นักข่าวฟานกวางกับหนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว”

Ái Kiều
Chia sẻ
(VOVWORLD) - สถานีวิทยุเวียดนามเพิ่งจัดพิธีเปิดตัวหนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว” ที่เรียบเรียงโดยรองศาสตราจารย์ ดร.เหงวียนถิเจื่องยาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสรรคข้อมูลเกี่ยวกับนักข่าวฟานกวางและผลงานที่โดดเด่นของเขาในตลอด 70ปีที่เป็นนักข่าว


นักข่าวฟานกวางกับหนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว” - ảnh 1 นักข่าวฟานกวาง

รองศาสตราจารย์ดร.เหงวียนถิเจื่องยางได้วิจัยบทความหลายร้อยบทเกี่ยวกับนักข่าวฟานกวางเพื่อเรียบเรียงหนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว” ซึ่งก็มีนักเขียนและนักข่าวหลายคนที่เขียนบทความเกี่ยวกับนักข่าวฟานกวาง เช่น นักเขียนโงถาว ศาสตราจารย์ หว่างจิง นักข่าวฝ่ามก๊วกตว๊าน นักข่าวอีจางและนักเขียนดว่านมิงต๊วน แม้วิธีการเข้าถึงและรูปแบบการเขียนจะแตกต่างกันแต่บทความต่างๆล้วนระบุว่า ฟานกวางเป็นนักข่าว นักเขียน นักวัฒนธรรม นักแปลที่มีความรู้เชิงลึกในหลายด้าน มีน้ำใจที่อบอุ่นกับเพื่อนร่วมงาน ประชาชนและประเทศ  โดยในช่วงหลังศตวรรษที่ 20 ฟานกวางได้เป็นที่รู้จักในวงการสื่อมวลชนและวรรณกรรมเวียดนามไม่เพียงแต่จากการเป็นผู้บริหารด้านสื่อมวลชนและสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น หากยังเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงจากการเขียนหนังสือจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งแม้จะเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่นักข่าวฟานกวางกำลังปฏิบัติงาน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิทหรือเป็นผู้อ่านทั่วประเทศต่างก็ยกย่องผลงานและบุคลิกภาพของนักข่าวฟานกวาง นักข่าว บุ่ยหว่างต๊าม จากเว็บไซต์ Dân trí ได้เผยว่า“ผมรู้จักท่านฟานกวางผ่านบทความและผลงานแปลเรื่อง “พันหนึ่งราตรี" ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมชอบมาตั้งแต่เด็ก ส่วนในช่วงที่ผมมาทำงานที่หนังสือพิมพ์ Nhà báo và Công luận ท่านฟานกวางดำรงตำแหน่งประธานสมาคมนักหนังสือพิมพ์ ดังนั้น ผมได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับท่านมากขึ้น ซึ่งท่านเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นนักข่าวอาวุโสที่มีชื่อเสียงในวงการสื่อมวลชน ซึ่งในการเปิดตัวหนังสือใหม่ทุกเล่ม ท่านก็ได้เซ็นต์ชื่อบนหนังสือเพื่อมอบให้แก่ผมด้วย”

นักข่าวฟานกวางกับหนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว” - ảnh 2หนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว” 

หนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว”บรรยายถึงภาพของนักข่าวฟานกวางในหลายแง่มุมอย่างมีชีวิตชีวา โดยกวีเจ๊ลานเวียนได้ชื่นชมนิสัยการทำงานของท่านฟานกวาง ในขณะที่นักข่าวหว่างตุ่ง ซึ่งเป็นบรรณาธิการใหญ่หนังสือพิมพ์เยินเซิน หรือ ประชาชนในช่วงที่ท่านฟานกวาง ทำงานเป็นนักข่าวที่หนังสือพิมพ์เยินเซินได้ให้ข้อสังเกตว่า “ฟานกวางเป็นหนึ่งในนักข่าวที่ไปดูงานและเขียนบทความมากที่สุด โดยเขาได้ปั่นจักยานท่ามกลางการโจมตีทางอากาศและการทิ้งระเบิดของสหรัฐ” ส่วนศาสตราจารย์ห่ามิงดึ๊กได้เขียนว่า นักข่าวฟานกวางเปรียบเหมือนสายน้ำที่ ไหลผ่าน2 ฝั่ง คือหนังสือพิมพ์และวรรณกรรม ส่วนบทความของนักข่าวฝ่ามก๊วกตว่านได้ระบุว่า “ในวัย 90ปี นักข่าวและนักเขียนฟานกวางยังมีสุขภาพแข็งแรง และยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ รวมถึงอ่านหนังสือและเขียนบทความได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ท่านก็ยิ่งเขียนบทความที่มีความลึกซึ้งมากขึ้น” นักข่าวเจืองก๋งหว่า อดีตเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเวียดนามได้เผยว่า“ท่านฟานกวางมีแฟนติดตามผลงานจำนวนมาก โดยมีหลายคนติดตามและสะสมบทความและหนังสือของท่านในตลอดหลายสิบปี  ซึ่งการสะสมและเรียบเรียงหนังสือเกี่ยวกับท่านฟานกวางถือเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อมวลชน  ท่าน ฟานกวางเปรียบเหมือนต้นสนทะเลต้นใหญ่ที่มีพลังที่เข้มแข็งในเนินทรายที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีให้ทุกคนปฏิบัติตาม”

นักข่าวฟานกวางกับหนังสือเรื่อง “ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว” - ảnh 3 ท่าน ฟานกวาง

ส่วนเพื่อนร่วมงานในสถานีวิทยุเวียดนามต่างก็ชื่นชมการบริหารงานอย่างยอดเยี่ยมของท่านฟานกวางในฐานะเป็นประธานสถานีวิทยุเวียดนาม โดยเฉพาะการผลักดันการเปลี่ยนแปลงใหม่ในทุกด้านของสถานีวิทยุเวียดนามและมาจนถึงปัจจุบันนี้แม้อายุจะมากแล้ว แต่ท่านฟานกวางก็ยังไม่หยุดคิดเกี่ยวกับเส้นทางการพัฒนาสถานีวิทยุเวียดนาม

“ผมได้ใช้ช่วงหนึ่งของชีวิตที่สถานีวิทยุเวียดนาม และผมก็ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้แก่การงานในสถานีวิทยุเวียดนาม ผมคิดว่า วิทยุยังคงมีบทบาทสำคัญในกลไกสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน ซึ่งผู้ทำงานด้านวิทยุต้องเปลี่ยนแปลงใหม่อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ใหม่และต้องให้ความสำคัญต่อการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ทั้งนี้ วิทยุจะยังคงมีบทบาทที่สำคัญเพราะเสียงพูดคือสิ่งมีค่าของมนุษย์”

หนังสือเรื่อง“ฟานกวาง – 90ปีของชีวิตและ70ปีของการเป็นนักข่าว”ไม่เพียงแต่บรรยายถึงภาพของนักข่าวอาวุโสคนหนึ่งเท่านั้น หากยังสะท้อนภาพรวมของสื่อมวลชนเวียดนามและสื่อถึงการเป็นนักข่าวอีกด้วย  นักปรัชญาโบราณเคยบอกว่า “เราคิดก็คือเรายังอยู่”  ส่วนสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชน นักข่าวฟานกวาง ได้บอกว่า “เราเขียนก็คือเรายังอยู่”./.

คำติชม