ชาวเขาในจังหวัดแค๊งหว่า ปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์

Chia sẻ
(VOVWORLD) -สำหรับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่อำเภอเขตเขาหลายแห่งของจังหวัดแค๊งหว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้เลือกแนวทางการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชพร้อมวิธีการเพาะปลูกให้มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ เพื่อสามารถค้ำประกันความปลอดภัยทั้งสำหรับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรยกระดับประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
ชาวเขาในจังหวัดแค๊งหว่า ปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ - ảnh 1ทุเรียนแค๊งเซิน ได้รับความนิยมจากลูกค้า

ปัจจุบัน ในอำเภอเขตเขาแค๊งเซิน จังหวัดแค๊งหว่า มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 2,600 เฮกตาร์ โดยคาดว่าผลผลิตในปี 2024 จะอยู่ที่ 17,000 ตัน สร้างรายได้กว่า 1 ล้านล้านด่องหรือราว 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยชาวสวนในพื้นที่กำลังปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐาน พร้อมรหัสพื้นที่เพราะปลูก ซึ่งในนั้น มีพื้นที่ประยุกต์ใช้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือ VietGAP อยู่ที่กว่า 350 เฮกตาร์ รวมถึง รหัสพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน 15 แห่งที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกไปยังประเทศจีนอย่างเป็นทางการ รวม 430 เฮกตาร์

สำหรับตำบล เซินเลิม มีพื้นที่ปลูกทุเรียนราว 1 พันเฮกตาร์  ซึ่งใหญ่สุดในจังหวัด แค๊งหว่า ในปีนี้ สามารถเก็บผลผลิตได้สูงและขายได้ราคาดี ซึ่งหลังการเก็บผลผลิต ทุกครัวเรือนจะเริ่มกระบวนการดูแลต้นทุเรียนและใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่ฤดูกาลเพาะปลูกในปีหน้าตามแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี นาง เลมิงก๋าม อาศัยในหมู่บ้านโกหรา ตำบลเซินเลิม อำเภอแค๊งเซิน เผยว่า เขาใช้ปุ๋ยหมักปลาในสวนทุเรียนขนาด 4 เฮกตาร์ ซึ่งตั้งแต่ที่ใช้ ดินที่ปลูกมีความร่วนซุยและระบายอากาศได้ดีขึ้น ทำให้ต้นทุนเรียนเจริญเติบโตได้ดี และสำคัญคือ ความปลอดภัยต่อผู้ดูแลและผู้บริโภคอีกด้วย

“หลังจากใส่ปุ่ย 15 วัน ก็เริ่มมีการออกดอกอย่างสม่ำเสมอ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผมใช้แต่ปุ๋ยหมักปลา ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างมาก และแทบจะไม่ค่อยได้ใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว ช่วยทำให้ใบใหญ่และหนา ไม่เจอโรคไฟทอปธอร่าอีก ซึ่งหลังการเก็บผลผลิต ก็ต้องใส่ปุ๋ยชนิดนี้โดยเร็วเพื่อให้ต้นทุเรียนออกดอกและแข็งแรง”

นอกเหนือจากทุเรียนแล้ว ทางอำเภอเขตเขาแค๊งเซิน ยังมีการจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกเฉพาะส่วน เช่น กล้วย ขนุน ปัจจุบัน ทั่วทั้งอำเภอมีพื้นที่ปลูกไม้ผลกว่า 3,500 เฮกตาร์ ผลผลิตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่กว่า 22,000 ตัน ซึ่งมีชาวบ้านชนเผ่ารักลาย Raglay ได้ปลูกต้นกล้วยบนไหล่เขาในรูปแบบออร์แกนิก ในขณะที่มีสถานประกอบการบางแห่งได้ประสานกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย เช่น กล้วยตากแห้ง ผงกล้วย น้ำส้มสายชูหมักจากกล้วย น้ำผึ้งกล้วย เป็นต้น หลังจากนั้น จะมีการจัดจำหน่ายไปยังหลายเมืองและจังหวัดทั่วประเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือช่องทางอีคอมเมิร์ซ นาง เหงวียนถิเฮืองแทง เจ้าของโรงแปรรูปกล้วย อานหว่า ในอำเภอแค๊งเซิน เผยว่า

ต้นกล้วยถือเป็นสินค้าเกษตรท้องถิ่นอันทรงคุณค่าของอำเภอแค๊งเซิน ซึ่งกล้วยพันธุ์นี้มีรสชาติหวานอร่อยมาแต่ดั้งเดิม  มีกลิ่นหอม และเนื้อสีเหลือง ฉันอยากเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรให้แก่ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยพยายามพัฒนาพื้นที่เพาะปลูก การรับซื้อจากชาวบ้านชนกลุ่มน้อยอย่างมั่นคงมากขึ้น พร้อมราคาที่ดี ซึ่งช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างสบายใจ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่วนครอบครัวของพวกก็สามารถนำสินค้าที่มีคุณภาพไปสู่ผู้บริโภค

ชาวเขาในจังหวัดแค๊งหว่า ปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ - ảnh 2พื้นที่ปลูกทุกเรียนในอำเภอเขตเขาแค้งเซิน

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทางการอำเภอเขตเขาแค๊งเซิน ได้มีการวิจัยและพัฒนาพืชทางการเกษตรหลากหลายชนิด รวมถึงพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกไม้ผลพื้นเมืองที่ช่วยสร้างก้าวกระกระโดดทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ที่สูงขึ้นให้แก่ชาวบ้าน นาย ดิงวันหยุง ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอแค๊งเซิน จังหวัดแค๊งหว่า เผยว่า ในเวลาข้างหน้า ทางอำเภอจะจัดตั้งรูปแบบการผลิตเกษตรอินทรีย์นำร่อง แล้วจากนั้นจะขยายไปยังพื้นที่ผลิตอื่นๆ ในจังหวัด อีกทั้งให้การสนับสนุนเกษตรกรและสหกรณ์ ในการจัดคอร์สฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์และความรู้ด้านการตลาด

การเพาะปลูกตามแนวทางเกษตรอินทรีย์นั้นจะไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ถ้าหากไม่มีบาร์โค้ด ไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ หรือไม่มีรหัสพื้นที่เพาะปลูก โดยราคาขายอาจสูงถึงถึงร้อยละ 50 ดังนั้น แน่นอนว่า แนวโน้มดังกล่าวก็จะสอดคล้องกับการพัฒนาผลไม้ออร์แกนิกและผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ ซึ่งอาจมีการส่งออกสินค้าไปยังหลายประเทศในอนาคตอันใกล้นี้

ทั้งนี้ ในยุคกระแสการพัฒนาเกษตรกรรมสะอาดและเกษตรอินทรีย์ อำเภอคแค๊งเซินกำลังมุ่งเป้าไปยังการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาภาคเกษตรกรรมตามแนวทาง “การผลิตทางการเกษตร” สู่ “เศรษฐกิจการเกษตร” อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตจากการเกษตรสีเขียว การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ยืดอายุพืชผล พร้อมการสร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาวให้แก่ชาวบ้าน รวมถึงการผลักดันเกษตรอินทรีย์ควบคู่กับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของท้องถิ่น ./.

คำติชม