ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตปลาสวายเพื่อส่งออก

Phan Ánh
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในหลายปีมานี้ หน่วยงานปลาสวายเวียดนามได้ประสบความยากลำบากในการผลิตปลาเพื่อส่งออกเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต้นทุนการเพาะเลี้ยงปลาที่ค่อนข้างสูง ปัญหาด้านเทคนิคและมาตรฐานที่เข้มงวดของตลาดส่งออก ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ปลาสวายเท่านั้น หากยังช่วยพัฒนาการผลิตตามแนวทางที่ยั่งยืนอีกด้วย

 

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตปลาสวายเพื่อส่งออก - ảnh 1รูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาสวายในเชิงพาณิชย์ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 

โครงการเลี้ยงปลาสวายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมยอดเงินลงทุน 4 ล้านล้านด่งของบริษัทหุ้นส่วนนามเหวียดได้รับการปฏิบัติตั้งแต่ต้นปี 2019  ที่ ตำบลบิ่งฟู้ อำเภอโจว์ฟู้ จังหวัดอานยาง รวมพื้นที่ 600 เฮกตาร์ โดยเขตเพาะพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพสูงมีพื้นที่ 150 เฮกตาร์ ใช้เงินลงทุน 1 ล้านล้านด่ง เขตเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลาสวายเชิงพาณิชย์มีพื้นที่ 450 เฮกตาร์ ใช้เงินลงทุน 3 ล้านล้านด่ง นาย หยวนเติย ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทหุ้นส่วนนามเหวียดได้เผยว่า แต่ละปี เขตเพาะพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพสูงจัดสรรพันธุ์ปลา 360 ล้านตัวให้แก่โครงการเลี้ยงปลาสวายของบริษัทและตลาด ส่วนเขตเพาะเลี้ยงปลาสวายเชิงพาณิชย์ผลิตปลา 2 แสนตันที่ใช้สำหรับแปรรูปเพื่อส่งออก ทางบริษัทฯได้ลงทุนอุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ลและเทคโนโลยี bakture เพื่อบำบัดและไม่ปล่อยให้น้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาออกสู่สิ่งแวดล้อม“เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีศักยภาพในการส่งออกปลาสวาย มีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีและการแข่งขันด้านราคาเพราะพวกเราปฏิบัติโครงการเพาะเลี้ยงปลาสวายแบบครบวงจร เช่น นำมูลปลามาทำปุ๋ยอินทรีย์ ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนผิวน้ำและใช้ส่วนต่างๆของปลามาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า นี่คือตัวอย่างของการเพาะเลี้ยงปลาสวายที่มีประสิทธิภาพในเวียดนาม ซึ่งลูกค้าจากทั่วโลกได้เดินทางมาตรวจสอบการผลิตปลาสวายที่นี่และชื่นชมโครงการนี้ของเราเป็นอย่างมาก”

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตปลาสวายเพื่อส่งออก - ảnh 2นาย เหงวียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทพบปะพูดคุยกับนาย หยวนเติย ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทหุ้นส่วนนามเหวียด

นาย เหงวียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า เมื่อก่อนนี้ มีส่งออกเนื้อปลาเพียงร้อยละ 30  โดยส่วนอื่นๆของปลาถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ สำหรับหัวปลานั้นขายในราคาที่ต่ำมาก ส่วนเศษปลาที่เหลือจากการแปรรูปก็ถูกทิ้ง แต่อย่างไรก็ดี ในหลายปีมานี้ มีสถานประกอบการหลายแห่งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงบริษัทหุ้นส่วนนามเหวียดได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีในการแปรรูปส่วนต่างๆของปลาได้มากที่สุด  เช่น น้ำมันปรุงอาหาร คอลลาเจนและเจลาติน เป็นต้น ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ปลาสวาย สร้างสรรค์รูปแบบการเชื่อมโยงระหว่างเขตเพาะเลี้ยงปลาสวายและครอบครัวที่จัดสรรค์พันธุ์ปลาและโครงการผลิตครบวงจรด้วยโรงงานที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตและแปรรูปปลาสวายอย่างมีประสิทธิภาพ“นี่คือรูปแบบการผลิตปลาสวายที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยของเวียดนาม โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในขั้นตอนต่างๆ เช่น การเพาะพันธุ์ปลา การผลิตปลาในเชิงพาณิชย์ การบริหารจัดการแหล่งน้ำและการให้อาหารปลา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานปลาสวายตามแนวทางที่ทันสมัยและยืนยันถึงบทบาทการเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรปลอดสารพิษในปริมาณมากของเวียดนามในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก สิ่งที่น่าสนใจคือโครงการนี้ไม่เพียงแต่ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเท่านั้น หากยังแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีผลิตภัณฑ์กว่า 50 รายการ”

