พบกับผู้ผลิตรายการภาคภาษาเวียดนาม ณ ฝรั่งเศส

Chia sẻ

( VOV ) - ผมกับภรรยาคิดถึงบ้านเกิดทุกขณะจิตในตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา  พวกเรายังถือสัญชาติเวียดนามเพื่อกลับไปเยือนถิ่นเกิดเมื่อโอกาสอำนวย  นี่คือความในใจของคุณลุงโงเทียนเฮิ้นวัย ๗๙ กับภรรยาที่กำลังอาศัยและทำงานในนครทูลูส ภาคใต้ฝรั่งเศส คุณลุงโงเทียนเฮิ้นเป็นครู แต่มาผูกพันกับการกระจายเสียงกว่า ๓๐ ปี  ครอบครัวของท่านกับชาวฝรั่งเศสที่พูดภาษาเวียดนามเป็นได้เป็นคนริเริ่มและพัฒนารายการภาคภาษาเวียดนามสำหรับชาวเวียดนามที่อาศัยในฝรั่งเศส



( VOV ) - ผมกับภรรยาคิดถึงบ้านเกิดทุกขณะจิตในตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา  พวกเรายังถือสัญชาติเวียดนามเพื่อกลับไปเยือนถิ่นเกิดเมื่อโอกาสอำนวย  นี่คือความในใจของคุณลุงโงเทียนเฮิ้นวัย ๗๙ กับภรรยาที่กำลังอาศัยและทำงานในนครทูลูส ภาคใต้ฝรั่งเศส คุณลุงโงเทียนเฮิ้นเป็นครู แต่มาผูกพันกับการกระจายเสียงกว่า ๓๐ ปี  ครอบครัวของท่านกับชาวฝรั่งเศสที่พูดภาษาเวียดนามเป็นได้เป็นคนริเริ่มและพัฒนารายการภาคภาษาเวียดนามสำหรับชาวเวียดนามที่อาศัยในฝรั่งเศส

พบกับผู้ผลิตรายการภาคภาษาเวียดนาม ณ ฝรั่งเศส - ảnh 1
คุณลุงเฮิ้นกับภรรยา

คุณลุงเฮิ้นเกิดและเติบโตที่ซ๊อกจัง และได้ไปเรียนที่ฝรั่งเศสเมื่อยังเป็นเด็ก  เมื่อจบการศึกษาท่านได้อยู่ในฝรั่งเศสต่อและทำอาชีพครูเพื่อดำรงชีพ  สมัยสงครามต่อต้านฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา คุณเฮิ้นได้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาที่รุกรานเวียดนามกับเพื่อนๆที่เป็นสมาชิกสหพันธ์ชาวเวียดนามโพ้นทะเลซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสมาคมชาวเวียดนามที่อาศัยในทูลูสจนประเทศได้รับเอกราช  ช่วงคริสตศักราช ๑๙๗๐ สถานการณ์ในสมรภูมิภาคใต้มีการเปลี่ยนแปลง ทางการฝรั่งเศสได้บังคับให้ชาวเวียดนามที่อาศัยในฝรั่งเศสต้องถือสัญชาติฝรั่งเศส แต่ท่านกับภรรยาไม่ยอมทำตาม  ปี ๑๙๗๕ ท่านกับภรรยาได้เปิดร้านอาหารแห่งหนึ่งและยังคงถือสัญชาติเวียดนาม  ซึ่งท่านกับภรรยาเป็นชาวเวียดนามน้อยคนที่อาศัยอยู่ในนครทูลูสที่ยังถือสัญชาติเวียดนามมาจนปัจจุบัน  คุณลุงเฮิ้นเล่าว่า  “ ปี ๑๙๗๕ ประเทศได้รับเอกราชและรวมเป็นหนึ่งเดียว  ตั้งแต่ปี ๑๙๗๓ สำนักงานศึกษาธิการของฝรั่งเศสได้แจ้งมาว่าผมต้องถือสัญชาติฝรั่งเศส หากไม่ทำก็จะต้องเลิกทำงานเพราะทางการฝรั่งเศสให้สิทธิ์มีงานทำแก่คนของเขาเท่านั้น  ดังนั้นผมจึงตัดสินใจลาออกเพื่อรักษาสัญชาติเวียดนามอีกทั้งเป็นการแสดงความซื่อสัตย์ต่อประเทศและเพื่อนๆที่อยู่ในประเทศ

