รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เหงวียนแหม่งหุ่ง (quochoi.vn) |
นอกจากกลุ่มปัญหาต่างๆ เช่น มาตรการเพื่อยกระดับคุณภาพของกิจกรรมด้านสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน การบริหารจัดการโฆษณาผ่านสื่อสารมวลชน โลกไซเบอร์ การลงทุน การพัฒนาและการยกระดับคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญและพื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยยังได้รับความสนใจจากผู้แทนสภาแห่งชาติ สำหรับมาตรการให้คลื่นความถี่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลความเจริญและการแก้ไขปัญหาด้านคลื่นความถี่ รัฐมนตรี เหงวียนแหม่งหุ่ง ได้ยืนยันว่า
“ด้านโทรคมนาคมกำลังย่างเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ครั้งที่ 2 เลขาธิการใหญ่พรรค โตเลิม ได้ย้ำว่า โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเป็นโครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสาตร์ที่ต้องลงทุนก่อนเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมดิจิทัล ในเวลาที่ผ่านมา กระทรวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้เสนอให้ประกาศใช้ยุทธศาสตร์ แผนการ กำหนดเนื้อหาและข้อกำหนดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศอย่างชัดเจน โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงการยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในเขต พื้นที่ห่างไกลความเจริญและพื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัย ขณะนี้ เรากำลังเสนอให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอัปเกรดเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการออนไลน์ได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันเวียดนามยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลในชุมชนเกือบ 100,000 กลุ่มที่ครอบคลุมทุกซอกทุกซอย และช่วยเหลือทุกคนได้ เราจะมอบหมายหน้าที่ให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน”
สำหรับการบริหารจัดการเครือข่ายโซเชียลเพื่อต่อต้านข่าวปลอมและข่าวเท็จ รัฐมนตรี เหงวียนแหม่งหุ่ง ยืนยันว่า นี่เป็นปัญหาไม่เพียงแต่ในเวียดนามเท่านั้น หากยังเป็นปัญหาในทั่วโลกอีกด้วย ปัจจุบัน กระทรวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้จัดตั้งและดำเนินการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งชาติ และในท้องถิ่นต่างๆก็ได้จัดตั้งศูนย์ฯดังกล่าวด้วย ในเวลาอันใกล้นี้ จะยังคงส่งเสริมการตรวจสอบการโฆษณาที่มีเนื้อหาที่ละเมิดกฎหมายอย่างเข้มงวด
เช้าวันเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ด่าวห่งลาน ยังได้ตอบกระทู้ถามเกี่ยวกับปัญหาด้านสาธารณสุข ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน รัฐมนตรี ด่าวห่งลาน ได้ตอบกระทู้ถามเกี่ยวกับมาตรการเพื่อระดมการเข้าร่วมของประชาคมระหว่างประเทศในการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขหลังภัยพิบัติ โดยเผยว่า ในสภาวการณ์ที่งบประมาณแผ่นดินและแหล่งบุคลากรมีจำกัด กระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเพื่อระดมการเข้าร่วมขององค์กรระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหานี้ โดยทุกปี กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานงานกับกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท กระทรวง สำนักงานและหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดการฝึกซ้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินระดับภูมิภาคเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดโดยศูนย์ประสานงานการให้ความ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน.