ชั้นเรียนที่วัดโองแมด |
การสอนภาษาเขมรในวัดพุทธเถรวาทที่จังหวัดจ่าวิงห์เป็นกิจกรรมที่ได้รับการปฏิบัติมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องจนกลายเป็นประเพณีที่ดีในชีวิตสังคม ในแต่ละปีก่อนถึงช่วงหน้าร้อนวัดต่างๆจะเตรียมพร้อมสถานที่และอุปกรณ์การเรียนเพื่อต้อนรับนักเรียนที่มาเรียนภาษาแม่ สำหรับผู้เรียนที่มีฐานะยากจนทางวัดจะเตรียมหนังสือตำรา สมุด ปากกาไว้ให้ ส่วนครูสอนก็คือพระสงฆ์หรือเป็นอาสาสมัครที่ไม่รับค่าตอบแทน ที่อำเภอเตี๋ยวเกิ่น จังหวัดจ่าวิงห์ มีวัดเขมร15แห่งรวมทั้งวัด กอมโปงดูง (Kompong Đung หรือ Ô Đùng) ซึ่งเป็นวัดที่มีจำนวนนักเรียนมาเรียนมากที่สุด แต่ทางวัดได้จัดการสอนอย่างเป็นระเบียบตามหลักสูตรของหน่วยงานการศึกษาทั่วไป พระเถระ Kim Mạnh เจ้าอาวาทวัด กอมโปงดูง เผยว่า"ไม่เพียงแต่มีนักเรียนและพระสงฆ์ในตำบลมาเรียนที่นี่เท่านั้น หากยังมีนักเรียนจากอำเภออื่นๆด้วย ทางวัดกำลังเตรียมจัดการสอบภาษาบาลีเขมรสำหรับนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 ในปลายปี 2022 และต้นปี 2023 เป้าหมายของการสอนภาษานี้ก็เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ รู้หนังสือและรู้ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของชนเผ่าตน และเป็นความพยายามรักษาไว้ซึ่งความงามและเอกลักษณ์ของชาวเผ่าเขมร"
ชั้นเรียนสำหรับเด็กมักจะจัดในช่วงปิดเทอมหน้าร้อนเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาในโรงเรียนและยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาแม่เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภาษาพูดและภาษาเขียนของชนเผ่าตน อีกทั้งยังมีบางวัดเปิดชั้นเรียนตามตารางการเรียนของหน่วนงานการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่เป็นประชาชนทั่วไปและพระสงฆ์ พระกิมหว่างจูง จากอำเภอจ่ากู๊ ที่มาเรียนภาษาที่วัดโองแมด เผยว่า "ปีหนึ่งเรียน 9 เดือน มีวันหยุด 4 วันในทุกเดือน สำหรับหลักสูตรการเรียนวิชาภาษาเขมรก็เหมือนหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัย มีวิชาเรียนรวม 10 วิชา เช่น ภาษาเขมร วรรณคดี คณิตศาสตร์ ภาษาบาหลี เป็นต้น แต่ละวิชาเรียน 4 ชั่วโมง เรียนตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.6 ครูก็เป็นคนอำเภอเตี๋ยวเกิ่น ที่เคยไปศึกษาภาษาบาลีระดับ ดร.ที่อินเดียแล้วอาสามาสอนให้ฟรี"
ห้องเรียนที่วัด กอมโปงดูง |
สำหรับวัดต่างๆ อุปสรรคที่ถือว่ายากที่สุดในปัจจุบันคือนับวันมีนักเรียนที่สนใจมาเรียนเพิ่มมากขึ้น แต่ห้องเรียนและครูสอนมีไม่เพียงพอ ส่วนครูผู้สอนก็ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพในการเป็นครู แต่ด้วยความตระหนักถึงการอนุรักษ์ภาษาชนเผ่า บรรดาผู้ปกครองของเด็กๆ ก็ร่วมส่งเสริมให้ลูกหลานไปเรียนที่วัด คุณ กิมถิซอฟาต ชาวจังหวัดจ่าวิงห์ ที่พาลูกไปเรียนที่วัดโองแมด เผยว่า คนท้องถิ่นไปเรียนเยอะมาก ซึ่งเมื่อเรียนจบก็หางานทำได้ง่ายขึ้น
นอกจากสอนภาษาชนเผ่าแล้ว ทางวัดยังให้ความรู้ในเรื่องคุณธรรม หลักการดำเนินชีวิต ความกตัญญูรู้คุณและการปฏิบัติต่อกัน ซึ่งช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในการพัฒนาเติบโตเป็นคนที่ทำประโยชน์ต่อสังคม พระมหาเถระ เซิน เเกน เน ที่วัดโองแมด กล่าวว่า"ที่วัดมีชั้นเรียนสำหรับพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ห้องเรียนมีนักเรียน 31 คน ปีหนึ่งสอน 9 เดือน มีการสอนเรื่องพุทธศาสนาด้วยโดยระดับพื้นฐานเรียน 3 ปี ระดับกลางเรียน 4 ปี รวมหลักสูตรการเรียนเป็น 7 ปี."
การเปิดชั้นเรียนภาษาชนเผ่าเขมรของวัดต่างๆในจังหวัดจ่าวิงห์เป็นงานที่มีความหมายอย่างยิ่ง ซึ่งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภาษาเขมรทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนสำหรับชุมชนเผ่าเขมรในท้องถิ่น.