งานแฟนซีของชนกลุ่มน้อยเผ่าโลโล

Hải Huyền
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อพูดถึงงานแฟนซีหรืองานฮาโลวีนเชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึงงานเทศกาลตามแบบวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆในโลกตะวันตก แต่อันที่จริงแล้วในเวียดนามก็มีงานแฟนซีที่เป็นวัฒนธรรมเฉพาะของชนกลุ่มน้อยในเขตเขาสูงทางเหนือสุดของประเทศ ชนเผ่านั้นคือชนเผ่าอะไรและงานแฟนซีประเพณีของเขาเป็นอย่างไรเราจะมาศึกษาดูกันผ่านรายละเอียดในสารคดีวันนี้

งานแฟนซีของชนกลุ่มน้อยเผ่าโลโล - ảnh 1ชุมชนเผ่าโลโบในเวียดนามมี3กลุ่มได้แก่ กลุ่มโลโลฮัวและ กลุ่มโลโลแดง มีถิ่นอาศัยในอำเภอแหม่วหวากและอำเภอด่งวัน จังหวัดฮายาง กลุ่มโลโลดำอาศัยที่อำเภอ บ๋าวเลิม บ๋าวหลากจังหวัดกาวบั่ง  

ในประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านของเผ่าโลโลมีงานวัฒนธรรมอย่างหนึ่งเรียกว่างาน"แฟนซี"ที่จัดขึ้นในวันที่14เดือน7จันทรคติทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ชาวโลโลจัดพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษเพื่อรำลึกถึงรากเหง้าวงตระกูลของตน

ชาวเผ่าโลโลเชื่อว่ามนุษย์มีสองส่วนประกอบเข้ากันคือร่างกายและจิตวิญญาณ โดยส่วนร่างกายสะท้อนชีวิตปัจจุบันที่เป็นโลกชั่วคราว แต่ส่วนจิตวิญญาณจะอยู่ในโลกที่เป็นนิรันดร์ โดยผู้ที่ตายไปแล้วจะไปอยู่ในโลกอีกใบที่เป็นนิรันดร์ที่สามารถส่งพลังอำนาจต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ดังนั้นลูกหลานจะจัดงานรำลึกทุกปีเพื่อแสดงความเคารพศรัทธาต่อบรรพชน นายหล่ออย่างปาว เผ่าโลโลที่อำแหม่วหวาก จังหวัดฮายาง"แต่ละตระกูลจะมีบรรพชนผู้ก่อตั้งตระกูลเรียกว่านายโล้และนางโล้ ซึ่งมีลูกที่แบ่งออกเป็นหลายสาย แล้วจากแต่ละสายก็จะแตกออกเป็นอีกหลายตระกูล หลังเกิดภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ นายโล้ก็ช่วยพาทุกคนมาตั้งชุมชนใหม่จึงได้รับการยกย่องให้เป็นผู้วางรากเหง้าของชนเผ่าตน"

พิธีเซ่นไหว้ได้จัดขึ้นในวันที่14เดือน7จันทรคติ โดยผู้ที่เป็นหัวหน้าตระกูลเป็นผู้ดำเนินพิธี ณ สุสานของวงตระกูล โดยที่อำเภอแหม่วหวาก จังหวัดฮายางคือต้องเข้าในป่า ส่วนที่อำเภอบ๋าวหลากจังหวัดกาวบั่งจะเป็นพื้นที่กลางทุ่งนา นายหล่ออย่างปาว เผ่าโลโลที่อำแหม่วหวาก จังหวัดฮายางเผยต่อไปว่า"จะต้องทำการเซ่นไหว้ก่อนพิธีหลัก2วันเพื่อแจ้งให้บรรพบุรุษรับทราบและขออนุญาตก่อน แต่ละตระกูลจะตั้งหิ้งบูชาในจุดที่แตกต่างกันในบริเวณสุสานและจะผลัดกันจัดพิธีเซ่นไหว้หลัก โดยให้ตระกูลใหญ่มาทำก่อนเช่นตระกูลก๊างที่อำเภอแหม่วหวาก ตระกูลถ่าง ตระกูลหล่อ และที่จังหวัดฮายาง เขตป่าที่มักจะเป็นที่จัดพิธีเซ่นไหว้นั้นเรียกว่าป่าบรรพชนต้องห้าม"

งานแฟนซีของชนกลุ่มน้อยเผ่าโลโล - ảnh 2

จุดเด่นในพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษอยู่ที่การเต้นตามจังหวะดนตรีพร้อมชุดแต่งกายที่แปลกตาที่มิใช่ชุดที่มีสีสันสดใสสวยงาม หากเป็นชุดแบบคนป่า โดยหนุ่มๆจะผูกพืชญ้าในป่าเต็มตัวเว้นแต่ดวงตาแล้วเต้นตามทำนองจังหวะของดนตรีประกอบพิธีรวม36ท่าเต้น เช่น ท่าเรียกดวงวิญญาณ ท่าไถนา หว่านกล้า ท่าถวายถาดอาหารเซ่นไหว้ เป็นต้น จนเสียงดนตรีจบลง โดยท่ารำต่างๆสะท้อนวิถีชีวิตของชาวเผ่าโลโลตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพด้วยความเชื่อว่า บรรพชนของเผ่าโลโลในอดีตนั้นใช้ชีวิตในป่า ใช้พืชญ้าใบไม้เป็นเสื้อผ้า ดังนั้นเมื่อจัดพิธีเชิญดวงวิญญาณบรรพชนมาร่วมงานจะต้องมีผีป่านำทาง "ต้องแต่งตัวเหมือนคนดึกดำบรรพด้วยความเชื่อในตำนานที่มาของมนุษย์ว่า เมื่อบิดาและมารดาบนฟ้าพบกันก็ทิ้งน้ำหนึ่งหยดไว้ ซึ่งน้ำหยดนั้นได้กลายเป็นก้อนหิน จากก้อนหินก็กลายเป็นถ้ำหินแล้วมีลิงที่ถูกกำเนิดออกมาจากถ้ำและกระจัดกระจายออกไปยังหลายท้องถิ่นแล้วกลายเป็นมนุษย์ปัจจุบัน "

พิธีเซ่นไหว้จัดขึ้นท่ามกลางเสียงดนตรีประกอบซึ่งมีกลองทองแดงและเครื่องตีคล้ายฆ้องโหม่ง โดยจังหวะมีทั้งช้าและเร่งเร้าเหมือนเสียงเท้าเดินของคนที่ผ่านเส้นทางราบเรียบหรือมีความขรุขระ คดเคี้ยวสูงชัน ท่ารำก็ออกมาเข้ากับจังหวะดนตรีที่สะท้อนวิถีต่างๆในวงจรชีวิตตั้งแต่เมื่อเกิดแก่เจ็บตายแล้วไปอยู่ในโลกแห่งดวงวิญญาณ เสียงดนตรีได้ทำให้ทั้งเขตป่ามีความคึกคัก แต่ละตระกูลจะมีกลองทองแดง1ชุดพร้อมการบรรเลงดนตรีที่ไม่เหมือนกัน

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมทุกคนได้ร่วมล้อมวงร้องรำเพื่อฉลองกันอย่างสนุกสนาน ทั้งผู้สูงอายุ เด็กๆและหนุ่มสาวจะมานั่งทานถาดอาหารเซ่นไหว้ด้วยกันเพื่อเป็นการรับพรจากบรรพชนและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้ต้อนรับฤดูใหม่ที่ฝนฟ้าสงบ

เป็นอันว่าแม้จะไปทำมาหากินห่างไกลบ้านเกิดแต่เมื่อถึงวันที่14เดือน7ทุกปีพี่น้องชนเผ่าโลโลก็มักจะกลับบ้านเพื่อจุดธูปรำลึกบรรพบุรุษและนี่ไม่เพียงแต่เป็นงานวัฒนธรรมเท่านั้นหากยังเป็นพิธีกรรมในเชิงจิตวิญญาณเพื่อตักเตือนให้ชาวเผ่าโลโลต้องรู้จักวัฒนธรรมของความเป็นมนุษย์ และด้วยความหมายที่ลึกซึ้งต่างๆของพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษหรือที่เรียกกันว่างานแฟนซีของชนเผ่าโลโล ทางกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยวเวียดนามได้ระบุรับรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติเมื่อปี2012.

คำติชม