รูปแบบความสำเร็จของบรรดาเกษตรกรที่เป็นเศรษฐีในเขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือ

Chia sẻ
(VOVWORLD) -หลังการปฏิบัติมติที่ 26 เป็นเวลา 1 ทศวรรษ การประชุมครั้งที่ 7 คณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 10 เกี่ยวกับการเกษตร เกษตรกรและชนบท เศรษฐกิจในเขตชนบทของจังหวัดเซินลาได้มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด ช่วยให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากความยากจนและสร้างฐานะที่มั่นคงในหมู่บ้าน โดยเกษตรกรหลายคนได้แสวงหาและส่งเสริมจุดแข็งเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรจนกลายเป็นเศษฐีในเขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือ
 
 
รูปแบบความสำเร็จของบรรดาเกษตรกรที่เป็นเศรษฐีในเขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือ - ảnh 1เซินลาเป็นท้องถิ่นที่มีพื้นที่ปลูกผลไม้มากที่สุดในภาคเหนือของเวียดนาม

            “ นี่คือท่อส่งน้ำที่รดน้ำให้แก่สวนนี้เป็นระบบรดน้ำอัตโนมัติที่เราใช้น้ำจากลำธารที่อยู่ห่างจากสวนของเรา 1 ก.ม เพื่อรดน้ำให้แก่ต้นพลัม ช่วยให้ลูกพลัมโต กรอบและหวานอร่อยมาก”

ในการนำต้นพลัม มะม่วงและลำไยมาปลูกในเขตเขานั้น ครอบครัวนาย วีวันเหวียด ชนกลุ่มน้อยเผ่าซิงมุน ในหมู่บ้านบอนข่ำ ตำบลเฟียงขว่าย อำเภอเอียนโจว จังหวัดเซินลาได้ศึกษาหาความรู้และลงทุนก่อสร้างระบบรดน้ำอัตโนมัติให้แก่สวนพลัม โดยเฉพาะสวนพลัมที่สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วกว่าปรกติในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ นาย วีวันเหวียน เผยว่า

“เมื่อก่อน ผมปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังเป็นหลักแต่ได้กำไรน้อย หลังจากไปศึกษาเรียนรู้การปลูกพลัมที่มีประสิทธิภาพในท้องถิ่นอื่นๆ ผมได้ตัดสินใจปลูกพลัม ถึงแม้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 แต่ผมยังมีรายได้ 200 ล้านด่งต่อปี”

ครอบครัวต่างๆ ในหมู่บ้านบอนข่ำ รวมทั้งครอบครัวนายเหวียดได้ปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังกันมาหลายชั่วอายุคน ในขณะที่ผลไม้ในสวนก็ปล่อยให้โตขึ้นแบบธรรมชาติทำให้ได้ผลผลิตไม่มากนัก แต่หลังจากที่หมู่บ้านรณรงค์ให้ปรับเปลี่ยนมาปลูกผลไม้ เขาก็ไม่แน่ว่าจะได้ผลเป็นอย่างดี แต่จากความกล้าคิดกล้าทำ เขาได้ปรับผลการผลิตร้อยละ 30 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพผลผลิตสูงและลงทุนเงินนับสิบล้านด่งก่อสร้างระบบรดน้ำอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ลูกพลัมในสวนขายได้ประมาณ 7 หมื่น – 8 หมื่นด่งต่อกิโลกรัม และเฉพาะพื้นที่ปลูกพลัม 1 เฮกตาร์ก็ช่วยให้เขากลายเป็นเศษฐีของหมู่บ้านบอนข่ำ

รูปแบบความสำเร็จของบรรดาเกษตรกรที่เป็นเศรษฐีในเขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือ - ảnh 2เศรษฐีรุ่นใหม่ ฝ่ามวันเยือง

เศรษฐีรุ่นใหม่ ฝ่ามวันเยือง ผู้อำนวยการสหกรณ์ลำไยบ๋าวเยืองในหมู่บ้านจ๋ายโย้ง ตำบล หน่าหงิว อำเภอโซงหมา จังหวัดเซินลา ก็เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ได้ขานรับแนวทางการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชในหมู่บ้าน โดยใช้ศักยภาพจากพื้นที่ปลูกลำไยที่มีมาช้านานในท้องถิ่นแล้วศึกษาหาความรู้พัฒนาลำไยพันธุ์ที่สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วกว่าปรกติกลายเป็นคนแรกที่พัฒนาลำไยชนิดนี้อย่างมีประสิทธิภาพในหมู่บ้านเขตเขาชายแดนแห่งนี้ นาย ฝ่ามวันเยือง กล่าวว่า

“ผมเริ่มปลูกลำไยพันธุ์ภาคใต้เพื่อพัฒนาให้เป็นพันธุ์ที่สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วกว่าปรกติแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ผมได้ตัดสินใจไปภาคใต้ 2 ครั้งเพื่อศึกษาหาความรู้แล้วนำมาประยุกต์แต่หลังจากที่ลำไยออกดอก เราก็ไม่รู้วิธีการดูแลและตัดกิ่ง การปลูกลำไยพันธุ์ที่สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วกว่าปรกติมีความแตกต่างกับชนิดธรรมดา จึงต้องตัดผลที่ออกมากเกินไปทิ้งเพื่อให้ได้ผลผลิตลำไยประมาณ 100 ตันเท่านั้น ซึ่งผลโตอร่อยและขายได้ราคาดีในช่วงต้นฤดู”

หลังการปลูกมาเป็นเวลา 6 ปี พื้นที่ปลูกลำไย 13 เฮกตาร์ของสหกรณ์ที่นาย เยือง เป็นหัวหน้าได้กลายเป็นลำไยพันธุ์ที่สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วกว่าปรกติซึ่งในปีนี้ สามารถขายได้ในราคา 30,000-40,000 ด่งต่อกิโลกรัม สร้างรายได้นับพันล้านด่งให้แก่นายเยืองและสมาชิกสหกรณ์อีกหลายๆคน

นาย เหงียนแถ่งกง รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดเซินลาได้เผยว่า ในท้องถิ่น มีเกษตรกรประมาณร้อยละ 30 ที่ปลูกผลไม้และดอกไม้ ซึ่งมีหลายครอบครัวมีรายได้มากกว่า 200 ล้านด่งต่อปี และบางส่วนมีรายได้นับพันล้านด่งต่อปี

“ในท้องถิ่นของเรา มีหลายครอบครัวที่มีรายได้ตั้งแต่ 200-300 ล้านด่งต่อปีจากการปลูกผลไม้ โดยเฉพาะครอบครัวที่ปลูกน้อยหน่ามีรายได้มากกว่า 1 พันล้านด่ง ซึ่งถือเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติ มีส่วนร่วมต่อการขยายการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สหกรณ์และสถานประกอบการในท้องถิ่น”

ในปี 2022 ในจังหวัดเซินลา มีครอบครัวเกษตรกรกว่า 28,300 ครอบครัวที่ผลิตและประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสร้างงานทำให้แก่แรงงานกว่า 12,000 คน สนับสนุนเงินทุน พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และประสบการณ์ในการผลิตให้แก่ครอบครัวที่ยากจนเพื่อช่วยให้ในแต่ละปี จังหวัดมีครอบครัวหลุดพ้นจากความยากจนเฉลี่ย 1,000 ครอบครัว.

Komentar