ชาวมุสลิมอิรักเดินขบวนคัดค้านเหตุเผาคัมภีร์อัลกุรอานบริเวณด้านหน้าสถานทูตสวีเดน ณ เมือง Nassiriyah เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน (Photo: AFP/TTXVN) |
บรรดาประเทศอิสลามได้ประณามเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งเรียกร้องให้สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติชี้แจงเหตุการณ์ดังกล่าว
รัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถานได้ย้ำว่า นี่เป็นการกระทำที่ยุยงปลุกปั่นสร้างความเกลียดชังทางศาสนา การเลือกปฏิบัติและการใช้ความรุนแรงแต่กลับไม่ถูกคว่ำบาตร พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ พิจารณาช่องว่างของกฎหมายที่ขัดขวางการป้องกันและลงโทษการกระทำที่สร้างความเกลียดชังทางศาสนา บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและอินโดนีเซียยังเห็นว่า นี่เป็นการกระทำที่ต่อต้านอิสลามและเรียกร้องให้ยุติการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่เกินขอบเขต ส่วนนาย Volker Turk ผู้อำนวยการสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยืนยันว่า การกระทำที่ยั่วยุและต่อต้านชาวมุสลิม หรือศาสนาอื่นๆและชนกลุ่มน้อยเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ขาดความรับผิดชอบและไม่ถูกต้อง
ส่วนเอกอัครราชทูตเยอรมนีได้ประณามและเรียกเหตุเผาคัมภีร์อัลกุรอานว่าเป็นการกระทำที่ยั่วยุ ส่วนทูตพิเศษของฝรั่งเศสเห็นว่า สิทธิมนุษยชนคือการปกป้องมนุษย์ ไม่ใช่ศาสนาและสัญลักษณ์ของพวกเขา คาดว่า การประชุมจะจัดการลงคะแนนเพื่ออนุมัติข้อสรุป.