เด็กๆ รอรับความช่วยเหลือด้านอาหารในเมืองราฟาห์ ฉนวนกาซา (THX) |
ภายใต้หัวข้อ “ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตความมั่นคงทางอาหารต่อการธำรงสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ” การอภิปรายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีขึ้นในระหว่างวัน 13-14 กุมภาพันธ์ตามข้อเสนอของกายอานา ซึ่งเป็นประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้แทนจากเกือบ 90 ประเทศ พร้อมเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติและผู้นำองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งได้เข้าร่วมการอภิปราย
การปะทะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ภาวะความยากจนเพิ่มขึ้น
ในการอภิปราย ผู้นำของสหประชาชาติ ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งต่างมีความคิดเห็นว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคที่จะเกิดความไร้เสถียรภาพรอบใหม่เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปะทะเกิดขึ้นซับซ้อนและส่งผลให้ภาวะการขาดความมั่นคงด้านอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้น ตามความเห็นของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส การปะทะทำให้ผู้คนหลายล้านคนต้องอพยพและทำลายโครงสร้างพื้นฐานการผลิตการเกษตร ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วมและน้ำทะเลหนุน ทำให้การผลิตธัญญาหารลดลง ทำลายพืชผล และสร้างการเปลี่ยนแปลงในการผลิตเกษตรและการประมงแบบเดิมผู้นำสหประชาชาติยังได้อ้างข้อมูลจากโครงการอาหารโลกหรือ WFP ที่ระบุว่า ความหิวโหยที่รุนแรงทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และจนถึงปลายปีที่แล้ว ทั่วโลกมีกว่า 330 ล้านคนที่ตกอยู่ในภาวะนี้ ซึ่งอาจสร้างภัยคุกคามต่อชีวิตได้ทันทีถ้าหากขาดแคลนมาตรการบรรเทาทุกข์ ในการแสดงความเห็นเช่นเดียวกัน นาย ไซมอน สตีลล์ เลขานุการบริหารของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC ได้เผยว่า
“เมื่อไม่กี่ปีก่อน โลกเชื่อว่า ความหิวโหยสามารถขจัดได้ แต่ถึงทุกวันนี้ คิดเฉลี่ยในจำนวนประชากร 10 คนจะมี1คนที่ตกอยู่ในความหิวโหยเรื้อรัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ ถ้าหากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น สถานการณ์นี้จะเลวร้ายลง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทำให้เกิดปัญหาขาดความมั่นคงด้านอาหารและการปะทะบานปลายมากขึ้น”
เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส (THX) |
นาง เบธ เบชโดล รองผู้อำนวยการองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO ได้เผยว่า “ในรายงานวิกฤตอาหารโลก” เมื่อปีที่แล้ว FAO ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า การปะทะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลกและสร้างภัยคุกคามต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ
“อันที่จริงเราก็รู้ดีแล้วว่า จะไม่มีความมั่นคงด้านอาหารถ้าหากไม่มีสันติภาพ และจะไม่มีสันติภาพถ้าหากไม่มีความมั่นคงด้านอาหาร และในทางเป็นจริงเราได้เห็นแล้วว่า ผลที่เกิดจากการปะทะคือความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะหิวโหยครึ่งหนึ่งของโลกอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปะทะ”
ตามความเห็นของนาง เบธ เบชโดล การปะทะที่ร้ายแรงในโลกในปัจจุบัน เช่น การปะทะระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและการปะทะในฉนวนกาซาเป็นการพิสจน์ที่ชัดเจนที่สุดจากผลกระทบของการปะทะต่อความมั่นคงทางอาหาร โดยความเสียหายต่อระบบการเกษตรในยูเครนคาดว่าจะสูงถึงประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ผู้คนประมาณ 2.2 ล้านคนในฉนวนกาซากำลังตกอยู่ในภาวะหิวโหยอย่างรุนแรงในระดับที่แตกต่างกัน
นาย ไซมอน สตีลล์ เลขานุการบริหารของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (AFP) |
ต้องมีปฏิบัติการที่เร่งด่วน
ในสภาวการณ์ที่ความไม่มั่นคงด้านอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน สหประชาชาติเรียกร้องให้ประชาคมโลกต้องมีปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน ซึ่งเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรสย้ำว่า ความยากจนมักจะนำไปสู่ปัญหาการจลาจล
“ถ้าหากไม่มีปฏิบัติการใดๆ สถานการณ์จะเลวร้ายลง การปะทะและวิกฤตสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มมากขึ้นในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มสูงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เราต้องมีปฏิบัติการทันทีเพื่อขจัดผลพวงที่เกี่ยวข้องกันระหว่างการปะทะกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความไม่มั่นคงทางอาหาร”
ตามความเห็นของนาย ฮิวจ์ ฮิลตัน ท็อดด์ รัฐมนตรีต่างประเทศของกายอานา ถึงแม้จะตระหนักได้ดีถึงผลกระทบที่เกี่ยวพันกันของการปะทะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสันติภาพและความมั่นคง แต่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต้องอนุมัติยุทธศาสตร์ในระยะยาวโดยเร็ว โดยอาศัยการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมและการใช้ฐานข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อสร้างระบบอาหารโลกใหม่ที่ยั่งยืน ส่วนนาง เบธ เบชโดล รองผู้อำนวยการใหญ่ FAO แสดงความเห็นว่า สิ่งที่เร่งด่วนคือต้องสร้างระบบการเกษตรที่สามารถรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงกระบวนการผลิตอาหารตั้งแต่การเพาะปลูกไปจนถึงการอนุรักษ์ โดยสิ่งแรกคือการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนให้แก่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความผันผวนของภูมิอากาศ
เมื่อกล่าวถึงหัวข้อนี้ในการสัมมนาระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี นาย อัลวาโร ลาริโอ ประธานกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม หรือ IFAD ได้เรียกร้องให้มีการลงทุนมากขึ้นต่อนวัตกรรมในภาคการเกษตร โดยรูปแบบการเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลางในพื้นที่ชนบท ปัจจุบัน โลกมีผู้คนประมาณ 3 พันล้านคนอาศัยในพื้นที่ชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และการผลิตเกษตรส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้ต้องเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเกษตรกรเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น พวกเขาจึงต้องได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและความรู้ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น.