นาย อาสี ใช้เวลาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติ |
สหกรณ์ผัก ดอกไม้และการท่องเที่ยวเยาวชนในตำบลมังแดน อำเภอกอนโปลง จังหวัดกอนตุม ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2012 ซึ่งถึงขณะนี้มีสถานที่ผลิตผักปลอดสารพิษตามมาตรฐานอินทรีย์ มีการใช้ระบบรดน้ำอัตโนมัติผักและผลไม้ต่างๆ เช่น มะเขือเทศ แครอท พริกหยวก ฟักแม้ว และผักกาดหอม เป็นต้น โดยแต่ละเดือน ทางสหกรณ์มีผลผลิตกว่า 10 ตันเพื่อจำหน่าย
เช่นเดียวกับประชาชนในอำเภอกอนโปลง ชาวบ้านที่อำเภออื่นๆ เช่น ตูเมอนง และดั๊ก เกล สามารถขยายพันธุ์ต้นกาแฟและโสม โดยเฉพาะโสม หงอกลิงห์ ที่มีชื่อเสียงเพื่อสร้างฐานะ นาย อาสี ในหมู่บ้าน วางฮรา ตำบลดั๊กอุย อำเภอดั๊กห่า ได้ใช้เวลาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติ เพื่อประหยัดต้นทุนผลิตและเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้ง
“ ผมรับจ้างติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติ ผมก็เห็นว่าระบบนี้ช่วยประหยัดทั้งแรงงานและน้ำ ดังนั้น เมื่อได้ศึกษาวิธีการผลิตที่ดี เราก็อยากประยุกต์ใช้ในสวนของเรา ทำให้ไม่ต้องกังวลปัญหาภัยแล้งอีก”
การที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมชั้นเรียนฝึกอาชีพ การถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การได้ทำงานในสหกรณ์และฟาร์มเกษตรถือเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่แรงงานชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ในจังหวัดกอนตุมให้สามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในหมู่บ้าน ที่จังหวัดกอนตุม ได้มีการก่อตั้งรูปแบบการเลี้ยงสุกรปลอดสารพิษอย่างยั่งยืน โดยมีสมาชิกชนกลุ่มน้อยยารายและไทในตำบลยา เซีย อำเภอซาไถ่ และรูปแบบการพัฒนาการปลูกสมุนไพรที่ตำบลเตซัง ตำบลมังรี อำเภอตูเมอนงอีกด้วย นาย อาต๋าว ชนกลุ่มน้อยเผ่า เซอดัง สมาชิกของสหกรณ์ผลิตสมุนไพร ตูเมอนง เผยว่า
“เรากันคนละที่จึงต้องประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ซึ่งหัวหน้ากลุ่มจะแนะนำภารกิจที่ต้องทำในสัปดาห์นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงการเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกเพื่อการสนับสนุนกัน”
สมาชิกในสหกรณ์ต่างๆ ในจังหวัดกอนตุมเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ถึงร้อยละ 17 |
ในปี 2022 จังหวัดกอนตุมมีสหกรณ์ก่อตั้งใหม่ 48 แห่ง ทำให้ยอดจำนวนสหกรณ์ในจังหวัดฯ เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 230 แห่ง สิ่งที่น่ายินดีคือ สมาชิกในสหกรณ์เหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ถึงร้อยละ 17 ซึ่งมีส่วนร่วมสำคัญในการปฏิบัติโครงการ OCOP ของท้องถิ่น ถึงขณะนี้ จังหวัดกอนตุมมีผลิตภัณฑ์ OCOP ระดับตั้งแต่ 3-5 ดาวรวม 157 รายการ นาย บุ่ยยวีจุง รองประธานแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามสาขาจังหวัดกอนตุม เผยว่า
“ชนกลุ่มน้อยหลายคนมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด คืออยากหลุดพ้นจากความยากจน จึงเดินหน้าสร้างฐานะให้มั่นคง พร้อมทั้งเปลี่ยนวิธีการผลิต คือจากการผลิตเพื่อใช้เองมาเป็นการผลิตในเชิงพาณิชย์เข้าร่วมการฝึกอบรมการทำเกษตรและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตและเลี้ยงปศุสัตว์”
การใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตได้ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ในจังหวัดกอนตุมดีขึ้น ซึ่งในอำเภอที่ยากจนต่างๆ ของชนกลุ่มน้อย เช่น กอนโปลง ตูเมอนงและดั๊กเกล นับวันมีเศรษฐีที่ร่ำรวยจากการเลี้ยงปศุสัตว์ การปลูกสมุนไพรและกาแฟ มากขึ้น ส่วนอัตราครอบครัวที่ยากจนในอำเภอเหล่านี้ในปี 2022 ก็ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 8 ซึ่งมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนที่ทางการจังหวัดกอนตุมได้วางไว้ นี่ถือเป็นพลังขับเคลื่อนให้ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ในจังหวัดกอนตุมขยายรูปแบบการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสร้างก้าวกระโดดในการผลิตเกษตรมากขึ้น.