ปี ๑๙๘๑ รัฐบาลฝรั่งเศสได้อนุญาตให้จัดตั้งสถานีวิทยุเสรี  จากความช่วยเหลือของเพื่อนมิตรชาวฝรั่งเศสที่ก้าวหน้า ปี ๑๙๘๒ พวกเขาสามารถเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงอ๊อคซีตานี ซึ่งเป็นสถานีวิทยุของเขตทูลูสและเขตปริมณฑลสำหรับชาวเวียดนามในพื้นที่ รวมทั้งรายการ Gio Mua หรือ“ ลมมรสุม ” สำหรับชาวเวียดนามก็ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยออกอากาศสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง  คุณลุงเฮิ้นเล่าเรื่องการทำรายการภาษาเวียดนามที่มีทั้งความสะดวกและความลำบากเพื่อที่จะรักษารายการภาคภาษาเวียดนามมาจนถึงขณะนี้ว่า ตอนเริ่มแรก ท่านกับเพื่อนกลุ่มหนึ่งเตรียมข่าว บทความและทำหน้าที่เอดิตเพื่อเผยแพร่ออกอากาศ  มาระยะหนึ่งก็ประสบกับปัญหา “ ประมาณ ๑ ปีครึ่ง ผู้ประกาศข่าวและผู้สื่อข่าวของสถานีฯต้องทำมาหากินเลี้ยงชีพจึงไม่มาทำงาน บ้างก็ไปสหรัฐอเมริกา บ้างก็ทำงานที่กรุงปารีสหรือแต่งงาน  เหลือเพียงผมคนเดียว  ขณะนั้นผมครุ่นคิดว่าจะเลิกทำรายการหรือไม่ ในที่สุดผมได้ตัดสินใจเดินหน้าทำรายการต่อไป  เพราะในเขตนี้ไม่มีรายการภาคภาษาเวียดนาม มีแต่ที่นี่ที่มีรายการภาคภาษาเวียดนาม

ตั้งแต่นั้นมา คุณเฮิ้นต้องเป็นทั้งผู้ทำข่าว เรียบเรียงข่าวและผู้ประกาศข่าวเพื่อเสนอข่าวเกี่ยวกับเวียดนามให้แก่ชมรมชาวเวียดนามและแรงงานสูงวัยชาวเวียดนามที่ทูลูส พร้อมเสนอความรู้ต่างๆทางสังคมให้แก่ชาวเวียดนามที่เพิ่งมาฝรั่งเศส  ท่านเฮิ้นได้มีการปรับปรุงรายการมาตลอด โดยรายการหนึ่งจะแบ่งเป็น ๒ ภาค ภาคข่าวประมาณ ๓๐ นาทีจะเป็นข่าวเกี่ยวกับเวียดนาม ส่วนอีก ๑๐ นาทีเป็นรายการสารคดีเกี่ยวกับวัฒนธรรม สังคม ทัศนียภาพที่สวยงาม ชีวิตประจำวันของชาวเวียดนามในประเทศ สถานที่ท่องเที่ยวและอาหารการกินในเวียดนาม ข้อมูลและข่าวของรายการมาจากหลายแหล่งไม่ว่าจะเป็นจากนสพ.ภายในประเทศ เช่น เตี่ยนฟอง ลาวด่ง ไซ่ง่อนหย่ายฟ้อง และมาจากอินเตอร์เน็ตด้วย รวมทั้งมีรายการภาษาฝรั่งเศสไว้บริการชาวฝรั่งเศส ชาวเวียดนามที่ต้องห่างไกลจากบ้านเกิดมาเนินนานและชาวเวียดนามรุ่นที่ ๒ และ ๓ ที่ไม่เข้าใจภาษาเวียดนาม  รายการนี้ใช้เวลา ๑๐ นาที  คุณลุงเฮิ้นเล่าต่อไปว่า ตอนแรกท่านกับเพื่อนร่วมงานต้องเก็บข่าวจากการฟังเครื่องรับวิทยุแล้วจด นำมาเขียนใหม่และอ่าน พวกเขาต้องทำอย่างนี้มาหลายปี  เดี๋ยวนี้มีอินเตอร์เน็ตจึงสบายขึ้นหน่อย

ปัจจุบันนี้ แม้อายุจะมากแล้วแต่คุณลุงเฮิ้นและภรรยายังคิดถึงบ้านเกิดอย่างมิรู้วายและยังอยากทำงานมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศ  ท่านกับภรรยาได้เข้าร่วม “ สมาคมช่วยเหลือซึ่งกันและกันฝรั่งเศส-เวียด ” และได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการสร้างกองทุนช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาในเวียดนามโดยใช้สโลแกนว่า ๓๕ ยูโร่จะช่วยให้คนตาบอด ๑ คนสามารถมองเห็นได้   ซึ่งจากจิตใจแห่งกุศลของสมาชิกในสมาคมนั้น คนเวียดนามผู้พิการทางสายตานับร้อยคนได้รับการผ่าตัดและสามารถมองเห็นได้อีกครั้ง  ครอบครัวของคุณลุงเฮิ้นยังมีแผนสอนภาษาเวียดนามให้แก่ลูกหลานชาวเวียดนามและคู่สามีภรรยาชาวเวียดนามที่แต่งงานกับชาวฝรั่งเศสรุ่นที่ ๒ และ ๓ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติและมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศส ./.

ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำฝรั่งเศส

คำติชม