ปลาสวายถูกเลี้ยงเป็นหลักในจังหวัดและนครต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง |
ปลาสวายส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ในจังหวัดอานยาง ด่งทาบ เกิ่นเทอ หวิงลองและเบ๊นแจ ปัจจุบัน ท้องถิ่นต่างๆ กำลังส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เพาะเลี้ยงและใช้มาตรฐานเพื่อสร้างแหล่งสัตว์น้ำที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและการส่งออก ที่นครเกิ่นเทอ ปัจจุบัน มีพื้นที่เพาะเลี้ยงปลาสวายอยู่ที่ประมาณ 700 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิตประมาณ 180,000 ตัน ทางนครฯกำลังส่งเสริมการก่อสร้างพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้มาตรฐาน GlobalGAP มาตรฐาน ASC กระบวนการบริหารทางธุรกิจ (Business Process Management) หรือ BPM และ VietGAP เพื่อจัดสรรแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงให้แก่การแปรรูปสัตว์น้ำ การบริโภคและการส่งออก ตลอดจนเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ นาง เหงยีนถิเหละฮวา รองอธิบดีกรมสัตว์น้ำเกิ่นเทอเผยว่า การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผลิตภัณฑ์ มีความยั่งยืนในระยะยาว แก้ไขปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
“การใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และเศษเหลือในการแปรรูปปลาสวายถือเป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์จากปลาสวาย ช่วยให้ผู้เลี้ยงและแปรรูปมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้ง ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ปลาป่นแทนปลาทะเลในการเพาะเลี้ยงจะช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้เลี้ยง ผลักดันรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในด้านการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปอาหารปลา”
ปลาสวายของเวียดนามถูกเลี้ยงในบ่อดินโดยใช้อาหารอุตสาหกรรม และกระบวนการเลี้ยงได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดตามข้อกำหนดและมาตรฐานการส่งออก มีการติดตั้งอุปกรณ์และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตามสถานที่เพาะเลี้ยงซึ่งตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง สถานประกอบการและผู้เลี้ยงปศุสัตว์ได้ใช้กระบวนการบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงและแปรรูปปลาสวาย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตเพื่อลดต้นทุน ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นาง ฝ่ามถิทูห่ง รองเลขาธิการสมาคมปลาสวายเวียดนาม เผยว่า
“อุตสาหกรรมปลาสวายต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่ยั่งยืน โดยให้ความสนใจถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ การวิจัยและกระบวนการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด”
ผลิตภัณฑ์ปลาสวายของเวียดนามได้จำหน่ายใน 140 ประเทศและดินแดน และกำลังใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเสรีใหม่ๆ ที่เวียดนามเป็นสมาชิก จากความท้าทายและข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นของตลาด สถานประกอบการเวียดนามกำลังส่งเสริมการลงทุนเทคโนโลยีการแปรรูปเศษวัตถุที่เหลือจากการแปรรูปปลาสวายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรม และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเพื่อมีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามความเห็นของ ดร. หวิ่งวันเหี่ยน จากมหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคือเป้าหมายระดับโลกเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การผลิตปลาสวายจึงต้องเน้นถึงคุณภาพพันธุ์ปลา กระบวนการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปเพื่อลดต้นทุนและได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“การผลิตอย่างมีความรับผิดชอบและมุ่งสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกเป็นเรื่องที่เราให้ความสนใจ ปัจจุบัน เวียดนามกำลังจัดทำกระบวนการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนและกำลังเข้าร่วมกระบวนการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต”
สถานประกอบการแปรรูปปลาสวายได้รับการติดตั้งอุปกรณ์และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตามข้อกำหนดและมาตรฐานของตลาดส่งออก |
นาย เจิ่นดิ่งลวน อธิบดีกรมสัตว์น้ำของกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทกล่าวว่า การพัฒนาห่วงโซ่ปลาสวายอย่างยั่งยืนตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนถือเป็นวิธีการเข้าถึงที่ดี เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงตั้งแต่ส่วนกลางจนถึงสถานประกอบการ อีกทั้ง เชื่อมโยงนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยให้เข้าร่วมการวิจัยและปฏิบัติ นาย เจิ่นดิ่งลวน แสดงความเห็นว่า
“ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์กำลังเน้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้เราเพิ่มผลผลิต ประสิทธิภาพ และลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ เรากำลังเน้นวิจัยนำเศษวัตถุดิบที่เหลือจากการแปรรูปมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น นอกจากนี้ เรายังปรับปรุงกระบวนการหลักในการผลิตพันธุ์ปลา การเพาะเลี้ยง การจัดซื้อและการแปรรูป และส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้อุตสาหกรรมสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น”
ในสภาวการณ์ที่เวียดนามกำลังพยายามร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามคำมั่นและแนวโน้มระดับโลกเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปลาสวายมีความเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เวียดนามยังส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่ม วิธีการปฏิบัติที่ดี ส่งเสริมการวิจัยและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงขั้นตอนการผลิตพันธุ์ปลา การเพาะเลี้ยง การจัดซื้อ และการแปรรูป เพื่อเพิ่มผลผลิตและใช้ประโยชน์จากเศษวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุตสาหกรรมปลาสวาย.