ท่าเรือไฮฟองปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน

Thanh Nga- Thu Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - พร้อมกับการลงทุนอุปกรณ์ที่ทันสมัยและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงความสามารถในการดำเนินงานแล้ว ท่าเรือไฮฟองได้เปิดเส้นทางบริการใหม่หลายเส้นทางเพื่อเชื่อมโยงโดยตรงเพื่อให้สินค้าเวียดนามสามารถเจาะตลาดต่างประเทศอย่างสะดวก ด้วยกิจกรรมเหล่านี้ ท่าเรือไฮฟองจึงสามารถพิสูจน์สถานะในการเป็นประตูสู่ทะเลของจังหวัดต่างๆในภาคเหนือและเป็นเขตเศรษฐกิจทางทะเลหลักของประเทศ
ท่าเรือไฮฟองปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน - ảnh 1ท่าเรือไฮฟอง

 

เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนปี 2022 สาขาของท่าเรือเตินหวูสังกัดบริษัทท่าเรือไฮฟองได้ทำระเบียบศุลกากรสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 1 ล้าน TEU และขนถ่ายรถยนต์ทุกชนิดกว่า 60,000 คันอย่างปลอดภัยซึ่งบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในปี 2022 ก่อนกำหนด 45 วัน ในขณะเดียวกัน สาขาท่าเรือหว่างเหยี่ยวก็บรรลุความสำเร็จในการขนส่งสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรประมาณ 6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2021

หนึ่งในมาตรการเพื่อให้บริษัทหุ้นส่วนท่าเรือไฮฟองบรรลุอัตราการเติบโตที่น่าประทับใจในปี 2022 คือการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลในการดำเนินงาน โดยตั้งแต่ต้นปี ได้ใช้บริการ “ท่าเรือ ePort” ในทุกขั้นตอน ณ สาขาท่าเรือเตินหวูและเริ่มประยุกต์ใช้แอพพลิเคชัน “Smart Gate” เพื่อเพิ่มผลผลิตและความสะดวกให้แก่บริษัทขนส่งทางทะเล นาย ด่าวหงอกแค้ง จากบริษัท HTM Logistics ไฮฟองกล่าวว่า

“ตอนที่ยังไม่มี E-port เราต้องใช้กระดาษในการทำระเบียบศุลกากรและต้องเข้าคิวรอนานมาก แต่เมื่อมี E-port ก็มีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ตอนนี้ อยู่บ้านก็สามารถส่งอีเมลถึงบริษัทขนส่งทางทะเลได้ ท่าเรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอนุมัติตู้คอนเทนเนอร์ผ่านรูปภาพ ลูกค้าไม่ต้องทำตามขั้นตอนที่ยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้ การตรวจสอบสินค้าปฏิบัติตามกลไก one stop service ”

ปี 2022 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่บริษัทท่าเรือไฮฟองติดกลุ่ม 5 บริษัทที่ได้รับความไว้วางใจของหน่วยงานโลจิสติกตามรายงานประเมินเวียดนามสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมท่าเรือ นาย จูมิงหว่าง รองผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนท่าเรือไฮฟองเผยว่า เพื่อปฏิบัติความมุ่งมั่น “ออกสู่ทะเลอันกว้างใหญ่” บริษัทจึงให้ความสนเป็นอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างครอบคลุม มุ่งสู่ท่าเรือแห่งสีเขียวและอัจฉริยะ

“นอกจากระบบ E-port และ Smartgate แล้ว การบริหารและควบคุมยานพาหนะ อุปกรณ์และบุคลากรในท่าเรือก็เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล เรายังบริหารผ่านระบบและแอพพลิเคชั่นสำหรับพนักงานและผู้มีส่วนร่วมในระบบที่ใช้บริการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการตอบคำถามของลูกค้าใช้ระบบแชทบ็อกซ์และ AI”

