(VOVworld) – เวียดนามเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรมนุษย์ที่อุดมสมบูรณ์และถูกจัดอยู่ในอันดับสูงๆในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนอยู่เสมอ แต่ในทางเป็นจริง ผลผลิตจากการทำงานยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตในการทำงานจึงเป็นปัญหาที่หน่วยงานทุกระดับให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในขณะที่การรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังใกล้เข้ามา
|
อาชีพหุ่นยนต์เคลื่อนไหวต้องการทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม(Photo:vov) |
ตามข้อมูลที่ระบุในผลงานวิจัยขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไอเอลโอ ปัจจุบัน ผลผลิตจากการทำงานของชาวเวียดนามยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับบางประเทศในภูมิภาค ในโครงสร้างเศรษฐกิจของเวียดนาม มูลค่าเพิ่มของการเกษตรอยู่ในระดับโดยต่ำคิดเป็นร้อยละ๑๘.๔ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีแต่กลับใช้แรงงานถึงร้อยล๔๗ของยอดแรงงานทั้งประเทศ สาเหตุดังกล่าวเนื่องจากการวิจัย ประยุตก์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตยังมีข้อจำกัดและแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมมีเพียงร้อยละ๒๐เท่านั้นซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตจากการทำงานของชาวเวียดนามอยู่ในระดับต่ำ
เพื่อพัฒนาแหล่งทรัพยากรมนุษย์ในทุกด้านอย่างเข้มแข็งจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการและยกระดับประสิทธิภาพในการฝึกสอนอาชีพตามกลไกตลาดโดยเชื่อมโยงกับความต้องการของสังคมพร้อมทั้งมีนโยบายส่งเสริมสถานประกอบการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานและร่วมมือกับสถานฝึกสอนอาชีพต่างๆในการฝึกอบรม นายด่งวันหงอก อธิการบดีวิทยาลัยฝึกสอนอาชีพเครื่องกลไฟฟ้าฮานอยกล่าวว่า“สถานประกอบการต้องร่วมมือกับโรงเรียนอาชีวศึกษาต่างๆหรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ต้องมียุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรมนุษย์ ต้องเลือกโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีความสามารถในการฝึกอบรมและต้องวางโปรแกรมฝึกอบรมที่เหมาะสมสำหรับสถานประกอบการหลายแห่งเพื่อสร้างโอกาสให้แก่นักศึกษาที่เรียนจบมีงานทำมากขึ้น พวกเราจะต้องร่วมมือกับสถานประกอบการในเชิงรุกและสถานประกอบการก็จะต้องร่วมมือกับพวกเราในเชิงรุกเช่นกัน”
นับตั้งแต่ปี๒๐๑๒ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดำเนินโครงการระดับชาติเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการเวียดนามจนถึงปี๒๐๒๐โดยเน้นผลักดันมาตรการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในสถานประกอบการต่างๆ ส่งเสริมและช่วยเหลือสถานประกอบการปรับปรุงเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและทำการวิจัยเพื่อพัฒนา ดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้ลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและอุตสาหกรรมผลิตประกอบ นายเงวียนแองต๊วนหัวหน้าสถาบันผลผลิตแห่งทบวงมาตรฐานการตรวจวัดคุณภาพกล่าวว่า“สำหรับโครงการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเวลาที่ผ่านมา พวกเราได้จัดทำรูปแบบสถานประกอบการที่ดำเนินมาตรการบริหารที่ทันสมัยเป็นการนำร่องประมาณ๒๐๐แห่งเพื่อลดเวลาปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน ลดร่ายจ่าย โดยเฉพาะ ลดการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยซึ่งได้ช่วยเพิ่มผลผลิตในการทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ร้อยละ๑๕ถึงร้อยละ๒๐ พวกเรายังขยายผลรูปแบบนี้ในสถานประกอบการอีก๕๐๐แห่ง”
ผลผลิตในการทำงานของประเทศมีมาจากการรวบรวมผลผลิตในการทำงานของทุกแขนงงานของเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเพิ่มผลผลิตในการทำงานของทั้งเศรษฐกิจ พวกเราต้องเพิ่มผลผลิตของแต่ละภาคเศรษฐกิจ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การก่อสร้างและการบริการ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้มติเกี่ยวกับแผนพัฒนาโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพสูง๔๕แห่งและมีนโยบายลงทุนแขนงงานเป้าหมาย โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมผลิตประกอบ
เพื่อยกระดับคุณภาพของการฝึกอบรมแหล่งทรัพยากรมนุษย์ต้องอำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการภายในประเทศปรับปรุงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมสถานประกอบการลงทุนในพื้นที่ชนบทเพื่อเปลี่ยนแรงงานที่ทำงานในภาคการเกษตรมาทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ผลักดันการพัฒนาการผลิต เพิ่มผลผลิตในภาคการเกษตรโดยเฉพาะ ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมให้มีความสมบูรณ์ และพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนซึ่งถือเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจ เพิ่มผลผลิตจากการทำงานและขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืนและลดช่องว่างของการพัฒนากับประเทศต่างๆ./.