(VOVworld) - ในช่วงสงครามต่อต้านอเมริกาเพื่อกู้ชาติ บริเวณแม่น้ำเบ๊นหาย จังหวัดกว๋างฉิ ถือเป็นสมรภูมิของผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุหวิงลิงที่ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึกของคนเวียดนามในภาคเหนือที่มีความปรารถนาจะเห็นเอกราชและเสรีภาพไปยังชาวเวียดนามในภาคใต้ รวมทั้งให้กำลังใจพี่น้องชาวเวียดนามในสองฝั่งแม่น้ำในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงเอกราช
บริเวณแม่น้ำเบ๊นหาย - สมรภูมิของผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุหวิงลิง
|
ปัจจุบัน ถ้าหากมาเยือนเขตอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์สองฝั่งแม่น้ำเหี่ยนเลือง นักท่องเที่ยวจะได้เห็นลำโพงขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 เมตรพร้อมลำโพงขนาดเล็ก 40 ตัวที่หันหน้าไปยังฝั่งภาคใต้ ลำโพงเหล่านี้เคยใช้เพื่อประชาสัมพันธ์เรียกร้องการปฏิบัติข้อตกลงเจนีวาเพื่อรวมประเทศเป็นเอกภาพ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ของผู้สื่อข่าววิทยุหวิงลิงที่สร้างเป็นบทเพลงแห่งการต่อสู้อันกล้าหาญ ณ เส้นขนานที่ 17
เมื่อปี 1955 สถานีวิทยุหวิงลิงได้รับการก่อตั้ง โดยมีเครื่องขยายเสียง 3 เครื่อง มีลำโพงขนาดเล็ก 4พันตัวเพื่อใช้ตามตำบลต่างๆในหวิงลิงและมีลำโพงขนาด 7000 วัตต์รวม 140 ตัวที่ติดตั้งตามริมฝั่งแม่น้ำเบ๊นหายทางภาคเหนือ ตั้งแต่เกื๋อตุ่งจนถึงหอยกุรวมกว่า 10 กิโลเมตร นอกจากนี้ ทางสถานีฯยังใช้รถที่ดัดแปลงเป็นสถานีวิทยุเคลื่อนที่ที่ติดตั้งลำโพงขนาด 180 วัตต์และ 500 วัตต์เพื่อกระจายเสียงไปยังฝั่งภาคใต้ให้ดังกว่าลำโพงกระจายเสียงของทางการสหรัฐอเมริกาและทหารหุ่นไซง่อนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงประชาชนในเขตเจอะเก่า อำเภอยอลิงที่อยู่ไกลหลายสิบกิโลเมตร ซึ่งเสียงของวิทยุหวิงลิงได้กลายเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ของคนภาคใต้เพื่อให้มีความเชื่อมั่นต่อชัยชนะในสงครามกู้ชาติที่ชอบธรรมของเวียดนาม นายเหงียนดังควา ชาวบ้านที่อำเภอยอลิง ซึ่งเคยสู้รบที่ริมฝั่งใต้ของแม่น้ำเบ๊นหายในช่วงหลังปี 1954 ได้เล่าว่า “สถานีวิทยุหวิงลิงเหมือนสายเลือดในร่างกายของเรา เสียงของประธานโฮจิมินห์และเสียงของพรรคเหมือนคำสั่งให้ทหารทุกนายสู้รบอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของฝ่ายศัตรูและสถานการณ์ของการปฏิวัติ แม้จะอดอยาก ถูกจำคุกหรือต้องสละชีพเพื่อชาติแต่ทหารทุกนายยังคงร่วมใจเดินตามการปฏิวัติ”
ส่วนนายฝ่ามดิ่งหาย อดีตผู้อำนวยการสถานีวิทยุหวิงลิงได้ยืนยันว่า แม้การสู้รบจะดุเดือดแค่ไหนแต่เจ้าหน้าที่ทุกคนต่างพยายามให้เสียงของสถานีวิทยุดังขึ้นในทุกวัน เพราะก็เหมือนธงชาติที่ปักบนสะพานเหี่ยนเลือง เสียงของสถานีวิทยุฯคือการยืนยันถึงความตั้งใจ ความปรารถนาและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อภารกิจการต่อสู้เพื่อรวมประเทศเป็นเอกภาพ “แม้สงครามจะดุเดือดแค่ไหน แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนก็พยายามทำการกระจายเสียงอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อประชาชนในภาคใต้ได้ยินเสียงของสถานีวิทยุฯและมองเห็นธงชาติบนสะพานเหี่ยนเลืองก็จะทำให้ความเชื่อมั่นในชัยชนะยิ่งมั่นคงมากขึ้น”
