( VOV ) - ตามโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ระยะปี ๒๐๑๐-๒๐๑๕ ทางจังหวัดบั๊กนิงห์ตั้งเป้าไว้ว่า จะมีตำบลร้อยละ ๕๐ ได้มาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ภายในปี ๒๐๑๕ ซึ่งสูงกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับเป้าหมายของทั้งประเทศ และปัจจุบัน ทางจังหวัดกำลังเร่งปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
|
พัฒนาอาชีดแกะสลักไม้ |
ตำบลด่ายโด่ง อำเภอถ่วนแถ่ง จังหวัดบั๊กนิงห์ทุกวันนี้ได้พัฒนาเป็นตัวเมืองโดยบ้านหลายชั้นที่ก่อสร้างด้วยคอนกรีตผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด ถนนคอนกรีตระหว่างหมู่บ้านกว้าง ๑๔ เมตรได้รับการก่อสร้างขึ้นมาและโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ของตำบลได้รับการอนุรักษ์และซ่อมแซมให้ดูสวยงามขึ้น สิ่งที่น่าสนใจคือ ที่นี่ได้พัฒนาการผลิตและอาชีพหัตถกรรม มีการวางผังที่ดิน ก่อสร้างระบบคมนาคมและชลประทาน ซึ่งครอบครัวของคุณเหงวียนถิ่ญี หมู่ ๘ ตำบลด่ายโด่งเป็นตัวอย่างในการได้รับประโยชน์จากการวางผังที่ดิน โดยสามารถรวมพื้นที่นาแปลงเล็กทั้งหมด ๘ แปลงที่อยู่กระจัดกระจายมาเป็น ๓ ผืนใหญ่ คุณญีเผยว่า “ ทางตำบลได้ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างดีในทุกด้าน ชาวบ้านได้เข้าใจและชวนกันทำมาหากินพัฒนาการผลิต ปัจจุบัน ทุกบ้านได้รับการก่อสร้างสวยงามขึ้น ถนนหนทางก่อสร้างด้วยคอนกรีต ดังนั้นการสัญจรไปมาจึงสะดวกสบาย ”
|
พัฒนาอาชัพหล่อทองแดง |
จากการดำเนินโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในตำบลทั้งหมด ๑๐๐ แห่งของจังหวัดบั๊กนิงห์นั้นผลปรากฎว่า ตำบลเกือบทุกแห่งได้มาตรฐานตั้งแต่ ๕ ถึง ๑๘ ข้อ รายได้ต่อหัวประชากรอยู่ที่ ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการประกอบอาชีพพื้นเมืองในหมู่บ้านศิลปาชีพ นิคมอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเพาะปลูกและเสี้ยงสัตว์ นายเหงวียนวันซวนเกษตรจังหวัดและกรรมการคณะกรรมการปฏิบัติการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของจังหวัดเผยว่า ทางจังหวัดยืนหยัดในเป้าหมายสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในทุกด้านอย่างยั่งยืน การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและชีวิตทางวัตถุของชาวบ้านจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ทางจังหวัดจะวางแผนผังพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพ หมู่บ้านศิลปาชีพผลิตแบบอุตสาหกรรมและหัตถกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งดำเนินพร้อมๆกับการวางผังเมืองสร้างสรรค์ชนบทใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรและการสร้างงานให้แก่แรงงานชนบท การสร้างนิคมอุตสาหกรรมเพื่อดึงดูดผู้ประกอบการขนาดกลางเข้ามาลงทุน นายเหงวียนวันเซวียนเผยว่า “ ภายในปี ๒๐๑๕ จะมีตำบล ๕๐ แห่งหรือคิดเป็นร้อยละ ๕๐ และภายในปี ๒๐๒๐ จะต้องมีตำบลร้อยละ ๘๐ ได้มาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ จังหวัดบั๊กนิงห์ตั้งอยู่ในเขตที่ราบที่มีพื้นฐานทางวัตถุและเศรษฐกิจพัฒนา หลายปีที่ผ่านมาทางจังหวัดได้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดี ตามแผนผังใหม่และเป้าหมายนั้นเราต้องมีการปรับปรุงให้สมบูรณ์มากขึ้น ”
|
พัฒนาอาชีพเขียนภาพพื้นเมือง |
ส่วนนายเจิ่นวันตุ๊ยประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดบั๊กนิงห์และหัวหน้าคณะกรรมการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เผยว่า ทางจังหวัดเน้นพัฒนาศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นในการผลิตผลิตภัณฑ์พื้นเมือง หน่วยงานการผลิตที่ใช้วัตถุดิบในท้องที่ หน่วยงานศิลปะหัตถกรรม การผลิตอาหารเพื่อสร้างงานทำและเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน โดยตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี ๒๐๑๕ ตำบลทุกแห่งจะเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และภายในปี ๒๐๒๐ จะพัฒนาเป็น ๓๐๐ แห่ง ให้ความสนใจต่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์อาชีพพื้นเมืองที่ใกล้จะสูญหายไป พร้อมกันนั้นก็วางแผนพัฒนาอาชีพพื้นเมืองใหม่ๆในเขตที่ทำการเกษตรล้วนๆ โดยตั้งเป้าไว้ว่า อย่างน้อยหนึ่งตำบลมีหนึ่งผลิตภัณฑ์
|
พัฒนาอาชีพการทำเว้นเส้น |
จากเงื่อนไขที่อำนวยในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานทางวัตถุ โครงสร้างพื้นฐานเช่น ไฟฟ้า ถนนหนทาง โรงเรียน สถานีอนามัยพร้อมด้วยงบประมาณที่พร้อม จังหวัดบั๊กนิงห์จะสามารถได้มาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ๑๙ ข้อก่อนกำหนดอย่างแน่นอน ./.