เวียดนามประสบความสำเร็จในการผลิตชิปคุณภาพสูงและซับซ้อนที่สุดของระบบนิเวศ 5G (qdnd.vn) |
ปี2024เป็นปีแรกที่เวียดนามปฏิบัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสารกึ่งตัวนำหรือเรียกกันทั่วไปคือเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานและจะเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในอีก 30-50 ข้างหน้า ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้เปรียบเหมือนการเปิดประตูสู่ตลาดไอทีโลกและเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อให้เวียดนามพัฒนารุดหน้าต่อไปอย่างรวดเร็ว
“ปัจจุบัน ผมกำลังเรียนที่คณะการออกแบบไมโครชิปของมหาวิทยาลัย UIT สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศ หลังจากที่เรียนจบ ก็จะเป็นวิศวกรผลิตไมโครชิป ถึงแม้อาชีพนี้จะเป็นอาชีพไม่ค่อยเป็นที่รู้จักยในเวียดนามแต่ในอนาคตอาชีพนี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว”
“ที่เวียดนาม ไมโครชิปมีศักยภาพสูงเพราะประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐและจีนเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งในเวลาที่ผ่านมา มีสถานประกอบการต่างชาติหลายแห่งมาเวียดนามเพื่อหาโอกาสร่วมมือในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ดังนั้น ผมคิดว่า อาชีพนี้มีศักยภาพสูงในอนาคตและเป็นโอกาสให้แก่นักศึกษาอย่างพวกเรา”
ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์คือพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นความปรารถนาเท่านั้น หากในเวียดนาม มีกลุ่มบริษัทหลายแห่งหันมาสนใจการผลิตไมโครชิพและสามารถสร้างนิมิตหมายที่สำคัญต่างๆ
ถึงขณะนี้ นับเป็นครั้งแรกที่เวียดนามประสบความสำเร็จในการผลิตชิปคุณภาพสูงและซับซ้อนที่สุดของระบบนิเวศ 5G โดยวิศวกรชาวเวียดนามของบริษัทเวียดเทล นั่นคือชิป 5G DFE ที่สามารถคำนวณได้ 1 ล้านล้านครั้งต่อวินาที การที่วิศวกรวียดนามสามารถผลิตชิปที่มีคุณภาพสูงมีความหมายสำคัญเป็นพิเศษในสภาวการณ์ที่ตลาดโลกยังไม่มีการจำหน่ายชิป 5G ในเชิงพานิชย์ ดร. เลท้ายห่า หัวหน้ากลุ่มวิศวกรที่ดูแลฝ่ายเทคโนโลยีของศูนย์ไมโครชิป Viettel Hightech ให้ข้อสังเกตว่า
“นี่คือเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในการผลิตไมโครชิปของโลก เราได้รับการสนับสนุนจาก Synopsys โดยเราได้ส่งทีมวิศวกรไปศึกษาที่ R&D Center ที่เบลเยียม หลังจากที่ได้พูดคุยกับวิศวกรในสาขานี้ เราก็เข้าใจในกระบวนการและเห็นว่าวิศวกรเวียดนามก็มีความสามารถทำได้เช่นกัน”
ความสำเร็จในการผลิตชิป 5G ซึ่งเป็นหัวใจของระบบ 5G นั้นไม่เพียงแต่เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า คนเวียดนามก็มีสามารถ หากยังสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาต่อไปอีกด้วย นาย จิ๋งแทงเลิม CEO ของ Synopsys ย่านเอเชียใต้แสดงความคิดเห็นว่า
“ในเวียดนาม การลงทุนให้แก่สตาร์ทอัพและกลุ่มวิจัยยังมีน้อยมากแต่เราภูมิใจมากที่พวกเขาได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของโลกเพื่อผลิตชิปที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับชิปที่ผลิตจากบริษัทชั้นนำของโลกได้ Synopsys กำลังพยายามประชาสัมพันธ์ทักษะความสามารถของบริษัทเวียดนามเหล่านี้กับลูกค้ารายใหญ่ทั่วโลก โดยหวังว่า เวียดนามจะพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถที่มีได้”
ชิป 5G DFE เป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จล่าสุดของเวียดนามในการผลิตชิพที่มีคุณภาพสูงที่มีไม่กี่ประเทศที่สามารถผลิตได้ ซึ่งช่วยให้เวียดนามสามารถเข้าร่วมอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกได้อย่างกว้างลึก
นาย โด๋เญิ๊ดหว่าง อธิบดีกรมการลงทุนจากต่างประเทศ สังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) |
เวียดนามไม่เพียงแต่สามารถคิดค้นออกแบบเพื่อผลิตไมโครชิปเซมิคอนดักเตอร์เท่านั้น แต่ยังนับวันกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลกอีกด้วย โดยบริษัทรายใหญ่ๆ ในด้านนี้ได้ลงทุนเงินนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐในเวียดนาม
โรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์รวมมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของกลุ่มบริษัท Amkor Technology ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทชั้นนำของสหรัฐในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ได้จัดพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการในจังหวัดบั๊กนิงห์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ซึ่งพิธีนี้มีขึ้นแค่ 1 เดือนหลังจากที่บริษัท Hana Micron Vina จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท Hana Micron ของสาธารณรัฐเกาหลีได้เปิดตัวโรงงานผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมเวินจุงในจังหวัดบั๊กยาง นี่คือโครงการผลิตเซมิคอนดักเตอร์แห่งแรกในภาคเหนือเวียดนาม รวมมูลค่าเกือบ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2023 เครือบริษัทเทคโนโลยี Marvell ของสหรัฐก็ประกาศเปิดตัวศูนย์ออกแบบไมโครชิพชั้นนำของโลกที่นครโฮจิมินห์ ช่วยให้ Marvell เวียดนามกลายเป็น 1 ใน 4 ศูนย์วิจัยระดับโลก พร้อมกับศูนย์วิจัยในอินเดีย สหรัฐและอิสราเอล นาย เลกวางด๋าม ผู้อำนวยการใหญ่ Marvell เวียดนามและนาย Hong – Sun นายกสมาคมสถานประกอบการสาธารณรัฐเกาหลีประจำเวียดนาม เผยว่า
“เราได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเวียดนามเป็นอย่างมาก ซึ่งในด้านเทคโนโลยี เรากำลังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด นี่คือโอกาสทอง ดังนั้น เวียดนามต้องพยายามใช้โอกาสนี้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครชิพ”
“ตอนนี้ผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดใช้ชิพ ดังนั้น การที่รัฐบาลเวียดนามสามารถดึงดูดโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลกได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาในระยะต่อไป”
การที่เวียดนามนับวันมีบริษัทใหญ่ๆ ด้านเซมิคอนดักเตอร์เข้ามาลงทุนได้แสดงให้เห็นถึงความดึงดูดของเวียดนามในด้านนี้ นาย โด๋เญิ๊ดหว่าง อธิบดีกรมการลงทุนจากต่างประเทศ สังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้ให้ข้อสังเกตว่า
“เวียดนามเริ่มสร้างสรรค์ระบบนิเวศในการผลิตชิพ ซึ่งเครือบริษัทชั้นนำต่างๆ ที่กำลังลงทุนในเวียดนามได้มีแผนการขยายขอบเขตการผลิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พวกเขาได้มีก้าวเดินที่มั่นคงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นับตั้งแต่ก้าวเดินแรกๆ ที่เริ่มเข้ามาลงทุนไปจนถึงการขยายตัวในการผลิต และในอนาคต สถานประกอบการต่างๆ ในด้านนี้จะลงทุนอีกนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐในเวียดนาม”การลงทุนเหล่านี้ถือเป็นการยืนยันถึงบทบาทที่นับวันสำคัญมากขึ้นของเวียดนามและเป็นโอกาสให้เวียดนามสร้างนิมิหมายในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ในทั่วโลก
นาย เหงวียนเถียนเหงีย รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดกระทรวงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ (nhandan.vn) |
เวียดนามได้มีแนวทาง เป้าหมายและปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้แก่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ลำดับต่อไป ขอเชิญท่านฟังความคิดเห็นของนาย เหงวียนเถียนเหงีย รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดกระทรวงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความพร้อมของเวียดนามในด้านนี้
“ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐ ยุโรป สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นนคือผลักดันกิจกรรมการผลิตภายในประเทศเพื่อเป็นฝ่ายรุกในห่วงโซ่อุปทาน พวกเราต้องตระหนักได้ดีว่า เมื่อเวียดนามอยากเข้าร่วมระบนิเวศนี้ ต้องเชื่อมโยงกับระบบนิเวศของประเทศที่มีความคล้ายคลึงในด้านจุดยืน โอกาส ความได้เปรียบและสนับสนุนกัน ผมคิดว่า เวียดนามมีโอกาสอีกมากเพราะเวียดนามมีนโยบายการทูตที่อิสระ พึ่งพาตนเองและพวกเราพร้อมร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆในภูมิภาค”
เพื่อให้เวียดนามสร้างนิมิตหมายในระบบนิเวศอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในโลก ต้องมีกระบวนการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เห็นว่า
