ยุทธศาสตร์การนำเข้าและส่งออกสินค้าในช่วงปี 2021-2030: ให้ความสำคัญต่อคุณภาพการเติบโตและความยั่งยืน

Nguyên Long; Thu Hằng
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ออกมติอนุมัติยุทธศาสตร์การนำเข้าและส่งออกสินค้าจนถึงปี 2030 โดยมีเป้าหมายคือการนำเข้าและส่งออกมีความอย่างยั่งยืนพร้อมกับโครงสร้างที่สมดุล กลมกลืน  ส่งเสริมความได้เปรียบในการแข่งขัน การพัฒนาเครื่องหมายการค้าเวียดนาม ยกระดับสถานะของประเทศในห่วงโซ่คุณค่าโลก เป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ในยุทธศาสตร์นี้ รัฐบาลได้กำหนดกระบวนการและก้าวเดินที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าสำหรับแต่ละระยะในช่วงปี 2021-2025 และในช่วงปี 2025-2030 อีกทั้ง วางมาตรการปฏิบัติ
ยุทธศาสตร์การนำเข้าและส่งออกสินค้าในช่วงปี 2021-2030: ให้ความสำคัญต่อคุณภาพการเติบโตและความยั่งยืน - ảnh 1(baochinhphu.vn)

เมื่อกล่าวถึงการที่รัฐบาลประกาศใช้ยุทธศาสตร์นำเข้าและส่งออกสินค้าในช่วงปี 2021-2030 นาง เหงียนเกิ๋มจาง รองอธิบดีกรมนำเข้า-ส่งออกของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้เผยว่า เวียดนามกำลังเข้าสู่ช่วงการพัฒนาใหม่ที่มีความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจที่รวดเร็วและยั่งยืนบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงใหม่และความคิดสร้างสรรค์ การเติบโตแห่งสีเขียว การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจหมุนเวียน

เศรษฐกิจโลกในปีต่อๆ ไปได้รับการคาดการณ์ว่า จะยังคงมีความผันผวนอย่างซับซ้อนจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า โรคระบาดและวัฏจักรของวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก ก่อให้เกิดวิกฤตด้านพลังงานและสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ในสภาวการณ์ดังกล่าว การส่งออกเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการค้ำประกันการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ต้องมีการอัพเดตและการกำหนดแนวทางใหม่และมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ต่อกิจกรรมการนำเข้าและส่งออก

“ถ้ามองดูในช่วง 10 ปี ของการปฏิบัติยุทธศาสตร์การนำเข้าและส่งออกสินค้าในช่วงปี 2011-2020 กิจกรรมการนำเข้าส่งออกของเวียดนามได้บรรลุผลงานที่น่าประทับใจ มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่และการพัฒนาประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากผลงานที่ได้บรรลุดังกล่าวแล้ว กิจกรรมการนำเข้าและส่งออกสินค้าในช่วงปี 2011-2020 ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากข้อได้เปรียบการแข่งขันโดยอาศัยเทคโนโลยี ทักษะความสามารถของแรงงานและการบริหาร สร้างกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีการแข่งขันสูง ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งถ้าทำเรื่องเหล่านี้ได้ก็จะสามารถมีส่วนร่วมต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับสูงในห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก ดังนั้น ยุทธศาสตรต์การนำเข้า-ส่งออกสำหรับระยะใหม่จึงให้ความสนใจถึงคุณภาพการเติบโตและความยั่งยืนของการพัฒนาการนำเข้า-ส่งออก”

ยุทธศาสตร์การนำเข้า-ส่งออกในช่วงปี 2011-2030 ยังคำนึงถึงแนวโน้มใหม่ของการค้าระหว่างประเทศโดยใช้จุดแข็งภายในอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงโอกาสของกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกหลังจากที่เวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับ  การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆของกิจกรรมนำเข้าและส่งออก เลือกแหล่งพลังเพื่อลงทุนและพัฒนาการนำเข้าและส่งออกตามแนวทางที่ยั่งยืน

ยุทธศาสตร์การนำเข้าและส่งออกสินค้าในช่วงปี 2021-2030: ให้ความสำคัญต่อคุณภาพการเติบโตและความยั่งยืน - ảnh 2นาง เหงียนเกิ๋มจาง รองอธิบดีกรมนำเข้า-ส่งออกของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม

การที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายคืออัตราการเติบโตของการส่งออกสินค้าอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6 – 7 ต่อปีในช่วงปี 2021-2030 อาจถือว่าไม่สูงเมื่อเทียบกับการเติบโตเฉลี่ยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแม้ในช่วงที่ยากลำบาก และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การขยายตัวด้านการส่งออกเป็นเลขสองหลักเสมอ ในฐานะสำนักงานภาครัฐที่บริหารในด้านนี้ นาง เหงียนเกิ๋มจาง เผยว่า

“เป้าหมาย “อัตราการเติบโตของการส่งออกสินค้าอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6 – 7 ต่อปี” เป็นเป้าหมายเฉลี่ยสำหรับทั้งช่วงปี 2021-2030 เป้าหมายสำหรับช่วงปี 2021-2025 คือการเติบโตของการส่งออกอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 8 - 9 ต่อปี และในช่วงปี 2026-2030 การเติบโตอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5 – 6 ต่อปี ภายหลังการเติบโตในเวลาที่ผ่านมา ปัจจุบัน เวียดนามได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก ในเวลาที่จะถึง กิจกรรมการนำเข้าและส่งออกจะยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยที่ไร้เสถียรภาพจากความขัดแย้งทางการค้า ความตึงเครียดทางการเมือง แนวโน้มของการใช้มาตรการขัดขวางทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการด้านภาษีที่เพิ่มขึ้นในตลาดใหญ่ๆ ความผันผวนของราคาสินค้าบริโภค ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและด้านการเงิน ถ้าหากพิจารณา การบรรลุเป้าหมายตั้งแต่ร้อยละ 6-7 ต่อปีถือเป้าหมายในระดับสูงและเต็มไปด้วยความท้าทาย ทัศนะเชิงยุทธศาสตร์จนถึงปี 2030 คือการพัฒนาการนำเข้าและส่งออกอย่างยั่งยืน มุ่งสู่การเติบโตที่มีคุณภาพ”

การประกาศใช้ยุทธศาสตร์มีข้อใหม่หลายข้อเมื่อเทียบกับยุทธศาสตร์การนำเข้า-ส่งออกในช่วงปี 2011-2022 ทั้งด้านทัศนะ เป้าหมายและแนวทาง โดยทัศนะเชิงยุทธศาสตร์ได้กำหนดบทบาทของหน่วยงานและท้องถิ่นในการส่งเสริมความได้เปรียบของหน่วยงานและท้องถิ่น การใช้โอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและจำกัดความท้าทายในการปฏิบัติคำมั่นเกี่ยวกับการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก

เมื่อเทียบกับยุทธศาสตร์การนำเข้า-ส่งออกในช่วงปี 2011-2020 ยุทธศาสตร์ในช่วงปี 2021-2030 ไม่ได้กำหนดเป้าหมายในระดับใดเป็นพิเศษ หากระบุเป้าหมายการพัฒนาการนำเข้าและส่งออกอย่างยั่งยืนและเป็นพลังขับเคลื่อนของการขยายตัวเศรษฐกิจที่รวดเร็วและยั่งยืน นอกจากเป้าหมายการเติบโตด้านการส่งออกและนำเข้าในด้านขอบเขตและเป้าหมายเกี่ยวกับดุลการค้าแล้ว ยุทธศาสตร์ยังเพิ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโครงสร้างสินค้าส่งออก โครงสร้างตลาดนำเข้าและส่งออกเพื่อแปรทัศนะพัฒนาการนำเข้า-ส่งออกอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความกลมกลืนด้านโครงสร้างสินค้า โครงสร้างตลาดและดุลการค้ากับแต่ละตลาดและแต่ละภูมิภาค.

คำติชม