พิธีเปิดตัวธนาคารรดีเอ็นเอทหารพลีชีพเพื่อชาติ (dangcongsan.vn) |
ในหลายปีที่ผ่านมา การระบุชื่ออัฐิทหารพลีชีพเพื่อชาติคือหน้าที่ที่พรรคและรัฐให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ โดยการระบุผ่านดีเอ็นเอถือเป็นมาตรการหลัก โดยเฉพาะสำหรับอัฐิที่ขาดข้อมูลและไม่สามารถระบุด้วยเทคนิคอื่นๆ ได้ การระบุข้อมูลอัฐิของทหารพลีชีพเพื่อชาติเกือบ 10,000 ชุดด้วยดีเอ็นเอกับตัวอย่างดีเอ็นเอของญาติของทหารพลีชีพเพื่อชาติกว่า 3,000 ชุดได้ช่วยระบุอัฐิทหารพลีชีพได้กว่า 1,000 ชุด ซึ่งครอบครัวของทหารพลีชีพเพื่อชาติ ฟานมิงห์ญามในจังหวัดท้ายบิ่งห์และทหารพลีชีพเพื่อชาติ ฝ่ามวันเฟือก ในจังหวัดแทงฮว้ารู้สึกดีใจมากที่ได้พบอัฐิที่หายไปนานถึง 50 ปีและได้ถูกส่งกลับมาทำพิธีฝังที่บ้านเกิดแล้ว
“ผมเป็นน้องชายของทหารพลีชีพเพื่อชาติ ฟานมิงห์ญาม ผ่านมาเกือบ 50 ปีวันนี้พี่ชายของผมได้กลับบ้านตามที่ครอบครัวเราปรารถนาแล้ว ตอนที่พ่อแม่ของผมยังมีชีวิตอยู่ ถ้าหากได้ยินข่าวว่า พบอัฐิของพี่ชายที่ไหน พ่อแม่ก็ไปหาทันที ตอนนี้พ่อแม่ผมได้จากไปแล้ว ผมจะนำอัฐิของพี่ชายกลับบ้าน ”
“ก่อนที่จากไป พ่อแม่ผมได้บอกว่า ต้องหาอัฐิของพี่ชายให้ได้ ในหลายปีที่ผ่านมา เราได้พยายามหาอัฐิของพี่ชายอย่างยากลำบากมาก แต่วันนี้ เราหาเจอแล้ว ในที่สุดพี่ชายของผมก็ได้กลับบ้าน”
ความสุขของครอบครัวทหารพลีชีพเพื่อชาติที่เจออัฐิของพวกเขาได้ช่วยสร้างความหวังให้แก่ครอบครัวทหารพลีชีพอื่นๆ ที่ยังไม่เจออัฐิของญาติมิตร
“พ่อฉันเป็นทหารพลีชีพเพื่อชาติ ชื่อ ฝ่ามวันฟิง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมปี 1970 ในภาคตะวันออกของประเทศลาว ตอนนี้ ยังหาอัฐิไม่พบ ครอบครัวเราใช้เวลาค้นหามาตลอด 20 ปี แต่ฉันยังหวังว่า จะสามารถหาอัฐิของท่านเจอ”
“เมื่อปี 1977 เราเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อปกป้องชายแดนในภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีสหาย 10 คนพลีชีพเพื่อชาติ มี 1 นายที่สละชีพที่จังหวัดเตยนิงห์ แต่ถึงขณะนี้ยังหาอัฐิไม่พบ เราก็พยายามหาตามสุสานต่างๆ แต่ก็ยังไม่เจอ พวกเรา โดยเฉพาะครอบครัวของเขาก็มีความปรารถนาเป็นอย่างมากที่จะหาเจออัฐิของเขา”
นาย ด่าวหงอกยุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคม (baotintuc.vn) |
นั่นคือแรงจูงใจให้สำนักงานที่เกี่ยวข้องพยายามค้นหาอัฐิและระบุชื่อทหารพลีชีพเพื่อชาติที่ยังขาดข้อมูลต่อไป นาย ด่าวหงอกยุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเผยว่า
“การเก็บดีเอ็นเอของอัฐิราว 600,000 ชุดที่ยังไม่สามารถระบุชื่อนั้นจะเป็นพื้นฐานในการตรวจสอบยืนยันอัฐิและการเก็บไว้ที่ธนาคารดีเอ็นเอนั้นเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่การค้นหาและระบุชื่อทหารพลีชีพเพื่อชาติที่ยังขาดข้อมูลอยู่ นี่คือภารกิจที่มีความหมายมาก เราต้องทำโดยเร็วที่สุด แต่นี้เป็นภารกิจที่ยากลำบากซึ่งต้องทำด้วยใจ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลแห่งชาติเกี่ยวกับประชากรและเทคโนโลยีดีเอ็นเอจะนำความหวังมาให้แก่ครอบครัวทหารพลีชีพและช่วยแบ่งปันความปวดร้าวให้แก่พวกเขา”
เวียดนามมีทหารพลีชีพเพื่อชาติกว่า 1.2 ล้านคน ถึงแม้สงครามได้ผ่านพ้นไปแต่ครอบครัวญาติมิตรของทหารพลีชีพและสหายหลายนายยังคงเดินหน้าค้นหาอัฐิญาติมิตรของพวกเขา โดยหวังว่า จะนำอัฐิของทหารพลีชีพเพื่อชาติราว 180,000 ชุดกลับบ้านเกิดและระบุชื่อให้แก่ทหารพลีชีพเพื่อชาติเกือบ 300,000 นายในสุสานต่างๆ ทั่วประเทศ คณะกรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับการค้นหา สะสมและระบุชื่อทหารพลีชีพเพื่อชาติได้ตั้งเป้าหมายว่า จะสามารถรวบรวมอัฐิของทหารพลีชีพได้ประมาณ 1,500 ชุด ตรวจสอบดีเอ็นเออัฐิทหารพลีชีพราว 2,000 ชุด ยกระดับทักษะความสามารถและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจสอบดีเอ็นเอและฐานข้อมูลเกี่ยวกับดีเอ็นเอในปี 2024 เพื่อมีส่วนร่วมระบุชื่อให้แก่ทหารพลีชีพเพื่อชาติทั่วประเทศอีกต่อไป.