"ในภาพรวม ผมคิดว่า เวียดนามต้องมียุทธศาสตร์คือดึงดูดสถานประกอบการต่างประเทศให้ขยายการผลิตและการประกอบธุรกิจในเวียดนาม ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมของภูมิภาค มีนโยบายเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถภายในประเทศ นอกจากนี้ พวกเราต้องเชื่อมโยงกับฐานการผลิตและห้องปฏิบัติการในโลกเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการสตาร์ทอัพเกี่ยวกับไมโครชิพเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดอย่างรวดเร็ว”
ปัจจุบัน ประเทศต่างๆในภูมิภาคกำลังมีนโยบายให้สิทธิพิเศษต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเวียดนามก็มีนโยบายสนับสนุนสถานประกอบการในด้านนี้เช่นกัน นาย เหงวียนเถียนเหงียประเมินว่า
“ผมคิดว่า นโยบายให้สิทธิพิเศษของเวียดนามมีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น การยกเว้นและลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น ผมคิดว่า นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนบริษัทเอฟดีไอที่เข้ามาลงทุนในด้านอิเล็กทรอนิกส์ในเวียดนามเพิ่มขึ้นในเวลาที่ผ่านมา”
การที่มีสถานประกอบการเอฟดีไอกว่า 50 แห่งที่เข้ามาลงทุนในด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเวียดนามในด้านนี้
“การชี้นำของรัฐบาลได้แสดงให้เห็นถึงจิตใจทางการเมืองที่เข้มแข็ง ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ พวกเราดีใจมากที่เวียดนามกำลังจัดทำยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เวียดนามและนโยบายให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ กำลังได้รับการปฏิบัติ”
“ จากการเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีรายได้ปานกลาง เวียดนามต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสม ผมคิดว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เป็นทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ เวียดนามควรลงทุนในการฝึกอบรมวิศวกรออกแบบชิพมืออาชีพ พัฒนาหน่วยงานออกแบบไอซี ผมเชื่อมั่นว่า จะมีส่วนช่วยผลักดันการขยายตัวอย่างข้ามขั้นให้แก่เศรษฐกิจเวียดนามในอีก 5-10 ปีข้างหน้า”
เพื่อใช้โอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ แหล่งบุคลากรมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเวียดนามได้มีการเตรียมความพร้อมให้แก่เรื่องนี้
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศใช้มติที่ 124 โดยกำชับให้กระทรวงและหน่วยงานต่างๆในการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งบุคลากรให้แก่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จนถึงปี 2030 ส่วนในการประชุมครั้งที่ 6 สภาแห่งชาติสมัยที่ 15 เมื่อเดือนตุลาคม นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้งได้ย้ำว่า
“ต้องเน้นฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงให้แก่หน่วยงานและด้านที่เพิ่งเกิดใหม่ โดยเฉพาะการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง 5 หมื่น -1 แสนคนให้แก่หน่วนงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในช่วงปี 2025 -2030"
ส่วนมหาวิทยาลัยต่างๆของเวียดนามได้รับสมัครและฝึกอบรมการออกแบบชิพ
“มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยมีผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติโครงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านไอซี จากขั้นตอนการออกแบบ การผลิตและเซมิคอนดักเตอร์ และการประยุกต์ใช้ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย มีจำนวนนักศึกษาที่กำลังเรียนด้านเทคนิค เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์”
“เราต้องใช้โอกาสเพื่อพัฒนา วิธีการของมหาวิทยาลัยเอฟพีทีคือร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆในทั่วโลกเพื่อนำหลักสูตรการศึกษามาสอนในเวียดนาม ร่วมมือกับบริษัทต่างๆอย่างเช่น Amkor เพื่อจัดสรรบุคลากรให้แก่บริษัท”
นาย หว่างมิงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศึกษาและฝึกอบรมเวียดนามได้ประเมินเกี่ยวกับการเป็นฝ่ายรุกของสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเห็นว่า วิธีการเข้าถึง การเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่มหาวิทยาลัย ครูอาจารย์และโครงสร้างพื้นฐานจะทำให้เวียดนามสามารถตอบสนองความต้องการด้านบุคลากในอีก 3 ปีข้างหน้าและจนถึงปี 2030...