การเชื่อมโยงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Vu Dung- VOV
Chia sẻ

(VOVWORLD) -การเชื่อมโยงระหว่างเขตในด้านโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ถูกระบุในมติที่ 120 ของรัฐบาลที่ประกาศใช้เมื่อปี 2017 เพื่อพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน จนถึงขณะนี้ โครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมได้รับการปฏิบัติในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม มาตรการลงทุนได้เน้นรับมือการเปลี่ยนปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุนและรักษาเสถียรภาพอย่างยั่งยืน

การเชื่อมโยงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1รูปแบบการปลูกแคนตาลูปที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่จังหวัดเตี่ยนยาง 

ภายหลัง 3 ปีของการปฏิบัติมติที่ 120 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านจิตสำนึก แนวคิดและการปฏิบัติของทางการทุกระดับ หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและสถานประกอบการ ระดมการช่วยเหลือขององค์การระหว่างประเทศและหุ้นส่วนการพัฒนา  จากการพัฒนาโดยอาศัยแต่เพียงการใช้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยของสภาพภูมิอากาศ สภาพที่ดินและแหล่งสัตว์น้ำเพื่อพัฒนา ประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเน้นผลิตภาพแรงงาน ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผลิตตามห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งมติดังกล่าวถือเป็นก้าวกระโดดใหญ่ที่ช่วยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงแบบบูรณการอย่างยั่งยืน มีการผสานกับการปฏิบัติวิสัยทัศน์ในระยะยาวและความปรารถนาต่อการสร้างสรรค์เขตที่อุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง ถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ถือการใช้ทรัพยากรน้ำและที่ดินอย่างประหยัดและยั่งยืนเป็นแนวทางการพัฒนา ส่วนรัฐบาลเน้นการจัดทำกลไกและนโยบายการพัฒนาเขตอย่างยั่งยืนใน4 ด้าน เช่น พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โครงสร้างพื้นฐานและเทคนิคการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปอาหารและการบริการขนส่ง มีส่วนช่วยดึงดูดสถานประกอบการให้เข้ามาลงทุนในด้านการเกษตร ผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างรัฐ สถานประกอบการ เกษตรกรและนักวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มห่วงโซ่คุณค่า ช่วยให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรสามารถครองส่วนแบ่งที่มั่นคงในตลาดโลก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เจิ่นห่งห่าได้เผยว่า

“ ภายหลังกว่า 3 ปีของการปฏิบัติมติ สามารถยืนยันได้ว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านแนวคิดและการปฏิบัติ เป็นฝ่ายรุกในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ถือปัญหาน้ำท่วม น้ำเค็มและน้ำกร่อยเป็นทรัพยากรเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ประสิทธิภาพของการกำหนดเขตและปรับเปลี่ยนการผลิตตามแนวทางการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลได้แสดงให้เห็นผ่านการที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเขตอยู่ในระดับสูง”

การเชื่อมโยงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2การสูบน้ำเพื่อรับมือเหตุภัยแล้งที่จังหวัดเตียนยาง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน เหงวียนชี้หยุงเห็นว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังต้องเผชิญกับทั้งโอกาสและความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมการพัฒนาในเขตพื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนที่ก่อปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม สร้างความไม่สมดุลให้แก่ระบบนิเวศอย่างหนัก เพื่อบรรลุเป้าหมายและหน้าที่ที่ได้วางไว้ จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของท้องถิ่นต่างๆในเขต

“ท้องถิ่นต่างๆต้องระดมแหล่งพลังและแหล่งเงินลงทุนเพื่อปฏิบัติโครงการเชื่อมโยงระหว่างเขตและจังหวัดเพื่อขยายการพัฒนา สร้างกองทุนที่ดินให้แก่การผลิตและการประกอบธุรกิจ การเชื่อมโยงด้านคมนาคมในเขตริมฝั่งทะเล ให้ความสนใจต่อการปฏิบัติโครงการคมนาคมในเขตริมฝั่งทะเลเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมในเขตริมฝั่งทะเล

ในการกล่าวปราศรัยต่อการประชุมครั้งที่ 3 เกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกได้ยืนยันว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นศูนย์กลางการผลิตเกษตรของเวียดนาม มีปริมาณการผลิตข้าวร้อยละ 50  ปริมาณการส่งออกข้าวมากกว่าร้อยละ 95 ปริมาณสัตว์น้ำร้อยละ65 และปริมาณผลไม้ร้อยละ 70 ของประเทศ ดังนั้น  ถ้าอยากพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ต้องเน้นพัฒนาแหล่งบุคลากร อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาการศึกษาและเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น ระหว่างรัฐกับประชาชนและสถานประกอบการภายในประเทศและองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

“ 1 คือต้องสร้างบรรยากาศการประกอบธุรกิจที่ดีที่สุดให้แก่สถานประกอบการ ส่งเสริมความคล่องตัวในการปฏิบัตินโยบาย โครงการของสถานประกอบการและสหกรณ์ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน สถานประกอบการช่วยแก้ไขปัญหางานทำ เพิ่มรายได้และรายรับงบประมาณ ผลักดันการพัฒนาตลาดหลักอย่างพร้อมเพรียง สำหรับตลาดแรงงาน ท้องถิ่นต่างๆต้องเน้นฝึกอบรมแหล่งบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพและใช้โอกาสจากการย้ายฐานการผลิต เพิ่มทักษะความสามารถให้แก่แรงงานในการปรับตัวกับเข้าตลาด   ”

เพื่อปฏิบัติเป้าหมายการสร้างสรรค์เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง ท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังผลักดันการเชื่อมโยงกับนครโฮจิมินห์อย่างเข้มแข็งบนเจตนารมณ์แห่งการพัฒนา ส่งเสริมบทบาทสภาผู้ประสานงานเขต พัฒนาตัวเมือง วางผังเขตที่อยู่อาศัย ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศและระดมแหล่งเงินอุปถัมภ์จากต่างประเทศ เน้นสร้างสรรค์เขตให้พัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน.

คำติชม