จังหวัดบั๊กก่านได้ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจากการเพาะปลูก การพัฒนาพันธุ์ไปจนถึงการดูแล ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานในจังหวัดบั๊กก่านได้เพิ่มขึ้น 200 เท่าสำหรับการรักษาชื่อเสียงของส้มเขียวหวานจังหวัดบั๊กก่านคือต้องบริหารพันธุ์พืชและต้องตระหนักให้ดีว่า พันธุ์ไหนดีเพื่อนำไปขยายพันธุ์ แนะนำเทคนิกการปลูก การรักษาเครื่องหมายการค้าอย่างเข้มงวด การบริหารปริมาณและคุณภาพ จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ปลูกส้มและส้มเขียวหวานของจังหวัดอยู่ที่กว่า 1500 เฮกต้าร์และพื้นที่ประมาณ 1 พันเฮกต้าร์ได้เก็บเกี่ยวแล้วซึ่งผลผลิตบรรลุกว่า 10 ตันต่อเฮกต้าร์ สร้างรายได้ประมาณ 300 ล้านด่งซึ่งเป็นรายได้ที่สูงจึงได้รับการสนับสนุนและการลงทุนพัฒนาพันธุ์พืชจากประชาชน”
ปัจจุบัน ส้มเช้งและส้มเขียวหวานได้กลายเป็นไม้ผลหลักในโครงการวางแผนพันธุ์พืชหลักในการผลิตเกษตรจังหวัดบั๊กก่านซึ่งสามารถพัฒนาให้กลายเป็นพันธุ์พืชที่ชาวบ้านทุกคนสามารถปลูกได้ นี่คือแนวทางที่อาจนำประสิทธิภาพที่เป็นรูปธรรมมาให้ช่วยให้ชาวบ้านในจังหวัดเขตเขาบั๊กก่านสามารถแก้ปัญหาความยากจน มีชีวิตที่มั่นคงและประสบความสำเร็จในการสร้างฐานะ./.

Komentar