ญี่ปุ่นถือเวียดนามเป็นหุ้นส่วนสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Chia sẻ
(VOVWORLD) -  ตามคำเชิญของนาย ฟูมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น นาย ฝ่ามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 8  - 10 พฤษภาคม

ญี่ปุ่นถือเวียดนามเป็นหุ้นส่วนสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ảnh 1นาย ฝ่ามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามและนาย ชินโซ  อาเบะ นายกรัฐมนตรีฐี่ปุ่น 

นาย ฝ่ามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้เป็นประธานร่วมในการประชุมครั้งที่ 9 คณะกรรมการร่วมมือเวียดนาม-ญี่ปุ่นและเจรจากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ในกรอบการเยือนประเทศญี่ปุ่น นาย ฝ่ามบิ่งมิงได้พบปะกับนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ นาย โอชิมา ทาดาโมริ ประธานสภาล่างและนาย Kitaoka Shinichiประธานสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น โดยนาย ฝ่ามบิ่งมิงได้แสดงความยินดีต่อการพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในด้านต่างๆและความไว้วางใจทางการเมืองในระดับสูงระหว่าง 2 ประเทศ ส่วนผู้นำญี่ปุ่นได้ยืนยันว่า ญี่ปุ่นถือเวียดนามเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจะสนับสนุนเวียดนามพัฒนาเศรษฐกิจ

ส่วนในการประชุมครั้งที่ 9 คณะกรรมการร่วมมือเวียดนาม-ญี่ปุ่น ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือถึงมาตรการส่งเสริมการปฏิบัติข้อตกลงระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศและเตรียมให้แก่การเยือนประเทศญี่ปุ่นของนาย เหงวียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม รวมทั้งเห็นพ้องกันว่า จะธำรงการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนระดับสูง โดยเฉพาะในโอกาสรำลึกครบรอบ 45ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2018

ส่วนในการเจรจาระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือถึงปัญหาต่างๆในภูมิภาคและโลกที่ให้ความสนใจร่วมกัน เห็นพ้องที่จะผลักดันการประสานงานในฟอรั่มระหว่างประเทศ เช่น การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก อาเซียน อาเซมและสหประชาชาติ  นาย ฝ่ามบิ่งมิงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นสนับสนุนเวียดนามสมัครเข้าเป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021  การสมัครตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกวาระปี 2017 – 2021

สำหรับปัญหาทะเลตะวันออก ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาสันติภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือและการบินอย่างเสรี ซึ่งฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องไม่มีปฏิบัติการทางทหารที่สร้างความตึงเครียดและเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมในทะเลตะวันออก ผลักดันการแก้ไขปัญหาการพิพาทด้วยสันติวิธี ให้ความเคารพกระบวนการทางการทูตและกฎหมาย ไม่ใช้หรือข่มขู่ที่จะใช้กำลัง ปฏิบัติตามกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 แถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีและมุ่งสู่การจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็ว.

Komentar