ให้กำลังใจพี่น้องชาวเวียดนามในสองฝั่งแม่น้ำเบ๊นหายในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงเอกราช
|
เมื่อ 5 ปีก่อน กวีต๋าหิวเอียนในวัย 84 ปีได้เล่าถึงมความทรงจำในช่วงที่ดูแลรายการรณรงค์ทหารของสถานีวิทยุเวียดนามในหวิงลิงว่า เสียงของสถานีวิทยุหวิงลิงในช่วงนั้นถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชาวภาคใต้กับชาวภาคเหนือที่ถูกแยกจากกันเพราะแม่น้ำและสะพานที่ไม่ยาวนัก นอกจากการเสนอข่าวสารต่างๆแล้ว ทางสถานีฯยังเชิญชาวภาคใต้ที่กำลังอาศัยอยู่ในภาคเหนือมาพูดคุยผ่านสถานีวิทยุเพื่อรณรงค์ให้ทหารฝ่ายตรงข้ามทิ้งอาวุธ ซึ่งก็มีทหารของทางการหุ่นหลายคนได้ปฏิบัติตามและหนีมายังฝั่งภาคเหนือและอีกส่วนหนึ่งได้กลายเป็นที่มั่นของการปฏิวัติและร่วมกับประชาชนในภาคใต้ทำการต่อสู้ต่อไป
แม้สงครามได้ยืดเยื้อมานานและศัตรูได้ทำการทารุณต่างๆนานาแต่ประชาชนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเบ๊นหายยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการรวมประเทศเป็นเอกภาพ ซึ่งทุกวันเมื่อมองกลับมายังฝั่งภาคเหนือ เห็นธงชาติที่สะพานเหี่ยนเลืองยังโบกสบัดอย่างต่อเนื่องและได้ฟังเสียงของวิทยุหวิงลิงก็รู้สึกเหมือนกำลังฟังเสียงของพรรค ของประธานาโฮจิมินห์และของประชาชนในภาคเหนือสังคมนิยมที่ให้กำลังใจต่อคนภาคใต้ ดังนั้นเมื่อฟังเสียงวิทยุของทหารหุ่นบอกว่า เหตุการทิ้งระเบิดที่โห่ซ๊าเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี 1965 ได้ส่งผลให้อำเภอหวิงลิงประสบความเสียหายอย่างหนัก โดยเลขาธิการพรรคสาขาของอำเภอโห่สีถานได้เสียชีวิต สถานีวิทยุหวิงลิงถูกระเบิดทำลายส่งผลให้ประชาชนในภาคใต้เกิดความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นดังคำบอกเล่าของนางเหงียนถิกิมหญาน อดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีวิทยุหวิงลิง “เลขาธิการโห่สีถานได้ชี้นำให้พวกเราต้องพยายามฟื้นฟูการกระจายเสียงโดยเร็วและให้คุณหญานเป็นคนรายงานเพื่อให้ประชาชนในภาคใต้ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป ดังนั้น พวกเราได้ใช้วิทยุเคลื่อนที่เพื่อออกอากาศข่าวและใช้ท่อระบายน้ำเป็นห้องส่ง เมื่อได้ยินเสียงของวิทยุหวิงลิง ประชาชนมีความยินดีเป็นอย่างมาก ซึ่งได้สร้างความซาบซึ้งใจให้แก่เจ้าหน้าที่และดิฉันพยายามอ่านข่าวให้ดังขั้นเพื่อให้ทุกคนรู้ว่า แม้เราถูกทิ้งระเบิดแต่เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุฯยังคงปลอดภัยดี จงเชื่อมั่นต่อสถานีวิทยุของพวกเรา พวกเรายังคงอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนภาคใต้ ซึ่งการรายงานข่าวในวันนั้นได้มีขึ้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมงจากปกติที่ออกอากาศเพียง 30 นาที”
สงครามนับวันยิ่งดุเดือดมากขึ้น โดยจนถึงปี 1967 สถานีวิทยุหวิงลิงต้องแยกเป็นสถานีย่อย 4 แห่งที่เคลื่อนไหวตามตำบลต่างๆริมฝั่งภาคเหนือของแม่น้ำเบ๊นหาย แม้สหรัฐได้ทิ้งระเบิดอย่างหนักและเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุฯต้องเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายคนแต่เสียงของสถานีวิทยุฯยังคงดังขึ้นในผืนแผ่นดินนี้ในตลอดช่วงสงคราม นั่นคือเสียงพูดแห่งความปรารถนาของชาวเวียดนามทุกคนที่ต้องการเห็นประเทศรวมเป็นเอกภาพ./.