(VOVWorld)-ในเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานธนาคารเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกและมีความคล่องตัวในการบริหารนโยบายทางการเงินและผลงานที่โดดเด่นที่ได้บรรลุคือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการเพิ่มอัตราสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การที่อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีเสถียรภาพ การสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นและการขยายตัวด้านสินเชื่อค่อนข้างดีได้มีส่วนร่วมช่วยให้การผลิตและประกอบธุรกิจมีเสถียรภาพและพัฒนา ในปี๒๐๑๖ หน่วยงานธนาคารเวียดนามจะปฏิบัติมาตรการปรับอัตราการแลกเปลี่ยนใหม่ให้สอดคล้องและเป็นฝ่ายรุกกับตลาด โดยเฉพาะ กับความผันผวนในตลาดโลก
หน่วยงานธนาคารเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกและมีความคล่องตัวในการบริหารนโยบายทางการเงิน (Photo: vietnamplus.vn)
|
ในปี๒๐๑๕ ธนาคารชาติเวียดนามได้บริหารการจัดสรรเงินทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายเกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การควบคุมภาวะเงินเฟ้อควบคู่กับการปฏิบัติเป้าหมายต่างๆเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มอัตราสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและการแก้ไขปัญหาหนี้เสีย โดยยอดการชำระในปี๒๐๑๕เพิ่มขึ้นร้อยละ๑๓.๕เมื่อเทียบกับปี๒๐๑๔
ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยลดลงแต่การระดมเงินทุนยังเพิ่มขึ้น ซึ่งเอื้อให้องค์กรสินเชื่อจัดสรรเงินทุนให้แก่เศรษฐกิจ ตลาดการเงินมีเสถียรภาพเนื่องจากการปฏิบัติมาตรการจัดสรรเงินอย่างพร้อมเพียง การประสานกลไกช่วยเหลือสภาพคล่องให้แก่องค์กรสินเชื่อ ผลักดันการแก้ไขปัญหาหนี้เสีย การรับมือกับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพื่อค้ำประกันให้แก่ระบบการเงิน นอกจากนี้ อัตราการแลกเปลี่ยนและตลาดเงินตราต่างประเทศยังมีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นต่อเงินสกุลของเวียดนามได้รับการเสริมสร้าง การใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการทำธุรกรรมลดลง ตอบสนองความต้องการด้านเงินตราต่างประเทศที่ชอบด้วยกฎหมายขององค์การและบุคคลอย่างทันการณ์และเพียงพอ แนวโน้มที่เข้มแข็งของตลาดเงินตราต่างประเทศในปี๒๐๑๕เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัติมาตรการบริหารนโยบายทางการเงิน มีความคล่องตัวในการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยระหว่างธนาคารขึ้นร้อยละ๓และขยายเพดานอัตราการแลกเปลี่ยนจาก+๑%ขึ้นเป็น+๓%เพื่อรับมือกับผลกระทบจากตลาดการเงินระหว่างประเทศ
กลไกการปรับอัตราการแลกเปลี่ยนดังกล่าวได้รับการชื่นชมจากบรรดาผู้ประกอบการภายในประเทศ นาย บุ่ยหงอกบ๋าว ประธานสภาบริหารเครือบริษัทน้ำมันเวียดนามได้เผยว่า การธำรงอัตราการแลกเปลี่ยนและตลาดเงินตราต่างประเทศอย่างมีเสถียรภาพได้มีส่วนร่วมเพิ่มความไว้วางใจต่อเงินสกุลของเวียดนาม ช่วยเหลือผู้ประกอบการเวียดนามในกระบวนการผสมผสาน โดยเฉพาะ ในสภาวการณ์ที่จีนปรับลดค่าเงินหยวนและราคาน้ำมันลดลง
นาง เหงวียนถิห่ง รองผู้ว่ากสนธนาคารแห่งชาติเวียดนาม
|
ในปี๒๐๑๖ ในสภาวการณ์ที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณที่ดีขึ้นและนโยบายต่างๆของประเทศใหญ่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกนั้น เวียดนามได้กำหนดเป้าหมายและมาตรการหลักเกี่ยวกับการบริหารนโยบายทางการเงินในปี๒๐๑๖ ซึ่งตามนั้น หน่วยงานธนาคารจะเน้นถึงการบริหารนโยบายทางการเงิน การควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ๕ ค้ำประกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค มีส่วนร่วมเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมคือร้อยละ๖.๗ ให้ความสำคัญต่อการเป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัตินโยบายเกี่ยวกับการปรับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อค้ำประกันการปฏิบัติเป้าหมายการขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการด้านเศรษฐกิจ นาง เหงวียนถิห่ง รองผู้ว่าการธนาคารชาติเวียดนามได้ยืนยันว่า “การปรับอัตราดอกเบี้ยและอัตราการแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความสมดุลของเศรษฐกิและความผันผวนในตลาดการเงินระหว่างประเทศเพื่อค้ำประกันแนวทางการยกระดับสถานะของเงินด่งเวียดนาม สำหรับการบริหารด้านสินเชื่อ ต้องตระหนักถึงแนวทางการขยายตัวด้านสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ในเวลาที่จะถึง ธนาคารชาติเวียดนามยังมุ่งสู่วิธีการปรับอัตราการแลกเปลี่ยนอย่างคล่องตัวมากขึ้นเพื่อค้ำประกันเสถียรภาพของตลาดเงินตราต่างประเทศเพื่อมีส่วนร่วมต่อการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค”
ควบคู่กันนั้น ธนาคารชาติเวียดนามจะยังคงปฏิบัติมาตรการต่างๆตามกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรสินเชื่อและการแก้ไขหนี้เสียตามโครงการที่รัฐบาลได้อนุมัติ ผลักดันการตรวจสอบการปฏิบัติมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้เสียอย่างพร้อมเพียง ควบคุมและยกระดับคุณภาพของสินเชื่อ
ปี๒๐๑๖ ธนาคารชาติเวียดนามได้ใช้ระบบมาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลเพื่อยกระดับความปลอกภัยให้แก่ระบบการเงินของเวียดนาม กลไกการปรับอัตราการแลกเปลี่ยนตามกลไกตลาด การปฏิบัตินโยบายทางการเงินอย่างคล่องตัวเพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่ค่าเงินเพื่อมีส่วนร่วมรักษาเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจมหภาค ควบคุมภาวะเงินเฟ้อและยกระดับประสิทธิภาพของการระดมแหล่งเงินทุนและการจัดสรรแหล่งเงินทุนให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคที่ได้วางไว้ในช่วงปี๒๐๑๖-๒๐๒๐.