รูปแบบการเลี้ยงกุ้งในนาข้าวได้ช่วยให้เกษตรกรก่าเมามีรายได้ที่มั่นคง |
ครอบครัวนาง เหงียนถิเหมิน ในตำบลแค้งถวน อำเภออูมิงห์ มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งในนาข้าวเกือบ 2 เฮกตาร์ เมื่อก่อนเธอทำเกษตรตามรูปแบบเก่า ทำให้มีรายได้ประมาณ 60 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ แต่หลังจากที่ปฏิบัติรูปแบบใหม่ เธอมีรายได้สูงขึ้นคือ 80 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ โดยเฉพาะในปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้กว่า 90 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ นางเหมิน เผยว่า
“ปีนี้ สภาพอากาศดีไม่แปรปรวน ฝนตกเยอะทำให้มีน้ำจืดมากซึ่งช่วยให้ารปลูกข้าวและเพาะเลี้ยงกุ้งในปีนี้ได้ผลดี”
รูปแบบการเลี้ยงกุ้งในนาข้าวได้ขยายผลในอำเภออูมิงห์ตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งถึงขณะนี้ พื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอกว่า 3,000 เฮกตาร์ได้ปฏิบัติรูปแบบนี้ การเพาะปลูกรูปแบบนี้มีความได้เปรียบคือ ไม่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมี นี่เป็นการเพาะเลี้ยงแบบธรรมชาติทำให้ไม่ติดโรค เนื้อกุ้งอร่อยปลอดสารพิษ ทำให้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ทั้งหมดในราคาสูงและมีความยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรมีเพิ่มรายได้เพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่า การเปลี่ยนแปลงใหม่ความคิดและความขยันหมั่นเพียรในการเรียนรู้ได้ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ที่อำเภอก๊ายเนือก การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวได้ช่วยให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นประมาณ 20 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปี นาย มาวันก๊วก ผู้อำนวยการสหกรณ์ให้บริการการเกษตรและสัตว์น้ำเกวี๊ยดเตี๊ยน ตำบลแถงฟู้ อำเภอก๊ายเนื้อก กล่าวว่า
“เราเน้นฝึกอบรมเทคนิคการปลูกข้าวแบบใหม่และการเพาะเลี้ยงกุ้งตามฤดูให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะท่ามกลางสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูน้ำทะเลหนุนจะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในนาข้าว ส่วนฤดูทะเลลดต่ำจะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม”
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวได้ช่วยให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นประมาณ 20 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปี |
อำเภอ เจิ่นวันเถ่ย ในจังหวัดก่าเมาเป็นหนึ่งในท้องถิ่นที่ปฏิบัติรูปแบบการเลี้ยงกุ้งในนาข้าวอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะสหกรณ์ชี้หลึก ซึ่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมปี 2022 องค์กร Control Union ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับการบริหารและตรวจสอบสินค้าอิสระได้มอบใบรับรอง ASC Group ซึ่งเป็นใบรอบรังระดับโลกเกี่ยวกับสัตว์น้ำที่ได้รับเลี้ยงแบบมีความรับผิดชอบและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและค้ำประกันความปลอดภัยในการทำงานให้แก่พื้นที่กว่า 500 เฮกตาร์ที่เลี้ยงกุ้งในนาข้าวของทางสหกรณ์ฯ ซึ่งถือเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้งในนาข้าวแห่งแรกของเวียดนามและของโลกที่ได้รับใบรับรองนี้ ช่วยรับรองกุ้งและข้าวจากพื้นที่ดังกล่าวว่าได้ได้มาตรฐานสำหรับการส่งออกไปยังตลาดต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขเข้มงวด นาย โจว์กงบั่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดก่าเมา เผยว่า
“ในการกำหนดแนวทางถึงปี 2025 ในจังหวัดฯ มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งในนาข้าวร้อยละ 20 บรรลุมาตรฐานสากล รวมทั้งใบรับรองอินทรีย์ EU Organic ใบรับรอง ASC และใบรับรองต่างๆ ถึงปี 2030 จะพัฒนาให้พื้นที่ทั้งหมดในจังหวัดฯ ได้รับใบรับรองระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มคุณค่าของข้าวและกุ้งที่มาจากเขตนี้”
การพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพได้ช่วยให้เกษตรกรในจังหวัดก่าเมาสร้างฐานะที่มั่นคง ในความเป็นจริง ในหลายปีที่ผ่านมา การเลี้ยงกุ้งในนาข้าวได้สร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน และในเวลาที่จะถึง ทางการจังหวัดฯ จะขยายผลรูปแบบนี้ต่อไป เผยแพร่เทคนิกการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและกุ้งกุลาดำในนาข้าวให้นับวันมีเกษตรกรที่มีฐานะที่มั่นคงมากขึ้น.