(VOVWorld)-เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นศูนย์กลางการเกษตรที่สำคัญของเวียดนามและภูมิภาค โดยมีจุดแข็งเกี่ยวกับการผลิตข้าว ผลไม้และสินค้าสัตว์น้ำ เป็นต้น นี่ก็เป็นจุดแข็งเมื่อเวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี นอกจากความได้เปรียบดังกล่าว การผลิตสินค้าการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการแข่งขันเมื่อเวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพี
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นศูนย์กลางการเกษตรที่สำคัญของเวียดนาม
|
ตามสถานการณ์ที่เป็นจริง ภายหลัง๘ปีที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกหรือWTO ในระยะแรก บรรดาสถานประกอบการเวียดนามยังไม่ได้เตรียมความพร้อมอย่างดี ปัจจุบัน เวียดนามได้ย่างเข้าสู่ยุคแห่งการผสมผสานใหม่ โดยเฉพาะ เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีหรือFTAกับประเทศที่พัฒนาต่างๆ ดังนั้น ถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีในกระบวนการผสมผสาน มีความเป็นไปได้ที่บรรดาผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการแข่งขัน นาง ฝ่ามจีลาน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้วิเคราะห์ว่า “ตั้งแต่ปลายปี๒๐๑๕ เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้รับการจัดตั้ง เวียดนามเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับสาธารณรัฐเกาหลี สหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป เวียดนามจะลงนามข้อตกลงเอฟทีเอกับ๕๗ประเทศ สินค้าจากประเทศต่างๆจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี ดังนั้น ต้องพิจารณาว่า เศรษฐกิจเวียดนาม บรรดาผู้ประกอบการและธนาคารจะเผชิญกับแรงกดดันจากการแข่งขันอะไรบ้าง”
สวนผลไม้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
|
สิ่งที่น่าสนใจของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงคือต้องผลักดันการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนแรงงานคนในการผลิตเกษตร ในฟอรั่มหัวข้อ “การจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตรในสภาวการณ์แห่งการผสมผสาน- ประสบการณ์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง”ที่เพิ่งมีขึ้น ณ นครเกิ่นเทอ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเห็นว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกของเวียดนาม โดยเฉพาะ หลังจากที่เวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพี ความท้าทายเกี่ยวกับการแข็งขันในด้านการเกษตรจะเพิ่มมากขึ้น การจำหน่ายสินค้าการเกษตรจะประสบอุปสรรคมากมาย เพราะในขณะที่ประเทศพัฒนาใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตเกษตรและจำนวนเกษตรกรอยู่ในระดับต่ำ ส่วนจำนวนเกษตรกรในเวียดนาม โดยเฉพาะ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ในระดับสูงแต่ขอบเขตการผลิตยังมีจำกัด
เพื่อเศรษฐกิจการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงพัฒนาอย่างมั่นคง ในขณะที่เวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีและการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก ปัญหาที่ให้ความสนใจคือ บรรดาผู้บริหารและนักวางนโยบายต้องปรับปรุงนโยบายการพัฒนาอย่างคล่องตัวเพื่อใช้ความได้เปรียบและเอื้อให้แก่แรงงานในการเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นที่มีจุดแข็งเพื่อการพัฒนา ศาตรจารย์ หวอหุ่งหยุง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้วิเคราะห์ว่า “พวกเรามีความได้เปรียบในการพัฒนาการเกษตรเนื่องจากมีผลผลิตสูงและราคาถูกแต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับวิธีเก่าหากพวกเราต้องใช้ความได้เปรียบดังกล่าว”
ในโอกาสเยือนท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นาย Ted Osiusเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า การลงนามข้อตกลงทีพีพีจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจเวียดนาม โดยเฉพาะ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง จากการเป็นตลาดที่มีอัตราจีดีพีคิดเป็นร้อยละ๔๐ของจีดีพีโลก ข้อตกลงทีพีพีจะสร้างผลประโยชน์มากมายต่อการส่งออกของเวียดนาม มีส่วนร่วมเพิ่มมาตรฐานของผลิตภัณฑ์การส่งออกของเวียดนาม สร้างผลประโยชน์ด้านลีขสิทธิ์ทางปัญญา สิทธิและผลประโยชน์ของแรงงาน
ปัญหาที่ต้องทำคือ ต้องยกระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับความได้เปรียบและความท้าทายเมื่อเวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีและข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศฉบับต่างๆ บนพื้นฐานดังกล่าว ต้องวางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาหน่วยงานการเกษตรในทั่วประเทศ โดยเฉพาะ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนและยาวนานในสภาวการณ์แห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึกในปัจจุบัน.