ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย – เริ่มต้นด้วยไอศครีมหนึ่งถ้วย

Chia sẻ
(VOVworld) – “ในช่วงนั้น ไม่มีใครคิดได้ว่า เวียดนาม ลาวและกัมพูชาจะกลายเป็นสมาชิกของอาเซียนและจะมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ไม่มีใครเชื่อเลย แต่ผมเชื่อและผมมีความภาคภูมิใจว่า ได้มีส่วนร่วมต่อกระบวนการดังกล่าว” นี่คือคำยืนยันของนาย พิชัย รัตตกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ลงนามเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับ ไทยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมปี 1976 ในโอกาสพูดคุยกับคุณกวางจุง ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำประเทศไทย

(VOVworld) – “ในช่วงนั้น ไม่มีใครคิดได้ว่า เวียดนาม ลาวและกัมพูชาจะกลายเป็นสมาชิกของอาเซียนและจะมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ไม่มีใครเชื่อเลย แต่ผมเชื่อและผมมีความภาคภูมิใจว่า ได้มีส่วนร่วมต่อกระบวนการดังกล่าว” นี่คือคำยืนยันของนาย พิชัย รัตตกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ลงนามเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับไทยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมปี 1976 ในโอกาสพูดคุยกับคุณกวางจุง ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำประเทศไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย – เริ่มต้นด้วยไอศครีมหนึ่งถ้วย - ảnh 1
นาย พิชัย รัตตกุล

พวกเราได้เดินทางไปเยี่ยมนายพิชัย รัตตกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยในช่วงที่ทั้งเวียดนามและไทยกำลังจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อฉลอง 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต แม้อยู่ในวัย 90 ปีแต่คุณ พิชัย รัตตกุล ซึ่งเคยได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลไทย เช่น รัฐมนตรีต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรี ยังคงจำช่วงเวลาที่สำคัญดังกล่าวของสองประเทศ คุณ พิชัย รัตตกุล เล่าว่า นั่นคือเช้าวันหนึ่งที่อากาศเย็นสบาย ณ กรุงฮานอย เมื่อได้เดินทางไปถึงประเทศเวียดนามเพื่อเจรจาเกี่ยวกับการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามในช่วงนั้นคือนายเหงียนยวีจิงได้นำไอศครีม 1 ถ้วยมาให้ผมทาน ซึ่งผมยังจำได้ดี “ช่วงนั้น เวียดนามเพิ่งได้รับการปลดปล่อยจึงมีความลำบากมาก ผมจำไม่ได้ว่าเป็นไอศครีมยี่ห้ออะไรแต่อร่อยจริงๆครับ หลังจากที่ทานแล้ว พวกเราก็เริ่มเจรจาเพื่อเสร็จสิ้นความตกลงต่างๆ ไอศครีมถ้วยนั้นได้ช่วยให้พวกเรากระเถิบเข้าใกล้กันจนสามารถเห็นพ้องและตกลงกันในปัญหาที่ยังคงถกเถียงก่อนหน้านี้”
เมื่อ 40 ปีก่อน คนไทยน้อยคนที่สามารถนึกออกได้ว่า ใน40 ปีต่อมา เวียดนามและไทยจะยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์และกลายเป็นเพื่อนมิตรที่ดีในฟอรั่มต่างๆระดับภูมิภาคและโลก “ผมเห็นว่า อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเรานั้นสดใสมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์กับเวียดนามเท่านั้น หากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศลาว กัมพูชาและเมียรม่าก็จะได้รับการปรับปรุงให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นเช่นกัน ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเราเป็นสมาชิกของอาเซียนเท่านั้น อาเซียนจะต้องมุ่งไปข้างหน้าบนเส้นทางที่ยาวไกล ความฝันเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่ในตลาดร่วมเหมือนยุโรปยังคงไกลมาก ยังมีอุปสรรคต่างๆแต่ผมคิดว่า ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเราจะได้รับการเสริมสร้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป”
คุณ พิชัย รัตตกุล ได้เล่าว่า การเจรจาเกี่ยวกับการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเป็นความท้ายทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนานเพราะในช่วงนั้น ไทยกำลังสนับสนุนสหรัฐต่อต้าน “ภาคเหนือเวียดนาม” เพื่อแลกกับการที่สหรัฐจะอุปถัมภ์ให้แก่ไทย ในช่วงนั้น ทหารกำลังบริหารประเทศไทย ดังนั้นไม่มีใครสามารถถกเถียงได้ สหรัฐได้พยายามโน้นน้าวชาวไทยผ่านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับทฤษฎี “โดมิโน่”ว่า ถึงวันหนึ่ง กองทัพของภาคเหนือเวียดนามจะบุกรุกประเทศไทย แต่คุณ พิชัย รัตตกุลและพรรคของตนไม่เชื่อเรื่องนั้น โดยประท้วงประกาศร่วมระหว่างนาย Dean Rusk รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐกับนาย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีต่างประเทศไทยในช่วงนั้นเกี่ยวกับการที่สหรัฐให้คำมั่นว่า จะช่วยปกป้องประเทศไทยต่อภัยคุกคามของ “การรุกราน”

ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย – เริ่มต้นด้วยไอศครีมหนึ่งถ้วย - ảnh 2
การลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับไทยเมื่อปี 1976

เมื่อเป็นสมาชิกรัฐบาลและรัฐมนตรีต่างประเทศไทย คุณ พิชัย รัตตกุล ได้ประกาศยกเลิกประกาศร่วมดังกล่าวพร้อมทั้งปฏิบัติแนวทางการต่างประเทศที่เป็นมิตรกับบรรดาประเทศในภูมิภาค เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาวและเมียรม่า โดยได้พบปะกับรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศเวียดนามฟานเหี่ยนในขณะที่นายฟานเหี่ยนเดินทางกลับประเทศจากสหรัฐแล้วทรานซิสที่กรุงเทพฯ ต่อจากนั้นเขาได้เดินทางไปยังประเทศเวียดนามเพื่อหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามเกี่ยวกับการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ หลังการเจรจากันอย่างตึงเครียด สุดท้ายทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันในทุกประเด็นและพิธีลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับไทยได้มีขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมปี 1976 “ตอนนั้นผมมีความสุขมากเพราะในที่สุด ผมก็สามารถพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นและความฝันของตนในหลายปีก่อนว่า เวียดนามและไทยสามารถเป็นเพื่อนกันได้และปัจจุบันนี้เราได้เป็นเพื่อนกันจริงๆ ในช่วงนั้น มีคนเชื่อเรื่องนี้ไม่มากนักแต่ผมเชื่อ แต่ที่น่าเสียใจคือเมื่อผมกลับประเทศ ผมถูกกล่าวหาว่าเป็น “หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ไทย” “พิชัย รัตตกุลเป็นคอมมิวนิสต์” นี่คือความคิดของทางการทหารไทยในช่วงนั้นแต่ผมไม่กลัว เพราะผมคิดว่า วิธีการบริหารประเทศของทางการปกครองเวียดนามคือเรื่องของคนเวียดนามไม่ใช่ของผม วิธีการบริหารประเทศของคนไทยคือปัญหาของคนไทย ไม่ใช่ของคนเวียดนาม เราควรให้ความเคารพกัน รวมทั้งความเชื่อมั่นของกัน นี่คือทัศนะของผม”

ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย – เริ่มต้นด้วยไอศครีมหนึ่งถ้วย - ảnh 3
กับรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามฝามบิ่งมิงห์

ในบ้านพักที่อบอุ่น คุณ พิชัย รัตตกุล ยังเล่าเรื่องราวความทรงจำต่างๆเกี่ยวกับประเทศเวียดนามให้เราฟังต่อไป โดยมีคนหนึ่งที่เขามีความสนิทกันคืออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้ล่วงลับเหงียนเกอแถก คุณพ่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามคนปัจจุบันฝามบิ่งมิงห์ “นี่คือเรืองจริงนะครับ เมื่อคุณเหงียนเกอแถกดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามแทนคุณจิง ส่วนผมไม่ใช่รัฐมนตรีต่างประเทศแล้วแต่ก็ได้เป็นเพื่อนสนิทกับคุณแถก มีอยู่วันหนึ่ง เรือประมงไทย 5 ลำพร้อมกับชาวประมงไทยหลายคนถูกฝ่ายเวียดนามจับกุมเนื่องจากละเมิดกฎหมายของเวียดนาม ขณะนั้น รัฐบาลไทยไม่สามารถทำอะไรได้ แต่ผมในฐานะเป็นเพื่อสนิทของคุณแถกได้บอกกับเขาว่า “ขอให้การช่วยเหลือผม พวกเขาล้วนเป็นชาวประมงที่ยากจน” คุณแถกบอกว่า ไม่สามารถทำอะไรได้เลยเพราะตามกฎหมายของเวียดนาม ชาวประมงแต่ละคนจะถูกปรับ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผมตอบว่า พวกเขายากจนมาก ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ คุณแถกโทรศัพท์ให้ผมแล้วแจ้งว่า “คุณ พิชัย  พวกเราเป็นเพื่อนกัน เราจะปล่อยเรือประมงและชาวประมงไทยแต่ก็ต้องบังคับใช้กฎหมายของเวียดนาม ดังนั้นชาวประมงไทยจะต้องจ่ายเงินค่าปรับ 1 ดอลลาร์ต่อคนแทน 1,000 ดอลลาร์” นี่เป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจและความเป็นเพื่อนมิตร”
“ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทยจะมีอนาคตที่สดใส” นี่คือข้อสรุปของนาย พิชัย รัตตกุล ซึ่งน่าจะอยู่ในความคิดของเขาเมื่อลงนามในเอกสารเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศเมื่อ 40 ปีก่อน และปัจจุบันนโยบายการต่างประเทศของไทยก็คล้ายกับสิ่งที่คุณพิชัย รัตตกุลได้ “กำหนดไว้” ก่อนหน้านี้ และเพื่อบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับกระบวนการเจรจาครั้งประวัติศาสตร์นั้น คุณพิชัย รัตตกุลก็ตัดสินใจจะเขียนบันทึกความทรงจำ ซึ่งจะได้เปิดตัวหลังจากเขาถึงแก่อสัญกรรม.
Quang Trung ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำกรุงเทพฯ

คำติชม