( VOVworld ) - ตำบลลาบั่งเป็นหนึ่งในตำบล ๗ แห่งของอำเภอด่ายตื่อ จังหวัดท้ายเงวียนที่ปฏิบัติโครงการพัฒนาชนบทใหม่เป็นการนำร่อง โดยทางการอำเภอได้เน้นพัฒนาเศรษฐกิจสหกรณ์และเพิ่มมูลค่าจากผลิตภัณฑ์ชาจนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าชื่นชม โดยบรรลุมาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เกือบทุกมาตรฐาน อีกทั้งรายได้ของชาวบ้านก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย
|
ชาวบ้านยกเลิกการปลูกชาแบบรายย่อย |
ตำบลลาบั่งตั้งอยู่ในเขตเขาตอนบน อาชีพหลักของชาวบ้านคือปลูกชา แต่หลายปีที่ผ่านมา ชาของตำบลยังไม่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้และผลผลิตต่ำ ทำให้ชาวบ้านมีความยากจนและต้องไปทำมาหากินในต่างถิ่น นับตั้งแต่ได้เลือกเป็นตำบลนำร่องในการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ทางการตำบลได้เน้นพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและเพิ่มรายได้ โดยได้จัดตั้งสหกรณ์ผลิตชา จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตชาปลอดสารพิษ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อผลิตชาคุณภาพสูง การเปลี่ยนแปลงพันธุ์ชาตลอดจนการหาตลาดรองรับ ทั้งนี้ทำให้ชาของตำบลมีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้นจึงขายได้ราคาดี โดยเมื่อก่อนนี้ ยอดชาอบแห้งราคาสูงสุดคือ ๑ แสน ๕ หมื่นด่งต่อกก. แต่ปัจจุบันขายได้ในราคาสูงถึง ๘ แสนด่งต่อกก. ทำให้ครัวเรือนที่ปลูกชาในพื้นที่ ๑ เฮ็ตาร์จะมีรายได้ตั้งแต่ ๓๐๐ – ๔๐๐ ล้านด่งต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้น ๔ เท่าเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ คุณดั่งถิ่เหวี่ยน ชาวตำบลลาบั่งเผยว่า “ พวกเราได้เข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการปลูกและดูแลชา และได้นำความรู้ที่อบรมไปใช้ในการปลูกและผลิตชาซึ่งก็ได้ผลดี ขายได้ราคาสูง ทำมาค้าขึ้นจนมีเงินสร้างบ้านและซื้อเครื่องใช้สอยต่างๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าและเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งมีเงินส่งเสียให้ลูกเรียน การปลูกชาส่งผลให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากความยากจนและมีฐานะทางการเงินที่ดี ”
|
การเก็บชา |
ที่ตำบลลาบั่งมีหมู่บ้านผลิตชาพื้นเมือง ๑๐ แห่ง ชาวบ้านได้ยกเลิกการผลิตแบบรายย่อยและหันมาทำการผลิตชาที่ให้คุณภาพสูง ประชากรของหมู่บ้านมีทั้งหมด ๓,๘๐๐ คน ซึ่งแรงงานร้อยละ ๗๐ประกอบอาชีพเกี่ยวกับชา เมื่อปี ๒๐๑๑ รายได้เฉลี่ยนต่อหัวประชากรอยู่ที่ ๒๐ ล้านด่งต่อปี ชาวลาบั่งสนใจการผลิตชาคุณภาพสูง คุณเหงวียนถิ่ห่าย หัวหน้าสหกรณ์ชา ตำบล ลาบั่งเผยว่า “ ชาวบ้านที่ไปทำงานต่างถิ่นไม่ประสบความสำเร็จได้กลับมาลงทุนปลูกและผลิตชา บ้านไหนที่เน้นปลูกชาพื้นเมืองที่มีคุณภาพสูงจะได้กำไรงาม จากความช่วยเหลือของทางการและเน้นการลงทุนมากขึ้นรูปแบบนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ” การปลูกและผลิตชาทำให้รายได้ของชาวบ้านเพิ่มขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาก็พลอยดีขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้สามารถปฏิบัติเป้าหมายต่างๆในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ตามมาตรฐาน ๑๙ ข้อ โดยทางตำบลได้ลงทุนปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นระบบคมนาคม ชลประทาน สถานีอนามัย ตลาดและสถานวัฒนธรรม ทั้งนี้และทั้งนั้นทำให้การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในตำบลลาบั่ง ๒ ปีที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จ โดยได้มาตรฐาน ๑๒ ข้อจากทั้งหมด ๑๙ ข้อ นายเหงวียนซวนนาง เลขาธิการพรรคสาขาตำบล ลาบั่งเผยว่า “ การระดมพลังของชาวบ้านในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาเศรษฐกิจ การมอบที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางคมนาคม บางหมู่บ้าน ชาวบ้านได้สมทบเงินเพื่อก่อสร้างสถานวัฒนธรรม นอกจากนี้ องค์การมวลชนก็ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากผลสำเร็จดังกล่าว ทางตำบลกำหนดจะปฏิบัติมาตรฐานทั้ง ๑๙ ข้อให้เสร็จก่อนปี ๒๐๑๕ ” ส่วนท่านเหงี่ยนถิ่เงวียน รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอด่ายตื่อเห็นว่า ผลสำเร็จของตำบลลาบั่งอันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายถูกทิศทาง โดยพรรคสาขา ทางการและประชาชนร่วมแรงร่วมใจกัน รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับทราบและเข้าใจ เมื่อโครงการเข้าสู่ชีวิตของชาวบ้านและพวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นชาวบ้านก็จะเต็มใจทำทุกอย่าง
|
ดูแลสวนชา |
การรู้จักใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบของท้องถิ่นในการปลูกและผลิตชา การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของตำบลลาบั่งได้เดินถูกทิศทางจนทำให้รายได้ของชาวบ้านนับวันเพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจของตำบลพัฒนาดีขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านมีความมั่นใจในโครงการฯ ทั้งนี้และทั้งนั้นเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สามารถปฏิบัติมาตรฐานที่เหลือเป็นผลสำเร็จ ./.