(VOVworld) – จนถึงปัจจุบัน เวียดนามยังคงเป็นหนึ่งในประเทศนำหน้าของโลกในการส่งออกปลาสวาย อย่างไรก็ดี ความผันผวนของตลาดโลกในเวลาที่ผ่านมาพร้อมอุปสรรคภายในประเทศทำให้หน่วยงานนี้พัฒนาอย่างไม่มั่นคงและเพื่อตอบสนองความต้องการของการพัฒนา หน่วยงานปลาสวายต้องขยายการบริหารและปรับปรุงตนเองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้เพาะเลี้ยงและสถานประกอบการโดยให้ความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
|
ปลาสวาย(Photo:Laodong) |
ปลายสวายเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพของเวียดนามโดยเมื่อปี๒๐๑๓ มูลค่าการส่งออกอยู่ที่๑.๘พันล้านเหรียญสหรัฐและจนถึงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกอยู่ที่๕๔๖ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบัน เวียดนามส่งออกปลาสวายไปยัง๑๔๙ประเทศและดินแดนซึ่งมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ๒๖ของยอดมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำ อย่างไรก็ดี การผลิตและจำหน่ายปลาสวายยังคงประสบอุปสรรคนานัปการเพราะตลาดนำเข้าเดิมของเวียดนามมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างล่าช้า นอกจากนี้ การแข่งขันในตลาดใหญ่ๆ เช่น สหรัฐและสหภาพยุโรปหรืออียูได้ส่งผลเสียต่อสถานประกอบการส่งออกปลาสวายของเวียดนาม เพื่อยืนอยู่อย่างมั่นคงและพัฒนาตลาด หน่วยงานปลาสวายกำลังวางยุทธศาสตร์พัฒนาในระยะยาวอย่างยั่งยืนโดยมีมาตรการที่สำคัญคือยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ส่งออก ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ปลาสวายเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจแหล่งผลิตและขั้นตอนการแปรรูปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรับปรุงขั้นตอนการผลิต การเพาะเลี้ยงและแปรรูปเพื่อตอบสนองมาตรฐานและความต้องการของตลาด ผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างเขตและระหว่างสถานประกอบ การกับผู้เพาะเลี้ยงเพื่อขยายการบริหารควบคุมพื้นที่เพาะเลี้ยงและปริมาณปลาสวายเชิงพาณิชย์ ค้ำประกันข้อกำหนดและมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นายหวอหุ่งหยุงรองประธานและเลขาธิการสมาพันธ์สมาคมปลาสวายเวียดนามกล่าวว่า“รัฐบาลได้มีมติเกี่ยวกับมาตรฐานเวียดแกป(การผลิตทางการเกษตรที่ดีในเวียดนาม)และโกลบอลแกป (การผลิตทางการเกษตรที่ดีระดับโลก)และในเร็วๆนี้จะร่างให้เป็นมาตรฐานเพื่อปรับปรุงเขตเพาะเลี้ยง มติฉบับนี้ยังระบุถึงเงื่อนไขผูกมัด โดยเฉพาะ การกำหนดคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานของตลาดที่นำเข้า”
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมระหว่างคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางและคณะกรรมการชี้นำเขตตะวันตกภาคใต้ได้ย้ำถึงการผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานผลิตปลาสวาย ในการนี้ นายเลหวิงเติน รองหัวหน้าคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางกล่าวถึงมาตรการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการพัฒนากับตลาดจำหน่ายโดยให้ความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ผลักดันการเชื่อมโยง จัดสรรการผลิตใหม่อย่างเป็นระบบโดยย้ำว่า“การวางแผนพัฒนาต้องคำนึงถึงกลไกตลาด รวมทั้งสภาพที่ดินและน้ำ กลไกตลาดจะยอมรับสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติตามข้อกำหนดเท่านั้นและควรมีนโยบายสำหรับสถานประกอบการที่มีความประสงค์ขยายตลาดแต่ไม่มีเงินลงทุน”
นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ“วางระบบการจำหน่ายปลาสวายและปลาบาซาอย่างยั่งยืนในเวียดนาม”โดยสหภาพยุโรปหรืออียูอุปถัมภ์ในกรอบโครงการสวิต– เอเชียของสหภาพยุโรปซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของปลาสวายเวียดนามในตลาดโลกและผ่านโครงการ อียูจะช่วยเหลือระบบการจำหน่ายปลาสวายโดยตรงทั้งพันธุ์ปลา การผลิตอาหารปลา การเพาะเลี้ยงและแปรรูปของเวียดนาม ผู้นำเข้าส่งออก และผู้บริโภค รวมทั้งอียูซึ่งเป็นตลาดส่งออกปลาสวายที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามในปัจจุบัน โครงการดังกล่าวได้รับการปฏิบัติช่วงปี๒๐๑๓ถึงปี๒๐๑๗โดยเน้นยกระดับทักษะ ผลักดันการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตโดยกำหนดให้อุตสาหกรรมปลาสวายมีเงื่อนไข พัฒนาและบริหารควบคุมอย่างเป็นระบบไม่ว่าจะเป็นสถานที่เพาะเลี้ยง การแปรรูป การส่งออก การจำหน่ายผ่านข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นเงื่อนไขเพื่อให้หน่วยงานปลาสวายเวียดนามมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผ่านระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพสูง./.
Thanh Tùng– Tô Tuấn