โอกาสและความท้าทายของโครเอเชียเมื่อเข้าเป็นสมาชิกของอียู

Hong Van/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)- นับตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม โครเอเชียได้กลายเป็นสมาชิกใหม่ลำดับที่28ของสหภาพยุโรปหรืออียูภายหลังดำเนินการขอเข้าเป็นสมาชิกนานถึง10ปีและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆของอียูอีก7ปี ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศนี้แต่ในขณะเดียวกันโครเอเชียก็ต้องเผชิญกับความท้าทายนานัปการในการผสมผสานเข้ากับอียู
(VOVworld)- นับตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม โครเอเชียได้กลายเป็นสมาชิกใหม่ลำดับที่28ของสหภาพยุโรปหรืออียูภายหลังดำเนินการขอเข้าเป็นสมาชิกนานถึง10ปีและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆของอียูอีก7ปี ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศนี้แต่ในขณะเดียวกันโครเอเชียก็ต้องเผชิญกับความท้าทายนานัปการในการผสมผสานเข้ากับอียู
โอกาสและความท้าทายของโครเอเชียเมื่อเข้าเป็นสมาชิกของอียู - ảnh 1

เพื่อให้ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในวันนี้ โครเอเชียต้องใช้เวลาถึง7ปีเพื่อปฏิรูปประเทศตามเงื่อนไขของคณะกรรมการยุโรปหรืออีซีโดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการขยายตัวและฟื้นฟูตลาดแรงงาน ควบคุมปัญหาคอร์รัปชั่น ปราบปรามอาชญากรรมและร่วมมือกับศาลระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีอาชญากรรมสงครามในยูโกสลาเวียเดิมซึ่งนับเป็นเส้นทางที่ยาวนานและเต็มไปด้วยความลำบาก แต่ก็อาจเป็นเพราะต้องผ่านเส้นทางที่ยาวนานเช่นนี้จึงได้ทำให้การเข้าเป็นสมาชิกอียูของโครเอเชียมีความหมายยิ่งขึ้น ซึ่งในการกล่าวปราศรัยเเสดงความยินดีประธานคณะกรรมการยุโรป โฮเซ่ มานูเอล บาร์โรโซ ได้ย้ำว่า สหภาพยุโรปจะเป็นชายคาใหญ่ของโครเอเชียและจะนำอนาคตที่สดใสมากขึ้นมาให้แก่ประเทศนี้ ส่วนประธานาธิบดีโครเอเชียได้ยืนยันว่า นี่คือเหตุการณ์ที่ช่วยเปิดศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ของประเทศเพราะตามการคาดการณ์ การเป็นสมาชิกอียูจะช่วยให้ประชากรโครเอเชียกว่า4.4ล้านคนได้มีโอกาสเข้าถึงการช่วยเหลือมูลค่าเกือบ1หมื่น2พันยูโร รวมไปถึงรายได้จากการท่องเที่ยวที่อาจเพิ่มขึ้นหลังการเปิดชายกับประเทศต่างๆในยุโรป ก่อนหน้านั้น ในการประชุมรัฐสภานัดพิเศษวันที่29มิถุนายนนายกฯโครเอเชีย โซราน มีลาโนวิก ก็ได้ยอมรับว่าการเข้าเป็นสมาชิกอียูจะเปิดโอกาสการพัฒนาใหม่ให้แก่ประเทศและประชาชนและก่อนหน้านี้1ปีนายมีลาโนวิกได้ปลอมใจประชาชนโครเอเชียว่าแม้เศรษฐกิจโลกจะซบเซาแต่ประเทศก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดที่ดีกว่าการผสมผสานเข้ากับอียู

อย่างไรก็ดีท่าทีของชาวโครเอเชียกลับขัดกับท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ค่อยมีความยินดีต่อเรื่องนี้ ซึ่งจะเห็นได้จากผลการสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกอียูโดยเมื่อปี2003มีผู้เห็นด้วยร้อยละ80 แต่อีก9ปีให้หลังตัวเลขนี้ได้ลดลงเหลือร้อยละ67 สาเหตุมาจากในระหว่างการดำเนินกระบวนการเจรจา โครเอเชียต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เคร่งครัดต่างๆของอียูรวมทั้งวิกฤตหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี2008ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของยุโรปไม่โดดเด่นน่าสนใจอีกต่อไปแถมมีหลายคนเป็นห่วงว่า เรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่เพราะจะทำให้ราคาสินค้าในตลาดแพงขึ้นและค่าจ้างแรงงานโครเอเชียลดลง ในขณะที่บรรดานักวิเคราะห์ก็ได้แสดงความเห็นว่า โอกาสที่โครเอเชียจะได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกอียูภายในเวลาอันสั้นนั้นอาจมีไม่มาก เพราะวิกฤตเศรษฐกิจที่กว้างลึกได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อโครเอเชียในรอบ5ปีที่ผ่านมา โดยอัตราคนว่างงานสูงเป็นประวัติกาลคือคิดเป็นร้อยละ21ของประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน ส่วนยอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีก็ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของอียูถึงร้อยละ39  ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวัน บิลด์ของเยอรมนีได้เตือนสมาชิกใหม่ของอียูว่าอาจจะเป็นประเทศต่อไปที่เดินตามรอยของกรีซ  นอกจากนั้นในด้านการประกอบธุรกิจ หลังจากผสมผสานเข้ากับอียูสินค้าของโครเอเชียจะต้องตอบสนองเงื่อนไขและระเบียบการต่างๆและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจกรรมไม่ได้ผลต้องปฎิรูปใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะด้านธานาคารและไฟฟ้า

ทั้งนี้ก็ไม่อาจมองข้ามผลประโยชน์ในด้านอื่นๆที่โครเอเชียจะได้รับเมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียูแต่ในขณะเดียวกัน ความท้าทายที่กำลังรอประเทศสมาชิกที่ยากจนที่สุดนี้ของอียูก็มีมากมายโดยเฉพาะปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่มีสัญญาณสิ้นสุด ดังนั้นเมื่อไหร่ที่โครเอเชียสามารถหาคำตอบให้แก่ปัญหานี้ได้ เมื่อนั้นประชาชนถึงจะหมดความสงสัยเกี่ยวกับการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของโครเอเชีย./.

คำติชม