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตปลาสวายเพื่อส่งออก - ảnh 3การลงทุนด้านเทคโนโลยีในการแปรรูปเศษปลาที่เหลือจากการชำแหละเพื่อเพิ่มมูลค่า   

ปลาสวายคือหนึ่งใน 2 สินค้าส่งออกหลักของจังหวัดอานยาง ซึ่งเพื่อฟื้นฟูหน่วยงานปลาสวายที่กำลังประสบความยากลำบาก ในเวลาที่ผ่านมา ทางจังหวัดฯได้ผลักดันการเชื่อมโยงเขตเพาะพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพสูง โดยได้เชิญชวนสถานประกอบการ 4 แห่งเข้ามาลงทุนในโครงการเพาะพันธุ์ปลาที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ได้แก่ เครือบริษัทเวียดนาม-ออสเตรเลียลงทุนในพื้นที่ 104 เฮกตาร์ บริษัทหุ้นส่วนนามเหวียดลงทุนในพื้นที่ 600 เฮกตาร์ โดยเขตเพาะพันธุ์ปลามีพื้นที่ 150 เฮกตาร์ บริษัทหุ้นส่วนหวิงหว่านลงทุนในพื้นที่ 48.3 เฮกตาร์และบริษัทพัฒนาโหลกกิมจีจำกัดลงทุนในพื้นที่ 350 เฮกตาร์ โดยโครงการเหล่านี้กำลังได้รับการปฏิบัติ มีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพของพันธุ์ปลาและอำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการในการขยายรูปแบบการผลิตที่มีการเชื่อมโยงระหว่างการเพาะพันธุ์ปลา การเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์และฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสถานประกอบการที่จำหน่ายปลาสวายมีบทบาทที่สำคัญในรูปแบบดังกล่าว นาย เจิ่นแองทือ รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดอานยางได้กล่าวถึงแนวทางการผลิตปลาสวายของจังหวัดในเวลาข้างหน้าว่า“การปฏิบัติโครงการเพาะพันธุ์ปลาสวายที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะในเขตโก่นหวิงหว่า รวมพื้นที่ 400 เฮกตาร์จะช่วยจัดสรรค์พันธุ์ปลาร้อยละ 80 ให้แก่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจังหวัดอายางจะเน้นพัฒนาเขตเพาะพันธุ์ปลาที่มีขอบเขตใหญ่และเขตเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีการเชื่อมโยงกับสถานประกอบการที่จำหน่ายสินค้าเกษตร สร้างสรรค์กระบวนการเพาะเลี้ยงปลาที่มีการเชื่อมโยงระหว่างขั้นตอนต่างๆอย่างใกล้ชิดเพื่อค้ำประกันคุณภาพและป้องกันโรคที่จะเกิดกับปลา”

หน่วยงานปลาสวายเวียดนามและจังหวัดอานยางกำลังประสบความลำบากทั้งในภาคการผลิตและส่งออก ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตและการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในการผลิตและแปรรูปปลาคือทางเลือกที่มีประสิทธิผลเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาหน่วยงานการเพาะเลี้ยงและแปรรูปปลาสวายอย่างยั่งยืน.

คำติชม