(VOVworld) – เพื่อช่วยให้ประชาชนในเขตชายแดนยกระดับจิตสำนึก เจ้าหน้าที่ทหารในค่ายทหารป้องกันชายแดน อีอา รเว จังหวัดดั๊กลักได้เปิดชั้นเรียนหลายชั้นเพื่อช่วยให้ประชาชนในตำบล อีอา รเว ในอำเภอ เออา ซุป มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนซึ่งการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนี้ได้ช่วยผลักดันความเชื่อมั่นและความรักของประชาชนต่อทหารชายแดนและมีส่วนร่วมพิทักษ์รักษาเขตชายแดนของปิตุภูมิอย่างมั่นคง
ชั้นเรียนภาคค่ำของครูทหารในจังหวัดดั๊กลัก (vietnamplus)
|
หลายเดือนมาแล้วที่เมื่อถึงเวลา 20.00 น. ในทุกๆวัน ห้องเรียนในโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้าน 11 ตำบล อีอา รเว ในอำเภอ อีอา ซุป ซึ่งเป็นเขตชายแดนที่ห่างไกลความเจริญได้มีเสียงเรียนหนังสือที่คึกคักของนักเรียนโดยครูอาจารย์ทหารจัดขึ้น นี่คือชั้นเรียนแห่งที่ 3 โดยค่ายทหารป้องกันชายแดนอีอา รเว โดยมีความประสงค์ว่า จะช่วยให้ประชาชนในเขตชายแดนสามารถอ่านออกเขียนได้ เพิ่มความรู้ในการเรียนรู้วิธีการทำมาหากินและในการปฏิบัติตามระเบียบการชายแดน นโยบายและกฎหมายของรัฐ
ชั้นเรียนขจัดความไม่รู้หนังสือนี้มีนักเรียนรวม 22 คนจากหมู่บ้าน 11 และหมู่บ้าน 4 ของตำบล อีอา รเว ในอำเภอ อีอาซุปโดยนักเรียนที่มีอายุน้อยที่สุดคือ 15 ปีและอายุสูงที่สุดคือ 40 ปีที่โยกย้ายจากจังหวัดต่างๆในเขตเขาภาคเหนือและจังหวัดเบ๊นแจมาตั้งถิ่นฐานใหม่ นาย เลวันหยุง อายุ 40 ปี ได้เผยว่า จากการเข้าร่วมชั้นเรียนของทหารชายแดน ตนมีความสะดวกมากขึ้นในการทำมาหากิน“ผมอ่านเป็นแล้ว เช่นการทำนาต้องใส่ปุ๋ยเพื่อให้ข้าวเจริญงอกงามซึ่งผมก็ต้องอ่านเป็นเพื่อเข้าใจวิธีการใช้ผมดีใจมาก”
ส่วนนาง เลถิ่ห่า อายุ 23 ปี เพิ่งรู้จักการเขียนตัวหนังสือและตัวเลขได้แสดงความเห็นว่า เพราะทำนามานานจึงทำให้มือหยาบกร้านก็เลยเขียนหนังสือไม่ค่อยถนัดเท่ากับการปลูกต้นไม้ ตอนกลางวันไปทำงาน ตอนค่ำก็รีบทำงานบ้านให้เสร็จเพื่อไปเรียนหนังสือ ถึงแม้ลำบากแต่จะพยายามเรียนหนังสือต่อไป“ถึงแม้ครอบครัวยังลำบากมาก แต่ดิฉันต้องพยายามไปเรียนหนังสือเพื่อก้าวรุดหน้าไปในชีวิต”
เวลา 20.00 น.หลังจากทำงานมาทั้งวัน นักเรียนในชั้นเรียนทหารในด่านชายแดน อีอา รเว เริ่มขึ้น เพื่อให้ชั้นเรียนมีความคึกคักมากขึ้น บรรดาทหารจัดรายการศิลปะ ครู เหงียนวันเถาะ ได้เผยว่า จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านสามารถอ่านออกเขียนได้และทำการคำนวณขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานของชั้นเรียน“ขึ้นอยู่กับความรู้ที่นักเรียนได้รับแล้ว พวกเราจะรายงานเพื่อจัดการสรุปผล ส่วนกำหนดเวลาเรียนนั้นอาจจะขยายออกไปตั้งแต่ 1-2 ปี เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสมบูรณ์เพื่อเสร็จสิ้นโครงการขจัดความไม่รู้หนังสือ เสนอให้เบื้องบนพิจารณาการให้การช่วยเหลือคนที่มาเรียนทั้งด้านหนังสือตำราเรียนและทุนการศึกษาเพื่อช่วยบรรเทาความยากลำบากของพวกเขา”
ตำบล อีอา รเวในอำเภอ อีอา ซุปเป็นเขตชายแดนที่อยู่ห่างจากใจกลางจังหวัดดักลั๊กประมาณ 80 กิโลเมตรมีครอบครัวยากจนคิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมด มีพื้นที่กว้างใหญ่ การเดินทางลำบาก มีประชากรไม่หนาแน่นและมีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำซึ่งเป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม ร้อยเอก เจืองวันแหว่ง รองผู้บัญชาการค่ายทหารชายแดน อีอา รเวได้เผยว่า การตระหนักเกี่ยวกับการยกระดับจิตสำนึกให้แก่ประชาชนคือหนึ่งในหน้าที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆเพื่อมีส่วนร่วมทำให้ชีวิตเศรษฐกิจสังคมมีเสถียรภาพและการพิทักษ์รักษาเขตชายแดนมีความมั่นคง“พวกเราได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับทางการและองค์การต่างๆในท้องถิ่นเพื่อสำรวจและจัดทำรูปแบบช่วยให้ประชาชนพัฒนาเศรษฐกิจสังคม เช่นการเปิดชั้นเรียนขจัดความไม่รู้หนังสือ การเลี้ยงวัว ให้คำปรึกษาด้านเทคนิคการเลี้ยงสัวต์และปลูกพืชที่สอดคล้องกับสภาพดินและอากาศของท้องถิ่น พวกเราได้ไปช่วยเหลือและประสานเนื้อหาการเผยแพร่กฎหมายเพื่อมีส่วนร่วมช่วยให้ประชาชนมีความมั่นใจในการผลิตและปกป้องเขตชายแดนกับทหารชายแดน”
การขจัดความไม่รู้หนังสือและช่วยชาวบ้านในชีวิตประจำวัน ทหารชายแดนในจังหวัดดั๊กลักได้รับความไว้วางใจจากประชาชนและนักเรียน ไม่ว่าจะมีอายุน้อยหรืออายุมาก ทุกคนต่างมีความปลื้มปิติยินดีที่สามารถอ่านออกเขียนได้ ครูอาจารย์ก็เจออุปสรรค์มากเมื่อต้องมาสอนนักเรียนที่คุ้ยเคยแต่การจับมีดและอุปกรณ์การเกษตร นักเรียนได้ยอมรับว่า ในตอนแรก พวกเขาต้องไปทำงาน แต่ปัจจุบันมีทั้งภริยาและสามีต่างพากันผลัดเปลี่ยนกันไปโรงเรียนซึ่งผู้ใหญ่มีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อไปติดต่อพูดคุยกับคนอื่นๆ ส่วนเด็กๆก็ได้รับกำลังใจและมีความหวังจากการศึกษาเล่าเรียน./.