ภาษาเวียดนามในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม

Kim Ngan - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – “ดิฉันไม่ทราบว่า ในประเทศอื่นๆเป็นอย่างไรแต่ในประเทศไทย เดี๋ยวนี้ ภาษาเวียดนามได้กลายเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาอาเซียนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดและได้เรียนมาที่สุด” นี่คือคำยืนยันของครูเหงียนถิซวนแอง สมาชิกของคณะชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่เป็นอดีตครูสอนภาษาเวียดนามในประเทศไทยที่ได้กลับเยือนประเทศเวียดนามในระหว่างวันที่ 6-13 ตุลาคมตามคำเชิญของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยชาวเวียดนามโพ้นทะเล ซึ่งถือเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในกรอบกิจกรรมฉลองครบรอบ 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับไทย

(VOVworld) – “ดิฉันไม่ทราบว่า ในประเทศอื่นๆเป็นอย่างไรแต่ในประเทศไทย เดี๋ยวนี้ ภาษาเวียดนามได้กลายเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาอาเซียนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดและได้เรียนมาที่สุด” นี่คือคำยืนยันของครูเหงียนถิซวนแอง สมาชิกของคณะชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่เป็นอดีตครูสอนภาษาเวียดนามในประเทศไทยที่ได้กลับเยือนประเทศเวียดนามในระหว่างวันที่ 6-13 ตุลาคมตามคำเชิญของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยชาวเวียดนามโพ้นทะเล ซึ่งถือเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในกรอบกิจกรรมฉลองครบรอบ 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับไทย

ภาษาเวียดนามในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม - ảnh 1
ครูเหงียนถิซวนแอง
ในกรอบการเยือนเวียดนาม คณะฯได้ไปเยือนสถานทูตไทยประจำเวียดนาม ซึ่งครูเหงียนถิซวนแองก็เหมือนอาจารย์ผู้หญิงทุกคนในคณะใส่ชุดประจำชาติอ๊าวหย่ายของเวียดนาม ในชุดอ๊าวหย่ายสีชมพูที่ติดดอกไม้สีเหลือง ซึ่งช่วยให้เธอดูเหมือนครูผู้หญิงเวียดนามมากกว่าชาวต่างชาติที่กลับมาเยือนบ้านเกิดเมืองนอน เธอบอกว่า “ในวันนี้ ไม่เพียงแต่ดิฉันเองเท่านั้น หากทุกคนในคณะฯต่างก็มีความปลื้มปิติยินดีที่ได้รับคำเชิญกลับมาเยือนประเทศเวียดนาม ขอขอบคุณพรรคและรัฐที่ยังจดจำส่วนร่วมของครูอาจารย์ที่สอนภาษาเวียดนามในประเทศไทย ชมรมชาวเวียดนามในประเทศไทยต่างพยายามสอนให้ลูกหลานธำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนาม โดยในวันตรุษเต๊ด พวกเรายังคงทำพิธีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีการปฏิบัติตามข้อห้ามต่างๆในวันขึ้นปีใหม่ มีการเลือกคนที่เข้าบ้านคนแรกเพื่อความเป็นสิริมงคลและมีการมอบอั่งเปา เป็นต้น”
เช่นเดียวกับครูซวนแอง ครูอาจารย์หลายคนในคณะฯก็เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ปีนี้ครูซวนแองมีอายุกว่า 60 ปีแล้วและก็สามารถพูดภาษาเวียดนามได้อย่างคล่องแคล่ว แต่กว่าที่จะสามารถพูดภาษาเวียดนามได้เช่นนี้ เธอและสมาชิกหลายคนก็ต้องตั้งใจเรียนหนักและใช้ความพยายามอย่างสูงเพราะว่า ในช่วงนั้น ภาษาเวียดนามไม่ได้เป็นภาษาที่เป็นทางการในระบบการศึกษาของไทย แต่อย่างไรก็ตาม ทุกครอบครัวชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยต่างพยายามให้ลูกหลานได้เรียนภาษาเวียดนามโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ครูดิงวันเม๊ย จากจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นนายกสมาคมชาวเวียดนามที่อาศัยในอำเภอทาบน จังหวัดหนองคายเล่าว่า “พ่อแม่ผมอพยพไปยังประเทศไทยและผมเกิดในประเทศไทยแต่พ่อแม่มีความปรารถนาว่า เมื่อเวียดนามมีสันติภาพ จะกลับประเทศ ดังนั้นท่านจึงพยายามสอนภาษาแม่ให้แก่ลูกๆ ดังนั้นคนเวียดนามที่อยู่อาศัยในประเทศไทยรุ่นที่สองเหมือนพวกเราจึงยังคงสามารถพูดภาษาเวียดนามได้อย่างคล่องแคล่ว แต่คนรุ่นหลังๆ พูดไม่ได้แล้ว อาจเพราะพ่อแม่ไม่พูดภาษาเวียดนามกับลูกๆอีก ดังนั้นการสอนภาษาเวียดนามในขณะนี้จึงลำบากมาก เพราะก็เหมือนเรากำลังสอนภาษาเวียดนามให้แก่คนต่างชาติ”
เมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนในปี 1995 โดยเฉพาะหลังการเยือนประเทศไทยของประธานประเทศเวียดนามเจิ่นดึ๊กเลืองเมื่อปี 1998 รัฐบาลไทยได้มีนโยบายที่เปิดกว้างสำหรับคนเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทย โดยอนุญาตและอำนวยความสะดวกให้แก่การสอนภาษาเวียดนามในประเทศไทย จนทำให้ภาษาเวียดนามกลายเป็น 1 ในภาษาอาเซียนที่นิยมเรียนกันในประเทศไทย ครูซวนแองเผยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้เชิญฉันและอดีตครูบางคนไปเข้าร่วมคณะกรรมการสอนภาษาเวียดนามของมหาวิทยาลัยฯ พวกเราได้พิมพ์วารสารฉบับแรก แม้ยังไม่สมบูรณ์แต่ก็มีส่วนช่วยรักษาและพัฒนาภาษาเวียดนามให้แก่ชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ดิฉันเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ ถ้าหากใครมาเรียนคณิตศาสตร์ ฉันจะสอนภาษาเวียดนามให้ด้วย ในตอนแรกมีแค่ลูกหลานของคนเวียดนามมาเรียนเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้มีทั้งคนไทยเชื้อสายจีนและคนไทยมาเรียน โดยเฉพาะมีดร.จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีและเจ้าหน้าที่ข้าราชการคนไทยมาเรียนด้วย เพราะชอบภาษาเวียดนาม”
ภาษาเวียดนามในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม - ảnh 2
คณะฯเยือนสถานทูตไทยประจำเวียดนาม
ชั้นเรียนภาษาเวียดนามที่เปิดในชุมชนชาวเวียดนามในประเทศไทยแต่ละชั้นมีนักเรียนกว่า 10 คนและใช้เวลาสอนประมาณคาบละกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งต่างได้รับคำชื่นชมว่า มีประสิทธิภาพมาก ครูเลก๊วกวี จากจังหวัดอุบลราชธานีประเมินว่า “ผมสอนภาษาเวียดนามสัปดาห์ละสองวัน คือค่ำวันเสาร์และวันศุกร์ ตั้งแต่ 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม นักเรียนทุกคนชอบมาก เพราะช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ภาษาเวียดนามเพื่อพูดคุยหรือร้องเพลงในงานแต่งงานหรือในกิจกรรมต่างๆของชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทย ผมได้ส่งบทเรียนผ่านทางไลน์ให้นักเรียนทำ แล้วพวกเขาก็ส่งการบ้านให้ผมผ่านไลน์ นี่คือรูปแบบการสอนใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาก”
ปัจจุบันนี้ ที่ประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เปิดสอนภาษาเวียดนาม อย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมหาสารคามยังมีการตั้งคณะภาษาเวียดนามด้วย โดยในช่วงเริ่มต้น มหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้ว่าจ้างครูเวียดนามมาสอนแต่เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่ใช้ครูคนไทยสอนแล้ว ซึ่งการพัฒนานั้นก็มาจากการสนับสนุนของรัฐบาลไทยดังคำกล่าวของนายเหงียนเติ๊ดแถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทยว่า “ฝ่ายไทยได้ให้การสนับสนุนการสอนภาษาเวียดนามในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยถือเป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งของอาเซียน จากการดำเนินนโยบายผสมผสานเข้ากับกระแสอาเซียน รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาอาเซียนทุกภาษาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ ปัจจุบันในประเทศไทย มีโรงเรียนประมาณ 40 แห่งที่สอนภาษาเวียดนาม”
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดการเรียนการสอนภาษาเวียดนามให้แก่นักเรียนและครูอาจารย์ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี โดยมีกงสุลใหญ่เวียดนามประจำจังหวัดขอนแก่นเข้าร่วมในพิธีเปิด นี่คือกิจกรรมส่วนหนึ่งเพื่อผลักดันการเรียนการสอนภาษาเวียดนามในประเทศไทยของรัฐบาลทั้งสองประเทศ จากการจัดกิจกรรมเหล่านี้ สามารถเชื่อมั่นได้ว่า ความปรารถนาในวันนี้ของสมาชิกทุกคนในคณะชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่เป็นอดีตครูสอนภาษาเวียดนามในประเทศไทยเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเวียดนาในประเทศไทยจะกลายเป็นความจริงอย่างแน่นอน.

คำติชม

นายมานิตย์ ยศสุวรรณภาณุ (Ông Nguyễn Văn Ân)

ผมขอเพิ่มเติม ส่วนของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จ.มุกดาหาร สำหรับแถวหน้าจากขวาไปซ้าย ลำดับที่7 นางดวงใจ ยศสุวรรณภาณุ (Nguyễn Khoa Thu Hường... Xem thêm