การฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในเขตชนบทของจังหวัดเอียนบ๊าย

Đinh Tuấn-Tô Tuấn
Chia sẻ
(VOVworld) - การฝึกสอนอาชีพให้แก่เกษตรกรคือปัจจัยสำคัญเพื่อตอบสนองกระบวนการสร้างสรรค์ ชนบทใหม่ที่กำลังได้รับการปฏิบัติในเวียดนาม ถึงแม้จะเป็นจังหวัดในเขตเขาภาคเหนือเวียดนามที่กำลังประสบอุปสรรคมากมายแต่ ทางการจังหวัดเอียนบ๊ายก็ได้ให้ความสำคัญต่อการฝึกสอนอาชีพและสร้างงานทำให้ แก่แรงงานหลังการฝึกสอนอาชีพ
(VOVworld) - การฝึกสอนอาชีพให้แก่เกษตรกรคือปัจจัยสำคัญเพื่อตอบสนองกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่กำลังได้รับการปฏิบัติในเวียดนาม ถึงแม้จะเป็นจังหวัดในเขตเขาภาคเหนือเวียดนามที่กำลังประสบอุปสรรคมากมายแต่ทางการจังหวัดเอียนบ๊ายก็ได้ให้ความสำคัญต่อการฝึกสอนอาชีพและสร้างงานทำให้แก่แรงงานหลังการฝึกสอนอาชีพ
 การฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในเขตชนบทของจังหวัดเอียนบ๊าย - ảnh 1
ถึงแม้จะเป็นจังหวัดในเขตเขาภาคเหนือเวียดนามแต่ทางการจังหวัดเอียนบ๊ายก็ได้ให้ความสำคัญต่อการฝึกสอนอาชีพ

นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ “ฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในเขตชนบทช่วงปี 2010-2020 โดยมีเป้าหมายคือฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานประมาณ 1 ล้านคนในเขตชนบท รวมทั้งฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ข้าราชการระดับตำบล 1 แสนคน จากสถานการณ์ที่เป็นจริงปรากฏว่า การปฏิบัติการฝึกสอนอาชีพควบคู่กับโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเวลาที่ผ่านมาได้เกิดประสิทธิผลในเบื้องต้น โดยเฉพาะในจังหวัดเขตเขาและเขตทุรกันดาร ในตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จังหวัดเอียนบ๊ายได้ฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานกว่า 1 หมื่น 8 พัน 5 ร้อยคน รวมทั้งแรงงานของครอบครัวยากจนคิดเป็นร้อยละ 32.5 สถาบันสอนอาชีพได้จัดการฝึกสอนอาชีพขั้นพื้นฐาน 39 อาชีพ เช่น การเพาะเลี้ยง แปรรูปสัตว์น้ำ พันธุ์พืช สัตวแพทย์ การทอผ้าพื้นเมือง การปลูกผักปลอดสารพิษ การเย็บผ้าอุตสาหกรรม การก่อสร้างและการเชื่อมโลหะ การเลือกอาชีพเพื่อฝึกสอนอาศัยพื้นฐานความต้องการจากสถานการณ์ที่เป็นจริง การพยากรณ์ความต้องการด้านฝีมือแรงงานและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน ผ่านการฝึกสอนอาชีพ หลายครอบครัวได้มีชีวิตที่มั่นคง แรงงานมีงานทำ มีส่วนร่วมต่อการผลักดันการผลิตและพัฒนาฐานะทางเศรฐกิจของครอบครัว พร้อมทั้งเพิ่มรายได้ ลดความยากจนอย่างยั่งยืน นาย เหลื่องวันออน ในตำบลเหงียนโหลย ตัวเมือง เหงียโหล่ได้เผยว่าเมื่อก่อน พวกเราประกอบอาชีพเกษตกรรม หลังจากได้รับการฝึกสอนอาชีพก่อสร้าง พวกเราได้ประกอบอาชีพนี้จึงช่วยลดอุปสรรค์ รายได้เฉลี่ยบรรลุ 1 แสน 7 หมื่นด่งถึง1แสน8หมื่นด่งต่อวัน ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
ขณะนี้ แถวขบวนครูอาจารย์ฝึกสอนอาชีพในจังหวัดเอียนบ๊ายได้รับการส่งเสริมทั้งด้านปริมาณและคุณภาพโดยมีครูอาจารย์เกือบ 300 คนที่กำลังฝึกสอนอาชีพตามสถาบันสอนอาชีพ 29 แห่ง นอกจากนั้น สถาบันสอนอาชีพยังคงดึงดูดเจ้าหน้าที่และกรรมกรที่มีฝีอมือดีจากสำนักงานและสถานประกอบการเข้าร่วมการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานควบคู่กับการฝึกสอนอาชีพตามความต้องการแล้ว ทางจังหวัดและสถาบันสอนอาชีพต่างๆยังให้ความสนใจถึงการสร้างสรรค์และพัฒนาโครงการที่เป็นตัวอย่าง 47 โครงการ เช่นรูปแบบเทคนิคการปลูกข้าว การเลี้ยงไหม การปลูกไผ่ บ๊าดโดะที่เจิ๊นเอียน การแปรรูปชา การเพาะเห็ดในวันเจิ๊นและการแปรรูปลูกซานจาในหมู่กังฉาย เป็นต้น แต่ในกระบวนการปฏิบัติโครงการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทยังมีอุปสรรคมากมาย เช่น การประสานงานระหว่างทางการทุกระดับกับสำนักงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการปฏิบัติ นาย หว่างดึ๊กเหวือง ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมจังหวัดเอียนบ๊ายได้เผยว่าเพื่อให้โครงการ 1956 ได้รับการปฏิบัติอย่างกว้างลึกและมีความหมายในกระบวนการแก้ปัญหาความยากจนและสร้างสรรค์ชนบท พวกเราได้เป็นที่ปรึกษาให้แก่จังหวัดให้ความสนใจถึงการค้ำประกันคุณภาพการฝึกสอนอาชีพ ยกระดับอัตราแรงงานที่มีงานทำหลังการฝึกอาชีพ ผลักดันการประชาสัมพันธ์ ยกระดับจิตสำนึก ความรับผิดชอบของหน่วยงานทุกระดับและประชาชนในการปฏิบัติโครงการ 1956 เพิ่มเงินทุนและอุปกรณ์ให้แก่สถานที่ฝึกสอนอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและแรงงาน ปฏิบัติการลงนามสัญญาสามฝ่ายระหว่างหน่วยงานที่สั่งจัดการฝึกสอนอาชีพ สถานประกอบการและสถานที่ฝึกสอนอาชีพเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของโครงการ

 การฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในเขตชนบทของจังหวัดเอียนบ๊าย - ảnh 2
ในตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จังหวัดเอียนบ๊ายได้ฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานกว่า 1 หมื่น 8 พัน 5 ร้อยคน

ตามรายงานสถิติ ปัจจุบัน อัตราแรงงานที่มีงานทำหลังการฝึกสอนอาชีพในพื้นที่จังหวัดเอียนบ๊ายบรรลุประมาณร้อยละ 65 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าชื่นชมสำหรับท้องถิ่นในเขตเขาที่ยังคงประสบอุปสรรคนานัปการ
การฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทเป็นกระบวนการที่มีความหมายทางสังคมอย่างลึกซึ้งจึงได้รับความเห็นพ้องเป็นอักฉันท์จากประชาชนโดยงานด้านการฝึกสอนอาชีพให้แก่เกษตรกรในจังหวัดเอียนบ๊ายไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาความยากจนเท่านั้น หากยังสร้างพลังขับเคลื่อนเพื่อผลักดันกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ สร้างแหล่งบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ มีทักษะการผลิตและสามารถปรับตัวเข้ากับกระแสความต้องการพัฒนาของหน่วนงานเกษตรที่ทันสมัยอีกด้วย./.

Komentar