เพลง เออีเรย์ - การเล่าเรื่องชีวิตด้วยดนตรีพื้นเมือง

Zawut-To Tuan/VOV
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เมื่อพูดถึงเพลงพื้นเมืองของชาวเผ่าเอเด มักจะมีการกล่าวถึงทำนองเพลง เคอุ๊ตและเพลงเออีเรย์ ซึ่งเป็นสองทำนองเพลงพื้นเมืองที่แตกต่างกันในลักษณะเนื้อร้อง โดยเพลงทำนอง เคอุ๊ต มีลาลาที่เอื้อนเอ่ยยาวเหยียดด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอไม่มีการขึ้นลงที่ชัดเจน แต่เพลงเออีเรย์กลับมีลีลาที่สนุกสนานคึกคักเพื่อสะท้อนสีสันของชีวิตชาวเขา
 
เพลง เออีเรย์ - การเล่าเรื่องชีวิตด้วยดนตรีพื้นเมือง - ảnh 1การร้องเพลงในชุมชนชาวเอเด (internet) 

การร้องเพลงเออีเรย์คือเอกลักษณ์วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ขาดมิได้ในวิถีชีวิตของชาวเอเดในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน โดยเนื้อร้องของเพลงใช้ทำนอง เกลยิว ที่สร้างลีลาคึกคักบวกกับการประกอบของดนตรีพื้นเมืองคือปี่ดิงนัมและมีคนร้องประสานเสียงด้วย ศิลปิน อาเอตัวร์ จากหมู่บ้าน ดรายฮลิง ต.หว่าซวน นครบวนมาถวด จ.ดั๊กลั๊กกล่าวว่า“ในอดีตการร้องเพลง เออีเรย์ไม่จำเป็นต้องมีดนตรีประกอบหรือมีผู้ร้องประสานเสียงเหมือนปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้ทำนองเพลงนี้มีความไพเราะน่าสนใจมากขึ้น ฟังแล้วก็รู้สึกคึกครื้น”

การร้องเออีเรย์เป็นการร้องแบบโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาว เพลงเพื่อชีวิตที่สะท้อนคติสอนใจให้แก่คนรุ่นใหม่และเพลงแบบคำถามคำตอบ โดยผู้ที่ร่วมแสดงร้องเพลงอาจจะเป็นการโต้ตอบระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายและระหว่างฝ่ายชายด้วยกันหรือฝ่ายหญิงด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสนทนาด้วยดนตรีระหว่างคนสองคน  ศิลปิน อายวน ยัม จากต.อีอาตุล อ.กือเมองาร์ จ.ดั๊กลั๊กเผยว่า การร้องเพลงเออีเรย์แบบโต้ตอบนั้นยากมากมีแต่ผู้ที่ได้รับพรจาก “อย่าง” หรือเทพเจ้าเท่านั้นที่จะทราบทำนองและร้องได้ ต้องเข้าใจความหมาย จังหวะและมีความรู้ด้านกวีวรรณกรรมถึงจะคิดคำร้องโต้ตอบได้เร็ว“เมื่อในหมู่บ้านมีงานเทศกาลหรืองานเซ่นไหว้ต่างๆผู้สูงอายุมักจะร้องเพลง เคอุ๊ต ส่วนหนุ่มสาวดื่มเหล้าอุกัน สักพักก็จะนำปี่ดิงนัมมาเป่าเพื่อร้องเพลงเออีเรย์ ฝ่ายหญิงชอบผู้ชายคนไหนของฝ่ายชายก็จะใช้คำร้องที่บ่งบอกถึงบุคลิกของชายคนนั้น ส่วนทางฝ่ายผู้ชายจะต้องหาทำนองร้องตอบให้เข้ากัน ซึ่งผ่านกิจกรรมนี้ก็มีหลายคู่หนุ่มสาวที่รักและแต่งงานกันเป็นครอบครัว”

การร้องเพลง เออีเรย์ยังมีแบบร้องเดี่ยวที่ออกแนวเพลงเล่าความในใจ ความรักและความสุขในชีวิตตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ รวมถึงการอบรมบ่มสอนของผู้ใหญ่ในครอบครัวต่อบุตรหลาน ลีลาการร้องมีแบบเดียวแต่ทำนองเนื้อร้องอาจจะมีความแตกต่างตามลักษณะท้องถิ่นที่ผู้ร้องอาศัยเพราะเป็นเพลงที่สะท้อนความสามารถในการคิดคำศัพของแต่ละคน

ปัจจุบันนี้ เนื่องจากความต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวและผสมผสานกับสังคมยุคใหม่ ชาวเผ่าเอเดสามารถนำเพลงนี้มาร้องในทุกกิจกรรมรื่นเริงของชุมชนเพื่อสรรเสริมบ้านเกิดเมืองนอนและแผ่นดินเตยเงวียนอันเป็นการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองนี้ที่กำลังเสี่ยงจะสูญหายเพราะคนที่รู้จักการร้องเพลงนี้เหลืออยู่ไม่มาก นักดนตรีชนเผ่า ลิงงา เนียกดัม เผยว่า “เมื่อก่อนนี้ ชาวบ้านเมื่อพบปะหารือกันก็ใช้เพลงเออีเรย์แต่เดี๋ยวนี้มีแต่การแสดงในงานเทศกาลเท่านั้น ไม่มีการสอนและไม่มีบรรยากาศเพื่อเอื้อให้แก่การส่งเสริมพัฒนาเพลงนี้จนทำให้มีความเสี่ยงที่เพลงเออีเรย์จะสูญหายไปในอนาคตอันใกล้นี้”

ท่ามกลางชีวิตสังคมที่ทันสมัยพร้อมปัญหาความวุ่นวายมากมาย จำเป็นต้องมีการส่งเสริมการสนทนาผ่านดนตรีด้วยการร้องเพลงพื้นเมืองเพื่อสร้างความหลากหลายงดงามให้แก่ชีวิตจิตใจ ดังนั้นการเล่าเรื่องชีวิตด้วยเพลงเออีเรย์นั้นจะได้รับการสานต่อและพัฒนาต่อไปได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับชุมชนชาวเอเดเพื่อให้มรดกวัฒนธรรมที่มีค่านี้คงอยู่คู่ชุมชนเผ่าเอเดไปตลอดกาล.

คำติชม