กรรมกรของบริษัท Telstar เวียดนามในจังหวัดบั๊กยาง (VNA) |
เศรษฐกิจโลกกำลังต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายมากมาย เช่น อัตราเงินเฟ้อในระดับสูงและการเติบโตที่ลดลง นอกจากนั้น เศรษฐกิจใหญ่ๆ ก็เผชิญความเสี่ยงจากภาวะถดถอย ผลกระทบจากสงครามต่าง ๆ ความไร้เสถียรภาพของตลาดการเงิน หนี้สาธารณะ ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อกระแสการลงทุนทั่วโลกและประสิทธิภาพของนโยบายภาษีขั้นต่ำทั่วโลก แต่ในสภาวการณ์ดังกล่าว นักลงทุนต่างชาติ เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลียังคงแสดงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจ ตลอดจนความพยายามในการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและการประกอบธุรกิจของเวียดนาม นาย ฟุรุซาวะ ยาซูยูกิ สมาชิกคณะกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทอิออน (AEON) ประเทศญี่ปุ่นที่รับผิดชอบตลาดเวียดนาม และประธานกรรมการของกลุ่มบริษัทอิออนเวียดนาม เผยว่า
“ขณะนี้ สถานประกอบการกำลังได้รับการสนับสนุนมากมาย สถานประกอบการส่วนใหญ่ได้รับการจัดตั้งในภาคใต้ของเวียดนาม เราไม่เพียงแต่ร่วมมือกับนครโฮจิมินห์เท่านั้น หากยังร่วมมือกับท้องถิ่นหลายแห่ง เช่น ด่งนาย บิ่งเยืองและจังหวัดบ่าเหรียะหวุงเต่าอีกด้วย เรามีความประสงค์ที่จะส่งเสริมแหล่งพลังของท้องถิ่นเหล่านี้ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง”
สถานการณ์ดึงดูดเงินทุน FDI ในเวียดนามกำลังมีการพัฒนาในเชิงบวก โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เงินทุนจดทะเบียนจากต่างประเทศในเวียดนามบรรลุเกือบ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินลงทุนผ่านการสมทบทุนและการซื้อหุ้นบรรลุ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 และจำนวนโครงการจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปัจจุบัน สถานประกอบการต่างประเทศกำลังให้ความสนใจนโยบายการลงทุนของเวียดนามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ในเวลาที่จะถึง เวียดนามจะใช้ระบบภาษีขั้นต่ำทั่วโลก นาย ชอย จู โฮ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท Samsung Vietnam เผยว่า
“เวียดนามมีบทบาทที่สำคัญสำหรับอนาคตของสาธารณรัฐเกาหลี กิจกรรมการลงทุนและประกอบธุรกิจของสถานประกอบการได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเนื่องจากเราสามารถเข้าถึงนโยบายการดึงดูดการลงทุน ตลอดจนได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากรัฐบาลเวียดนาม กระทรวงวางแผนและการลงทุนมีนโยบายผ่อนคลายข้อกำหนดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพยายามจัดทำระบบการบริหารและการให้สิทธิพิเศษด้านภาษีให้สอดคล้องกับความต้องการระหว่างประเทศในปัจจุบัน”
นาย โด๋แถ่งจุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน (vtc.vn) |
เช่นเดียวกับความเห็นดังกล่าว นาย โด๋วันสือ รองอธิบดีกรมการลงทุนต่างประเทศของกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้เผยว่า เวียดนามกำลังแปรนโยบายให้เป็นกฎหมายในปีนี้ โดยเฉพาะเมื่อประกาศใช้กลไกภาษีขั้นต่ำภายในประเทศที่ได้มาตรฐานและนโยบายให้สิทธิพิเศษตามค่าใช้จ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับระบบภาษีขั้นต่ำทั่วโลก
“สาเหตุที่ทำให้ยอดเงินทุน FDI ในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ในเวลาที่จะถึง เวียดนามจะมีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อกระแสเงินลงทุน โดยกำหนดเป้าหมายหลัก 3 ข้อของนโยบายระบบภาษีขั้นต่ำสำหรับเวียดนาม คือ การดึงดูดนักลงทุนที่กำลังลงทุนในปัจจุบัน สร้างจุดสนใจเพื่อดึงดูดนักลงทุนรายใหม่ ค้ำประกันความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันระหว่างสถานประกอบการในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ”
เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงประสิทธิภาพของความร่วมมือด้านการลงทุน เวียดนามได้ส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการลงทุนโครงการที่ใช้แรงงาน พลังงาน ที่ดินและทรัพยากรในระดับที่ไม่มากแต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูง ส่งเสริมการเติบโตแห่งสีเขียว การพัฒนาเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและยั่งยืน นาย โด๋แถ่งจุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้กล่าวว่า เวียดนามจะมีกระแสเงินลงทุนใหม่ถ้าหากมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน
“ด้านใหม่ แนวทางใหม่ วิสัยทัศน์ใหม่ ความคิดใหม่ในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การพัฒนาสีเขียวและการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ช่วยให้เวียดนามปฏิบัติความมุ่งมั่นพัฒนาเจริญรุ่งเรือง ยกระดับความสามารถภายในและความเป็นอิสระของเศรษฐกิจ นี่ยังเป็นโอกาสเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติแสวงหาและขยายตลาดธุรกิจ ผมหวังว่า เวียดนามและนักลงทุนจะร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และสามารถแบ่งปันความยากลำบากและความท้าทายต่างๆ ร่วมกัน”
เพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลได้สั่งให้เดินหน้าปฏิรูปกลไก ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและประกอบธุรกิจ อำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชนสถานประกอบการ รวมถึงนักลงทุนต่างชาติบนเจตนารมณ์ “ร่วมกันแบ่งปันผลประโยชน์และความเสี่ยง” อีกทั้ง สร้างและพัฒนาระบบนิเวศวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีกลไกการบริหารที่คล่องตัว สอดคล้องกับบรรยากาศการประกอบธุรกิจดิจิทัล พัฒนาสถานประกอบการภายในประเทศให้เข้มแข็ง สามารถผสมผสานเข้ากับกระแสโลกเพื่อร่วมทุนและเชื่อมโยงกับภาคการลงทุนจากต่างประเทศ เน้นใช้เทคโนโลยีขั้นสูง บริการที่ทันสมัยและอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ เทคโนโลยีสารสนเทศและบริการทางการเงิน โดยเฉพาะ ส่งเสริมขีดความสามารถภายในและการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของความร่วมมือด้านการลงทุนจากต่างประเทศ นำภาคการลงทุนจากต่างประเทศเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับภาคการลงทุนภายในประเทศเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน.