ผลักดันความร่วมมือเชื่อมโยงเขตผ่านฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

Chia sẻ
(VOVworld) –  ในเวลาที่ผ่านมา จังหวัดและนครต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ผลักดันการเชื่อมโยงเพื่อร่วมกันพัฒนาผ่านฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงหรือเอ็มดีอีซี ที่จัดขึ้นทุกปี โดยในปีนี้ฟอรั่มได้รับการจัดขึ้นที่จังหวัดซอกจังในระหว่างวันที่๕ถึงวันที่๗พฤศจิกายนในหัวข้อ“ปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร สร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง”

(VOVworld) –  ในเวลาที่ผ่านมา จังหวัดและนครต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ผลักดันการเชื่อมโยงเพื่อร่วมกันพัฒนาผ่านฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงหรือเอ็มดีอีซี ที่จัดขึ้นทุกปี โดยในปีนี้ฟอรั่มได้รับการจัดขึ้นที่จังหวัดซอกจังในระหว่างวันที่๕ถึงวันที่๗พฤศจิกายนในหัวข้อ“ปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร สร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง”

ผลักดันความร่วมมือเชื่อมโยงเขตผ่านฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง - ảnh 1
การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Baodautu)

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงรวม๑๒จังหวัดและหนึ่งนครที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้เวียดนามมีพื้นที่กว่า๓หมื่น๙พัน๗ร้อยตารางกิโลเมตรและเป็นเขตที่ราบที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ของเวียดนาม เป็นเขตผลิตอาหารสำคัญของเวียดนามพร้อมกับเงื่อนไขที่สะดวกมากมายเพื่อพัฒนาฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่โดยเฉพาะ  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำริมฝั่งทะเล ในแม่น้ำและพัฒนาเขตปลูกไม้ผลที่มีคุณภาพสูง  ใน หลายปีที่ผ่านมา เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีส่วนร่วมอันยิ่งใหญ่ให้แก่มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและสัตว์น้ำของเวียดนาม เพื่อส่งเสริมศักยภาพและจุดแข็งของเขตนี้ รัฐบาลได้มีมติหมายเลข๔๙๒/QDTTg เกี่ยวกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเป้าหมายเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงประกอบด้วย๔จังหวัดและนครสังกัดส่วนกลางคือ นครเกิ่นเธอ จังหวัดอานยาง เกียนยางและก่าเมาซึ่งจังหวัดเหล่านี้จะมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและมีส่วนร่วมผลักดันการค้ากับจังหวัดต่างๆในเขตนี้กับเขตตะวันออกภาคใต้ เขตที่ราบสูงไตเงียน ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาค เช่น กัมพูชา ไทย และพม่า จากเป้าหมายนี้ ฟอรั่มความร่วมมือเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปีนี้ที่จัดขึ้น ที่จังหวัดซอกจังในหัวข้อ“ปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร สร้างสรรค์ชนบทใหม่”ถือเป็นโอกาสเพื่อให้กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆร่วมกันวางมาตรการต่างๆเพื่อแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องถึงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรและชนบทอย่างยั่งยืน ท่านกาวดึ๊กฟ๊าตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทกล่าวว่า“ปัญหาอยู่ที่ว่า ต้องสร้างบรรยากาศที่สะดวกให้แก่สถานประกอบการโดยไม่เพียงแต่ส่งเสริมการลงทุนใหม่หากก่อนอื่นต้องให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการด้านการเกษตรให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและนับวันเจริญเข้มแข็ง และร่วมกันมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการและการเกษตร”

เนื้อหาสำคัญของฟอรั่มครั้งนี้คือ วางมาตรการต่างๆเพื่อปฏิบัติโครงการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาและเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรการ ระเบียบ และนโยบายเกี่ยวกับการผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้มีความสมบูรณ์ ผลักดันการส่งเสริมการค้า การลงทุน ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ ศักยภาพและจุดแข็งของเขตให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  ที่ฟอรั่มครั้งนี้ยังอภิปรายถึงมาตรการต่างๆเพื่อขยายความร่วมมือและการเชื่อมโยงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และนานาชาติเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม งานด้านต่างประเทศ ส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจอันยิ่งใหญ่ของเขต อีกด้านหนึ่ง ฟอรั่มครั้งนี้ก็เป็นโอกาสเพื่อระดมทุกแหล่งพลังในการปฏิบัติสวัสดิการสังคม ระบบสาธารณูปโภคด้านสวัสดิการสังคมให้แก่เขตนี้นายเหงวียนฟองกวาง รองหัวหน้าคณะกรรมการประจำคณะกรรมการชี้นำเขตตะวันตกภาคใต้กล่าวว่า“ฟอรั่มเอ็มดีอีซีครั้งนี้มีความหมายอย่างจริงจังซึ่งในขณะนี้กำลังเน้นการรณรงค์ในด้านสวัสดิการสังคมและระดมแหล่งพลังเพื่อส่งเสริมการลงทุน เฉพาะจังหวัดซอกจังจะก่อสร้างโรงพยาบาลที่ใช้เงินทุน๑แสน๒หมื่นล้านด่ง เจตนารมณ์ของการจัดฟอรั่มในปีนี้คือมีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง ”

เป้าหมายพัฒนาเขตเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่รัฐบาลได้วางคือสร้างสรรค์เขตนี้ให้กลายเป็นเขตที่พัฒนาอย่างคล่องตัว มีโครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรที่ทันสมัยผ่านการผลักดันการผสมผสานเข้ากระแสเศรษฐกิจโลกอัตราการขยายตัวจีดีพีในช่วงปี๒๐๑๑ถึงปี๒๐๒๐เพิ่มขึ้น๑.๒๕เท่าเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของประเทศ ฟอรั่มครั้งนี้เป็นโอกาสเพื่อให้กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆตรวจสอบมาตรการ ขยายความร่วมมือลงทุนเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง./.

Thanh Tùng-Tô Tuấn

คำติชม