ท่าเรืออื่นๆ ในไฮฟองก็มีอัตราการเติบโตในระดับสูงเช่นกัน เมื่อปี 2022  ท่าเรือคอนเทนเนอร์นานาชาติ เตินก๋างไฮฟองได้ต้อนรับเรือขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง  เปิดเส้นทางบริการใหม่ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ พันโท ดว่านต๊วนหาย ประธานสภาสมาชิกของท่าเรือคอนเทนเนอร์นานาชาติ เตินก๋างไฮฟอง ยืนยันว่า

“การบรรลุการขนส่งสินค้าถึง 1 ล้าน TEU คือนิมิตหมายที่สำคัญในการดำเนินงานเป็นเวลา 5 ปีของท่าเรือคอนเทนเนอร์นานาชาติ เตินก๋างไฮฟอง เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความไว้วางใจของบริษัทขนส่งทางทะเลเมื่อใช้บริการเรือที่มีระวางบรรทุกขนาดใหญ่ และการดึงดูดการลงทุนของนครไฮฟองและจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ”

ท่าเรือไฮฟองปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน - ảnh 2หนึ่งในมาตรการเพื่อให้บริษัทหุ้นส่วนท่าเรือไฮฟองบรรลุอัตราการเติบโตที่น่าประทับใจในปี 2022 คือการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลในการดำเนินงาน 

ในการปฏิบัติการวางผังท่าเรือโดยละเอียดจนถึงปี 2020 และการกำหนดแนวทางจนถึงปี 2030 นอกจากการเปิดใช้ท่าเทียบเรือหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ของท่าเรือคอนเทนเนอร์นานาชาติ เตินก๋าง ในปี 2022 นครไฮฟองและบรรดานักลงทุนต่างเร่งพัฒนาท่าเรือ แหลกเหวี่ยนในกลุ่มท่าเรือไฮฟองให้เป็น  “เขตท่าเรือที่ทันสมัย ตอบสนองบทบาทของท่าเรือประตูระหว่างประเทศ ผสานกับการให้บริการเป้าหมายในการขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ” นาย หว่างดิ่งต๊วน ผู้อำนวยการใหญ่ของกลุ่มบริษัท Hateco ซึ่งเป็นผู้ลงทุนโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือหมายเลข 5 และ 6  บริเวณท่าเทียบเรือ แหลกเหวี่ยน เผยว่า

“ท่าเรือแหลกเหวี่ยนเป็นท่าเรือระหว่างประเทศของกลุ่มท่าเรือที่มีขอบเขตพิเศษ โดยเฉพาะ การเปิดใช้ท่าเรือโดยเร็วจะมีส่วนร่วมปรับปรุงเป้าหมายในยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลให้มีความสมบูรณ์ ค้ำประกันอธิปไตยของชาติในทะเล  มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย นำสินค้าส่งออกของภาคเหนือไปยังยุโรปและสหรัฐเพื่อค้ำประกันการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบของสภาพธรรมชาติและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจ ดิ่งหวู เพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของนครไฮฟองและภาคเหนือ”

ในตลอดทั้งปี 2022 ถึงแม้จะได้รับผลกระทบไม่น้อยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ปริมาณสินค้าที่ผ่านท่าเรือไฮฟองยังคงสูงถึง 168 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2021 พร้อมกับท่าเรือนครโฮจิมินห์และท่าเรือก๊ายแมปในจังหวัดบ่าเหรียะหวุงเต่า ท่าเรือไฮฟองกำลังติดกลุ่ม 100 ท่าเรือคอนเทนเนอร์ชั้นนำที่มีปริมาณสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรมากที่สุดในโลกตามผลการจัดอันดับของนิตยสารการเดินเรือ Lloyd’s List ของอังกฤษ พร้อมกับการปรับปรุงการวางผังให้มีความสมบูรณ์และการก่อสร้างเขตโลจิสติกขนาดใหญ่ที่มีความผูกพันกับระบบท่าเรือ ในเวลาที่จะถึง ไฮฟองจะกลายเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่ท่าเรือระหว่างประเทศและภูมิภาคโดยเร็ว.

คำติชม