ชนเผ่าเย้าแดง |
พิธีเซ่นไหว้ “บ่าหมุ” หรือคล้ายกับตำนาน “แม่ซื้อ” ของคนไทยนั้นถือเป็นประเพณีการขอพรจากเทวดาประจำวันเกิดของเด็กทารก โดยชาวเย้าแดงเชื่อว่า เด็กที่เกิดมานั้นจะฉลาดแข็งแรงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการปกป้องดูแลของบ่าหมุ 12 นางและได้รับการตั้งชื่อที่เป็นมงคล ตามความเชื่อของชาวบ้านเขา เด็กทุกคนที่เกิดมาก็เหมือนดอกไม้หนึ่งดอกที่บานบนต้นไม้ใหญ่ที่มี “หบ่าหมุ” ดูแล วันเดือนเกิดของเด็กจะตรงกับดอกไม้ที่บานขึ้นตามส่วนต่างๆของต้นไม้ ถ้าเป็นดอกไม้ออกกลางต้นก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเป็นดอกไม้ออกบนยอดสูงก็อาจจะได้รับอันตรายจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเด็กคนนั้นอาจะเจ็บไข้ได้ป่วยง่าย ดังนั้นต้องจัดพิธีเซ่นไหว้เพื่อขอให้ “บ่าหมุ” คอยปกป้องดูแลเป็นอย่างดี ในกรณีพิเศษก็อาจจะต้องขอย้ายไปที่ส่วนล่างของต้นไม้เพื่อความปลอดภัย
หัวหน้าครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิด ต้องเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ประกอบด้วย ไก่หนึ่งตัว เหล้าหนึ่งขวด กระดาษเงิน ข้าวสารหนึ่งถ้วย ไข่ไก่หนึ่งฟอง เส้นด้ายสีขาวหนึ่งเส้นสำหรับเด็กผู้ชายและสีแดงสำหรับผู้หญิง รวมถึงสิ่งของเล็กๆน้อยๆต่างๆตามประเพณี ต้องเลือกวันที่มีฤกษ์ดีที่เหมาะสำหรับหัวหน้าครอบครัวและเด็กแล้วเชิญผู้ชำนาญมาทำพิธี นาย เติ้นส่ายเฮียง จากหมู่บ้านตุงกวา ต.อามู้ซูง อ.บ๊าตซาต จังหวัดลาวกาย เผยว่า“เด็กตั้งแต่เกิดจนถึงตอนอายุ16ปีจะมี “บ่าหมุ” ที่คอยปกป้องดูแล ห้ามใครมาพูดเสียงดังหรือทำให้เด็กตกใจ ถ้าใครดูแลเด็กไม่ดี “บ่าหมุ” อาจจะเอาเด็กคืนเพื่อให้ครอบครัวอื่นหรือถอนขวัญส่วนหนึ่งของเด็กซึ่งจะทำให้เด็กไม่แข็งแรงป่วยง่าย ดังนั้นชาวบ้านจึงตระหนักถึงความสำคัญของ “บ่าหมุ”และจะเชิญคนมาทำพิธีเซ่นไหว้เมื่อเด็กในบ้านกินนอนไม่เป็นปกติชอบดื้อชอบร้องให้และสุขภาพอ่อนแอ”
พิธีเซ่นไหว้ต้องจัดขึ้นที่บ้านของเด็ก โดยเมื่อถวายเครื่องเซ่นไหว้แล้ว พ่อของเด็กก็ร้องเพลงที่มีทำนองว่า “สองสามีภรรยาเพิ่งมีลูกตัวน้อยจึงขอถวายถาดอาหารเพื่อรายงานต่อบรรพชน ถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อขอพรจากเทวดา ขอรายงานบรรพบุรุษและเจ้าที่เจ้าถิ่น ขอเชิญ “บ่าหมุ”จากทั้งสี่ทิศให้มาช่วยดูแลปกป้องเด็ก” ซึ่งถือเป็นการขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงช่วยคุ้มครองลูกและสอนให้ลูกมีนิสัยที่ดีเพื่อเติบโตเป็นเด็กเรียบร้อยเป็นคนมีประโยชน์ต่อสังคม ในระหว่างการทำพิธีดังกล่าวจะห้ามคนแปลกหน้าเข้าบ้านและเมื่อเสร็จพิธีทุกคนในครอบครัวจะร่วมกันรับประทานสิ่งของเซ่นไหว้โดยไม่มีการเชิญคนอื่นมาร่วมด้วย หลังพิธี3วันก็จะนำข้าวสารและไข่ที่ไช้ในพิธีไปต้มให้เด็กกิน
ประเพณีการเซ่นไหว้ “บ่าหมุ” ได้รับการปฏิบัติต่อเนื่องในตลอดช่วงเวลาที่เด็กเติบโตจนถึงอายุ12ขวบสำหรับเด็กชายและ16ขวบสำหรับเด็กหญิง คุณลี้ถิมัย ที่หมู่บ้าน ตุงกวา ต.อามู้ซูงเผยว่า“แม้การทำพิธีเซ่นไหว้นี้ไม่ยากแต่ต้องมีความรอบคอบ ปกติแล้วเด็กทุกคนต้องได้รับการจัดพิธีนี้และผู้ที่ทำพิธีตั้งแต่แรกก็เป็นคนทำพิธีในปีต่อๆไปจนถึงเมื่อเด็กโต ซึ่งหากการเตรียมไม่เรียบร้อยจริงใจเด็กจะเป็นคนรับผลเช่นอาจจะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ตาบอด หรือหูหนวกได้”
นอกจากพิธีเซ่นไหว้ “บ่าหมุ”แล้ว ชนเผ่าเย้าแดงก็ยังรักษาและปฏิบัติประเพณีความเลื่อมใสที่ดีงามต่างๆสำหรับเด็กๆเช่น พิธีเกิ๊บซัก พิธีแก้ดวงร้ายรับขวัญ เป็นต้น .