ความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทย: การไว้วางใจ ประสิทธิภาพ – สานต่อความดั้งเดิมไปสู่อนาคต

Bao TG va VN
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ทางสถานีวิทยุเวียดนามขอคัดเสนอเนื้อหาบทเขียนของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม บุ่ยแทงเซิน ที่ลงในนิตยสารพิเศษรำลึกครบรอบ45ปีความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม-ไทยของกระทรวงการต่างประเทศ
ความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทย: การไว้วางใจ ประสิทธิภาพ – สานต่อความดั้งเดิมไปสู่อนาคต - ảnh 1รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม บุ่ยแทงเซิน 
เวียดนามและไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกัน มีความคล้ายคลึงกันมากในด้านวัฒนธรรม ศาสนา ขนบธรรมเนียม และมีความสัมพันธ์ทางการค้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ความสัมพันธ์มิตรภาพเวียดนาม-ไทยได้เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศลงนามในแถลงการณ์ร่วมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ปี1976 เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ฉันท์มิตรและความเข้าใจซึ่งกันและกันที่ได้รับการปลูกฝังโดยผู้นำและประชาชนรุ่นต่อรุ่นของทั้งสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายได้สร้างความสัมพันธ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจกันทางการเมืองและความร่วมมืออย่างประสิทธิภาพและกว้างขวางลึกซึ้งในทุกมิติ 

*******************

ในตอนเปิดบทความ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม บุ่ยแทงเซิน ได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆที่ถือเป็นสิ่งที่พิเศษ สิ่งเดียวและสิ่งแรกในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศโดยเฉพาะได้ย้ำว่ามิตรภาพและความร่วมมือระหว่างสองประเทศในประวัติศาสตร์สมัยใหม่เกิดจากความรู้สึกที่ดี ความเคารพและความรักของคนไทยและชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเมืองไทยที่มีต่อประธานโฮจิมินห์

ความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทย: สิ่งพิเศษ สิ่งแรกและสิ่งเดียว

ไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประธานโฮจิมินห์เลือกเป็นจุดแวะพักระหว่างทางกลับจากต่างประเทศเพื่อสร้างการปฏิวัติในเวียดนามก่อนปี1930ต่อมาในปี1946 ท่านได้เลือกกรุงเทพฯเป็นสถานที่แรกเพื่อจัดตั้ง สำนักงานคณะผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ฟ้ายเวียนกว๊าน) ซึ่งเป็นองค์กรทางการทูตแห่งแรกของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามที่เพิ่งก่อตั้ง รัฐบาลไทยได้อนุญาตให้ก่อสร้างแหล่งประวัติศาสตร์ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในจังหวัดอุดรธานี นครพนม และพิจิตร

ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกลไกการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกับเวียดนาม การจัดตั้งกลไกการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเมื่อปี2004 และการลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ครั้งแรกโดยมีสามเสาหลัก คือ การเมือง-ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม-วัฒนธรรม เป็นขั้นตอนสำคัญ เป็นการสร้างช่องทางการพูดคุยโดยตรงระหว่างผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศเพื่อกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ทวิภาคีให้สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลา เป็นการสร้างพื้นฐานทางกฎหมายสำหรับการจัดตั้งกลไกทวิภาคีอื่น ๆ ในอนาคต และเป็นการสร้างแรงผลักดันในการขยายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ

ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เวียดนามได้ยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (2013) และหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง (2015) นี่เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่นำขนาดและเนื้อหาของความร่วมมือทวิภาคีไปสู่ระดับเชิงกลยุทธ์ ครอบคลุม และลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามในแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สำหรับช่วงปีพ.ศ. 2557-2561 ซึ่งแผนฯ มีการครอบคลุมทั้ง 21 สาขาของความร่วมมือทวิภาคี

ไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีการเติบโตด้านการค้าและการลงทุนที่รวดเร็วและสูงที่สุดกับเวียดนาม ไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสามของไทยในอาเซียน มูลค่าการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้น 35 เท่าจาก 0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1995) เป็น 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2018) ในปี 2020 แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่มูลค่าการค้าทวิภาคียังสูงกือบ 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของมูลค่าการแลกเปลี่ยนการค้าทั้งหมดของเวียดนามกับกลุ่มประเทศอาเซียน ในด้านการลงทุนไทยเป็นผู้ลงทุนต่างชาติอันดับ 9 ใน 140 ผู้ลงทุนต่างชาติ และอันดับ 3 ในกลุ่มผู้ลงทุนอาเซียนในเวียดนาม มูลค่าการลงทุนที่จดทะเบียนทั้งหมดเพิ่มขึ้น 65% จาก 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี2015 เป็น 12.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 โดยมีโครงการทั้งหมด 626 โครงการ ผู้ลงทุนไทยได้ลงทุนใน 47 ในจำนวน 63 จังหวัดของเวียดนาม โดยสาขาการลงทุนที่สำคัญ 15 สาขา ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูป ธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น

ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในประเทศไทยเป็นชุมชนพิเศษที่มีความผูกพันกับประธานโฮจิมินห์เมื่อท่านมาถึงประเทศไทย (1928-1929) ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในประเทศไทย (กว่า 100,000 คน) เป็นชุมชนที่มีฐานะและบทบาทสำคัญในสังคมท้องถิ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนและชื่นชมจากรัฐบาลไทย และกลายเป็นสะพานเชื่อมมิตรภาพระหว่างสองชนชาติเวียดนาม-ไทย ในปีพ.ศ. 2550 ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในประเทศไทยได้รับเหรียญตราเอกราชชั้นที่ ๑ จากประธานประเทศสำหรับการมีส่วนร่วมในสงครามต่อต้านสองครั้งเพื่อปกป้องเอกราชของประเทศชาติ

การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและระดับประชาชนระหว่างเวียดนามและไทยมีลักษณะเฉพาะและโดดเด่นของตนเอง ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีวัดเวียดนามจำนวน 22 แห่งที่ได้รับการรับรองจากมหาเถรสมาคมไทย และมีหลายวัดได้พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงพระราชทานนามให้ กลายเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาไม่เพียงแต่ของชุมชนชาวเวียดนามในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงของชาวไทยอีกด้วย จนถึงตอนนี้ มีวัดเวียดนาม 10 แห่งในประเทศไทยได้มีการติดป้ายชื่อภาษาเวียดนามข้างๆ ป้ายชื่อภาษาไทยและภาษาโนม

ส่งเสริมศักยภาพ ทำให้โอกาสมีผล สร้างแรงจูงใจเพื่อนำความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทยก้าวไปอีกขั้น

ในบริบทของการพัฒนาที่ซับซ้อนของโลกและภูมิภาค ความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสำหรับแต่ละประเทศ ตลอดจนมีส่วนสนับสนุนในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาในภูมิภาคและระดับโลก รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม บุ่ยแทงเซินได้ย้ำถึงประเด็นที่สองฝ่ายควรเน้นความสนใจในการพัฒนาต่อไป โดย ประการแรก คือเสริมสร้างรากฐานความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งทางการเมือง การทูต ความมั่นคงและกลาโหมระหว่างสองประเทศ เพิ่มความไว้วางใจทางการเมืองผ่านการแลกเปลี่ยนและการหารือระดับสูงและทุกระดับ และรักษากลไกความร่วมมือทวิภาคีอย่างประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระดับรัฐมนตรี ทั้งสองฝ่ายควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามข้อตกลงที่มีอยู่ ขยายหรือลงนามในข้อตกลงใหม่อย่างประสิทธิผลและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของความร่วมมือ รวมไปถึงการเผยแพร่และให้ความรู้แก่ประชาชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจรักษาและปลูกฝังมิตรภาพที่ใกล้ชิดระหว่างเวียดนามและไทยอย่างต่อเนื่อง

ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องพยายามใช้มาตรการเฉพาะเพื่อนำมูลค่าการค้าทวิภาคีบรรลุเป้าหมาย 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี2025 และมุ่งสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น และมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่มีศักยภาพ เช่น การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมสนับสนุน อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเครื่องจักรอุปกรณ์และ ขยายไปสู่สาขาใหม่ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียวเป็นต้น และแบ่งปันประสบการณ์และร่วมมือกันในการวิจัยและผลิตวัคซีนเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนหลังการระบาดของโควิด-19 ทั้งสองฝ่ายยังต้องส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคและอาเซียน และใช้ข้อตกลงการค้าเสรีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ RCEP ส่งเสริมความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนต่อไปโดยส่งเสริมการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมในช่วงปี2021-2026 เปิดบริการเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างกันอีกครั้งโดยเร็วซึ่งก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 มีสายการบิน 10 แห่ง ที่มีเที่ยวบินไปกลับระหว่างสองประเทศมากกว่า 200 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวทางบกระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยกับเวียดนามตอนกลาง ร่วมมือในด้านการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์ มรดกทางวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและศิลปะ เดินหน้าส่งเสริมโครงการ “สองประเทศ หนึ่งจุดหมาย” และการสอนภาษาเวียดนามในประเทศไทยและภาษาไทยในเวียดนามเพื่อให้ภาพลักษณ์เวียดนามและไทยใกล้ชิดกับประชาชนของทั้งสองประเทศมากขึ้น

ทั้งสองประเทศยังคงต้องเดินหน้าประสานงานและสนับสนุนกันในกลไกและเวทีพหุภาคีต่างๆ เช่น สหประชาชาติ อาเซียน เอเปก เป็นต้น ร่วมกันแสดงความเห็นในประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติที่มีความสนใจร่วมกัน รวมถึงปัญหาทะเลตะวันออกและการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ยืนหยัดการเป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพัฒนาและส่งเสริมบทบาทสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความร่วมมือในภูมิภาคและโลก

ด้วยความพยายามและความมุ่งมั่นของผู้นำและประชาชนของทั้งสองประเทศตลอด 45 ปีที่ผ่านมา และเหนือสิ่งอื่นใดคือมิตรภาพและความผูกพันอันยาวนานระหว่างสองชนชาติ เรามีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่าความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งเวียดนาม-ไทยจะมีอนาคตที่สดใสรุ่งโรจน์ยิ่งขึ้นสืบไป. 

BÀI VIẾT CỦA BỘ TRƯỞNG NGOẠI GIAO BÙI THANH SƠN

 (Đặc san Việt Nam - Thái Lan: Chặng đường hợp tác 45 năm, 8/2021)

คำติชม