ศักยภาพใหม่ของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเวียดนามกับสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป

Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVworld) - เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ข้อตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป หรือ อีเออียูได้เริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายได้พัฒนา อีกทั้งกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้า อำนวยความสะดวกให้แก่การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และดึงดูดการลงทุน

(VOVworld) - เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ข้อตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป หรือ อีเออียูได้เริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายได้พัฒนา อีกทั้งกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้า อำนวยความสะดวกให้แก่การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และดึงดูดการลงทุน

ศักยภาพใหม่ของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเวียดนามกับสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป - ảnh 1
การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับสหภาพเศราฐกิจเอเชีย-ยุโรป

ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิกอีเออียูที่ประกอบด้วยสหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐเบลารุส สาธารณรัฐคาซัคสถาน สาธารณรัฐอาร์เมเนียและสาธารณรัฐคีร์กีซสถาน ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมปี 2015 และมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ตามข้อตกลงฉบับนี้ สินค้าเวียดนามที่ส่งออกไปยังตลาดนี้กว่าร้อยละ 90 จะได้รับการยกเลิกหรือลดภาษี คาดว่าในปีแรก ข้อตกลงฉบับนี้จะช่วยให้ผู้ส่งออกภายในภูมิภาคลดต้นทุนด้านภาษีได้ประมาณ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นายดั๋งหว่างหาย อธิบดีกรมตลาดยุโรปสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้ให้ข้อสังเกตว่า“ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิกอีเออียูคือข้อตกลงความร่วมมือในทุกด้าน เช่น การเปิดตลาดสินค้า การลงทุนและการบริการ นี่เป็นข้อตกลงฉบับแรกที่อีเออียูลงนามกับประเทศนอกกลุ่มคือเวียดนาม จากการเตรียมพร้อม ข้อตกลงฉบับนี้จะสร้างก้าวกระโดดใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอีเออียู”
ปัจจุบัน มีสถานประกอบการเวียดนามกว่า 900 แห่งที่ส่งออกสินค้าไปยังสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย – ยุโรป ซึ่งในนั้นมี 200 แห่งที่มีมูลค่าการส่งออกสูง โดยส่วนใหญ่เน้นส่งออกสินค้าเกษตร เช่น สัตว์น้ำ กาแฟ ชา ข้าว  รวมทั้งสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เป็นต้น นาย K.V Vnucovเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำเวียดนามได้เผยว่า“ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับอีเออียูมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้า อีกทั้งอำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมการลงทุนและการใช้บุคลากรที่มีทักษะความสามารถ โดยเวียดนามจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงตลาดที่กว้างใหญ่ของ 5 ประเทศสมาชิกอีเออียูที่มีผู้บริโภคถึง 182 ล้านคนและมีจีดีพีอยู่ที่ 2 ล้าน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนประเทศสมาชิกอีเออียูก็สามารถส่งเสริมการเจาะตลาดเวียดนามที่มีประชากรถึง 90 ล้านคน”
คาดว่า เมื่อข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะช่วยให้มูลค่าการค้าต่างตอบแทนจาก 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 8 พัน-1หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเวียดนามจะยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่สินค้าร้อยละ 59 จากประเทศสมาชิกอีเออียู พร้อมทั้งค่อยๆลดภาษีนำเข้าให้แก่สินค้าอื่นๆร้อยละ 30 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว การจัดเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจากอีเออียูจะอยู่ที่ร้อยละ 1 นายดั๋งหว่างหาย อธิบดีกรมตลาดยุโรปสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เผยต่อไปว่า“เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเอฟทีเออย่างเต็มที่ ทั้ง 2 ฝ่ายควรมีมาตรการสนับสนุนการขนส่ง โลจิสติกและศุลกากร ทั้ง 2 ฝ่ายกำลังตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนขึ้นเป็น 1หมื่นถึง 1 หมื่น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2020 ซึ่งเพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เวียดนามหวังว่า จะได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างใกล้ชิดจากสถานทูต กระทรวงและหน่วยงานต่างๆของประเทศสมาชิกอีเออียูในการปฏิบัติข้อตกลงเอฟทีเอให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”
การได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงตลาดอีเออียูจะเปิดโอกาสให้แก่การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดแข็งของเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าในประเทศก็ต้องแข่งขันกับผลิตภัณฑ์นำเข้าจากสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป
สหภาพเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปถือเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยศักยภาพสำหรับผู้ประกอบการส่งออกเวียดนาม การที่ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับอีเออียูมีผลบังคับใช้ถือเป็นนิมิตรหมายสำคัญในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึกของเวียดนาม ซึ่งเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ ผู้ประกอบการเวียดนามต้องวางยุทธศาสตร์และมาตรการใหม่ๆในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงเพื่อสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศและครองส่วนแบ่งในตลาดภายในประเทศ.

คำติชม